ขอมอบแด่ ผู้ที่ตามมัซหับชาฟีอีย์ (ผลบุญจากการอ่านอัลกุรอาน ถึงผู้ตายหรือไม่)
واختلف العلماء في وصول ثواب قراءة القرآن، فالمشهور من مذهب الشافعي وجماعة أنه لا يصل. وذهب أحمد بن حنبل وجماعة من العلماء وجماعة من أصحاب الشافعي إلى أنه يصل، والمختار أن يقول بعد القراءة: اللهم أوصل ثواب ما قرأته، والله أعلم اه وقال ابن النحوي في شرح المنهاج: لا يصل إلى الميت عندنا ثواب القراءة على المشهور.
والمختار الوصول إذا سأل الله إيصال ثواب قراءته، وينبغى الجزم به لأنه دعاء، فإذا جاز الدعاء للميت بما ليس للداعى، فلأن يجوز بما هو له أولى، ويبقى الامر فيه موقوفا على استجابة الدعاء (المجموع شرح المهذب 15 / 521-522)
ความว่า และบรรดานักวิชาการอิสลามมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการถึงของผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งที่เป็นที่รู้จักในมัซหับอิหม่ามชาฟีอีย์และกลุ่มหนึ่งของนักวิชาการนั้น ไม่ถึง
และอิหม่ามอะห์มัดและกลุ่มหนึ่งของนักวิชาการและกลุ่มหนึ่งจากมัซหับชาฟีอีย์นั้นเห็นว่า ถึง
และทัศนะที่ถูกเลือกควรกล่่าวหลังจากการอ่าานอัลกุรอานว่า โอ้อัลลอฮฺจงทำให้ผลบุญสิ่งที่ฉันได้อ่านนั้นถึงเขา (ผู้ตาย) วัลลอฮุอะลัม และอิบนฺอันนะห์วีย์กล่าวในหนังสือ ชัรห์อัลมินฮาชว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอานไม่ถึงผู้ตาย ในทัศนะของพวกเรา ตามทัศนะที่มัชหูร (เป็นที่รู้จักกัน)
และทัศนะที่ถูกเลือกการอ่านนั้นถึงเมื่อใดที่เขาได้ขอจากอัลลอฮฺให้ถึงผลบุญการอ่าน และสมควรเชื่อมั่นกับมัน เพราะมันเป็นดุอาร์ เมื่อใดที่ดุอาร์แก่ผู้ตายได้ด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของผู้ที่ดุอาร์ แน่นอนสิ่งที่มาจากผู้ขอดุอาร์เองย่อมได้แน่นอน แล้วทุกอย่างก็อยู่ที่การตอบรับดุอาร์
แสดงให้เห็นว่า การอ่านอัลกุรอานโดยไม่ขอดุอาร์ให้ถึงผู้ตาย ผลลุญจะไม่ถึงผู้ตายในทัศนะของมัซหับ
ชาฟีอีย์ แต่ต้องพวงด้วยดุอาร์ เมื่อดุอาร์ถูกตอบรับ ผู้ตายก็จะได้รับประโยชน์จากการอ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น