หะดิษต่อไปนี้เป็นหะดิษที่กลุ่มอะชาอีเราะฮยุคปัจจุบัน พยายามบิดเบือนเพื่อที่จะให้เป็นหะดิษเฎาะอีฟ ทั้งๆที่เป็นหะดิษเศาะเฮียะ ทั้งนี้เพราะขัดกับความความเชื่อของพวกเขาที่ว่า อัลลอฮ ซุบฮานะฮุวะตะอา ทรงปราศจากสถานที่ ปราศจากทิศ คือ ทรงไม่อยู่เบื้องบน ,ทรงไม่อยู่เบื้องล่าง,ทรงไม่อยู่เบื้องขวา,ทรงไม่อยู่เบื้องซ้าย
และใครเชื่อว่า อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาอยู่เบื้องสูง คนนั้น มีอากีดะฮที่หลงผิด ดังนั้น อายะฮอัลกุรอ่านหรือหะดิษที่ตัวบทได้ยืนยันว่าทรงอยู่ทิศเบื้องสูง พวกเขาก็จะต่อต้านโดยการเปลี่ยนความหมายไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ก็พยายามหาเหตุมาสนับสนุนว่าหะดิษนั้นเฎาะอีฟ (หลักฐานอ่อน) และส่วนหนึ่งจากหะดิษดังกล่าวคือ หะดิษญารียะฮ ต่อไปนี้ รายงานจากมุอาวียะฮ บิน ลหะกัม อัสสะละมี กล่าวว่า
وَكَانَتْ لِيْ جَارِيَةٌ تَرْعَى غَنَمًا لِيْ اُحُدٍ وَالْجُوَانِيَةِ فَاطَّلَعْتُ ذَاتَ يَوْمٍ فَاِذَا بَالذِّئْبِ قَدْ ذَهَبَ بِشَاةٍ مِنْ غَنَمِهَا وَاَنَا رَجُلٌ مِنْ بَنِيْ آدَمَ اَسَفَ كَمَا يَاْسِفُوْنَ . لَكِنَّيْ صَكَكْتُهَا صَكَّةً فَاَتَيْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَعَظَّمَ ذَلِكَ عَلَيَّ . قُلْتُ يَارَسُوْلَ اللهِ اَفَلاَ اَعْتِقُهَا ؟ قَالَ : اِئْتِنِيْ بِهَا . فَقَالَ لَهَا : اَيْنَ اللهُ ؟ قَالَتْ : فِى السَّمَاءِ . قَالَ : مَنْ اَنَا ؟ قَالَتْ : اَنْتَ رَسُوْلُ اللهِ . قَالَ : اَعْتِقُهَا فِاِنَّهَا مُؤْمِنَة
มุอาวิยะฮ บิน หุกัม อัลอัสละมีย์ กล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีทาสหญิงคนหนึ่ง เลี้ยงแพะให้ข้าพเจ้าที่ อุหุด และ ญุวัยนียะฮ ในวันหนึ่ง ข้าพเจ้า พบว่า แพะตัวหนึ่งที่นางดูแล ได้ถูกหมาป่าเอาไป และข้าพเจ้า เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่รู้สึกโกรธ เหมือนๆกับ บรรดาผู้ที่โกรธทั้งหลาย แต่ว่า ข้าพเจ้าได้ทุบตีนาง แล้วข้าพเจ้าได้ไปหาท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮวะสัลลัมแล้ว ท่านได้ตักเตือนข้าพเจ้า ในเรื่องดังกล่าว
ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า โอ้ รซูลุลลอฮ ข้าพเจ้าจะปล่อยนางให้เป็นอิสระได้ไหม? ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “นำนางมาที่ฉัน แล้วรซูลุลลอฮได้กล่าวถามนางว่า “อัลลอฮอยู่ใหน? นางกล่าวตอบว่า “ อยู่บนฟากฟ้า” ท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “ฉันเป็นใคร? นางกล่าวว่า “ท่านคือ ศาสนทูตของอัลลอฮ ท่านรซูลุลลอฮ จึงกล่าวว่า “ปล่อยนางให้เป็นอิสระเถิด เพราะแท้จริงนางเป็นผู้หญิงที่ศรัทธา – รายงานโดย มุสลิม และอบีดาวูด
...........
หะดิษข้างต้น เป็นหลักฐานการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ คือ อยู่บนฟากฟ้า จะอยู่ในรูปแบบใดนั้น ไม่มีใครทราบได้นอกจากอัลลอฮ เพราะไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์
วิจารณ์หะดิษ
1.เช็คอัลบานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
وهذا الحديث صحيح بلا ريب، لا يشك في ذلك إلا جاهل أو مغرض من ذوي الأهواء، الذين كلما جاءهم نص عن رسول الله - صلى الله عليه وعلى آله وسلم - يخالف ما هم عليه من الضلال، حاولوا الخلاص منه بتأويله،
“และนี้คือหะดิษเศาะเฮียะอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่มีบุคคลใดสงสัย ไม่มีการสงสัยในหะดิษดังกล่าว นอกจากคนไม่มีความรู้ หรือ ผู้ที่มีอคติ จากผู้ที่ตามอารมณ์ บรรดาผู้ซึ่งทุกครั้งที่มีตัวบทมาถึงพวกเขาจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ขัดแย้งกับความหลงผิดที่พวกเขายืนหยัดอยู่บนมัน พวกเขาก็เปลี่ยนใจความจากตัวบทนั้น ด้วยการตีความ(ตะอฺวีล)มัน - มุคตะศอรอัลอะลูวี หน้า 82
2. หะดิษนี้รายงานโดยอิหม่ามมุสลิม (1/ 382) จากสายรายงาน ยะหยา บิน อบีกะษีร จากฮิลาล บิน อบีมัยมูนะฮ จากอะฏอฮฺ บิน ยะสัร จากมุอาวียะอ บิน อัลหะกัม สำหรับท่าน บิลาล บิน อบีมัยมูนะอ ท่านนี้ พวกอะชาอีเราะอ เช่น เช็ค หะซัน บิน อาลี อัสสักกอฟ คัดค้านไม่เอารายงานของเขามาเป็นหลักฐาน ทั้งๆที่อิหม่ามบุคอรีและมุสลิม เอาบุคคลผู้นี้มาเป็นหลักฐานอ้างอิง
ดังที่ อิหม่ามอัลหากิมได้กล่าวว่า
فقد اتفقا على الحجة بروايات هلال بن أبي هلال ويقال ابن أبي ميمونة ويقال ابن علي ويقال ابن أسامة وكله واحد
แท้จริง เขาทั้งสอง(หมายถึงอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม) เห็นฟ้องกัน ต่อการนำบรรดารายงานของฮิลาล บิน อบีฮิลาลมาเป็นหลักฐานอ้างอิง และเขาถูกเรียกว่า อิบนุอบีมัยมูนะฮ ,ถูกเรียกว่า “ อิบนุอาลี และ ถูกเรียกว่า “ อิบนุอุสามะฮ” และทั้งหมดนั้น คือ คนๆเดียวกัน - ดู อัลมุสตัดรอ็ก เล่ม 1 หน้า 208
3. อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า
هلال بن أبي ميمونة العامري المدني مولى آل عامر بن لؤي ثقة مشهور
"ฮิลาล บิน อบีมัยมูนะฮ อัลอามิรีย์ อัลมะดะนีย์ เป็นทาสของครอบครัวอามีร บินลุอัย นั้น เขาเชื่อถือได้ อีกทั้งเป็นที่รู้จัก
قال النسائي : ليس به بأس ، وقال أبو حاتم : شيخ يكتب حديثه
อัลนะสาอีย์ กล่าวว่า “ ไม่เป็นไร” และอบูหาติมกล่าวว่า “เขาเป็นผู้อวุโส หะดิษของเขาถูกบันทึก – สิยะรุอะลามอัลนุบะลาอฺ เล่ม 5 หน้า 266
และอิหม่ามอัซซะฮบีย์ ได้กล่าวถึงหะดิษข้างต้นอีกว่า
هذا حديث صحيح أخرجه مسلم وأبو داود والنسائي وغير واحد من الأئمة في تصانيفهم ، يمرونه كما جاء ولا يتعرضون له بتأويل ولا تحريف ، وهكذا رأينا كل من يسأل : أين الله ؟ ، يبادر بفطرته ويقول : في السماء ، ففي الخبر مسالتان :إحداهما : شرعية قول المسلم : أين الله .الثانية : قول المسؤول : في السماء . فمن أنكر هاتين المسألتين فإنما ينكر على المصطفى صلى الله عليه وسلم
นี้คือ หะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม,อบูดาวูด,อันนะสาอีย์ และหลายคนจากบรรดาอิหม่ามในงานเขียนของพวกเขา ,โดยพวกเขาปล่อยให้มันผ่านไปและพวกเขาไม่คัดค้านมันด้วยการตีความและเปลี่ยนความหมาย และในทำนองเดียวกันนี้ เราเห็นว่า ทุกๆคนที่ถูกถามว่า “อัลลอฮอยู่ใหน? ด้วยธรรมชาติของเขา เขาจะตอบทันทีว่า “ อยู่บนฟากฟ้า” ดังนั้น ในหะดิษนี้ แบ่งออกเป็นสองประเด็นคือ
1. คำพูดของมุสลิมที่ว่า “อัลลอฮอยู่ใหน” ชอบด้วยหลักศาสนบัญญัติ
2. คำพูดของผู้ถูกถาม คือ อยู่บนฟากฟ้า
ดังนั้น ใครคัดค้าน สองประเด็นนี้ ความจริง เขาได้คัดค้านนบีมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – มุคตะศอรอัลอะลูย์ หน้า 81
4. อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า
هذا حديث صحيح ، رواه مسلم في " صحيحه " ومالك في " موطئه " وأبو داود والنسائي وأبو داود الطيالسي
นี้คือ หะดิษเศาะเฮียะ รายงานโดย มุสลิมในเศาะเฮียะของเขา,มาลิกรายงานในมุวัฏเฏาะ และ อบูดาวูด,อันนะสาอีย์และอบูดาวูดอัฏฏิยาลิสีย์ – กิตาบุลอะลูวีย์ หน้า 47
5. ส่วนหนึ่งของตัวบทอัลกุรอ่านที่สนับสนุนหะดิษข้างต้น คือ
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
أمنتم من فى السموات أن يخسف بكم الأرض فإذا هى تمور
ความว่า “พวกเจ้ารอดพ้น ผู้อยู่ในชั้นฟ้า ที่จะทำให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าลงไป แล้วมันก็สั่นสะเทือนอย่างนั้นหรือ ?” อัลมุลกิ 16 (1)
--------
(1) คือถ้าอัลลอฮฺจะทรงให้แผ่นดินสูบพวกเจ้าทั้งหมดลงไปในก้นบึ้งของแผ่นดินนี้และขณะที่มันสูบพวกเจ้าลงไปนั้นมันจะสั่นสะเทือนหวั่นไหว พวกเจ้าจะปลอดภัยละหรือ ?
1.2 อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
أم أمنتم من فى السموات أن يرسل عليكم حاصبا فستعلمون كيف نذير
ความว่า “หรือพวกเจ้าปลอดภัย(จาก)ผู้อยู่ในชั้นฟ้า ที่จะส่งลมหอบหินลงมาทับถมเหนือพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็จะได้รู้ว่า คำเตือนของข้านั้นเป็นอย่างไร ?” อัลมุลกิ 17
1.3 อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
مَن كَانَ يُرِيدُ الْعِزَّةَ فَلِلَّهِ الْعِزَّةُ جَمِيعاً إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ الطَّيِّبُ وَالْعَمَلُ الصَّالِحُ يَرْفَعُهُ وَالَّذِينَ يَمْكُرُونَ السَّيِّئَاتِ لَهُمْ عَذَابٌ شَدِيدٌ وَمَكْرُ أُوْلَئِكَ هُوَ يَبُورُ [35.10
ผู้ใดต้องการอำนาจ ดังนั้น อำนาจทั้งมวลเป็นของอัลลอฮ์ คำกล่าวที่ดีย่อมจะขึ้นไปสู่พระองค์ และการงานที่ดีนั้นพระองค์ทรงยกย่องสรรเสริญมัน และบรรดาผู้วางแผนชั่วร้ายทั้งหลายนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ และแผนการณ์ของชนเหล่านั้นย่อมจะพินาศ
……………
จากรายละเอียดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า หะดิษญารียะฮข้างต้นเป็นหะดิษที่นำมาเป็นหลักฐานได้อย่างไม่ต้องสงสัยและเป็นหะดิษที่สอดคล้องกับตัวบทแห่งอัลกุรอ่าน ที่ระบุถึงการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
ส่วนจะทรงอยู่อย่างไรนั้น ไม่มีใครรู้ เพราะพระองค์ ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน และพระองค์ทรงสถิตอยู่บนฟากฟ้า อันเป็นการสถิตย์ที่เหมาะสมกับความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ได้ว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไรนอกจากพระองค์
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น……………
والله أعلم بالصواب "
........................
อะสัน หมัดอะดั้ม
อิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์กล่าวว่า
قِصَّةِ الْجَارِيَةِ الَّتِي سَأَلَهَا النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ
وَسَلَّمَ أَنْتِ مُؤْمِنَةٌ؟ قَالَتْ نَعَمْ ، قَالَ فَأَيْنَ اللَّهُ ؟
قَالَتْ فِي السَّمَاءِ ، فَقَالَ أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ ،
وَهُوَ حَدِيثٌ صَحِيحٌ أَخْرَجَهُ مُسْلِمٌ
เรื่อง
ราวของทาสหญิง ที่นบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถามนางว่า
เธอเป็นผู้ศรัทธาใช่ไหม ? นางกล่าวว่า “ค่ะ ,ท่านนบีถามว่า
“อัลลอฮอยู่ใหน?นางตอบว่า อยู่บนฟากฟ้า ,แล้วท่านนบีกล่าวว่า
“จงปล่อยนางให้เป็นอิสระ เพราะแท้จริงนาง เป็นผู้ศรัทธา
,โดยที่มันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย มุสลิม – ดูฟัตหุลบารีย์ เล่ม ๑๓
หน้า ๓๕
..............
ตัวอย่างข้างต้น ผู้อ่านลองพิจารณาดู ว่า ใครจริง ใครเท็จ ใครบิดเบือน เพราะเคยมีคนบอกว่า วะฮบีย์ไปเชื่อหะดิษทาสหญิงมีสติไม่ดี
หะดิษญารียะฮ ที่ตอบนบี ศอ็ลฯ ว่า อัลลอฮ อยู่บนฟ้า ได้ถูกบรรทึกในตำราหะดิษ และมีหลายสายรายงานล้วนแล้วแต่หะดิษเศาะเฮีย ดูข้างล่าง
قال معاوية بن الحكم السلمي:
(( أتيت رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم بجارية، فقلت: يا رسول الله، عليّ رقبة أفأعتقها؟ فقال لها رسول الله: (( أين الله؟ )) فقالت: في السماء، فقال: (( من أنا؟ ))، قالت: رسول الله، قال: (( اعتقها فإنّها مؤمنة )) )) أهـ.
وهذا الحديث الصحيح رواته :
رواه الإمام مالك في (( الموطأ )) (2/776 )،
والإمام الشافعيّ في (( الرّسالة )) (ص/75 -واللفظ لـه- )،
وابن أبي شيبة في (( الإيمان )) (ص/36 رقم: 84 )،
والإمام أحمد في (( المسند )) (5/448 )،
وأبو داود في (( السنن )) (1/260 الصحيح )،
والدّارميّ في (( الرّد على الجهميّة )) (ص/39 )، وفي (( الرّد على المريسي )) (1/491 )،
وعبد الله ابن الإمام أحمد في (( السنّة )) (1/306 )،
وابن خزيمة في (( التوحيد )) (1/279 )،
واللالكائيّ في (( شرح أصول الاعتقاد )) (3/392 )،
والبيهقيّ في(( الأسماء والصفات )) (ص/532 )، وفي(( السنن الكبرى )) (7/354 و10/98 )،
ومسلمٌ في (( صحيحه )) (5/23 رقم: 1199 )،
والذّهبي في (( العلو )) (ص/81 المختصر )،
وغيرهم -رحم الله الجميع
หลักฐานเท่าไหร่จึงจะพอครับ นั้นมาดูหะดิษญารียะฮอีกสายรายงานหนึ่ง ล้วนแล้วเศาะเฮียะเช่นกัน
من طرق؛ عن هلال بن أبي ميمونة، عن عطاء بن يسار، عن معاوية بن الحكم به؛
ورواه من طريق الزهري، عن أبي سلمة بن عبد الرحمن، عن معاوية بن الحكم
جماعة كما في (( المصنّف لعبد الرزاق )) (10/402 )، و (( مسند الإمام أحمد
)) (3/443 و5/448 ) وغيرهم -رحم الله الجميع-.
وهذا الحديث، وهو المشهور بحديث الجارية، حديثٌ صحيحٌ
باتفاق أهل النقل، صححه-تصريحاً أو ما يقوم مقامه - جمهرةٌ
من أهل العلم؛ منهم الإمام مسلم حيث أخرجه في ((صحيحه ))
(5/23 رقم: 1199 )، والحافظ ابن حجر في (( الفتح ))
(13/359 )، والبيهقيُّ في (( الأسماء والصفات )) (ص/533 )،
والذهبيّ في (( العلو ))(ص/81 مختصر )، والألبانيّ في مواضع
منها (( الإيمان ))(ص/36) لابن أبي شيبة، حيث قال-رحمه
الله-: (( إسناده صحيحٌ على شرط الشيخين ))،
وقال في (( مختصر العلو ))(ص/81): (( فإنّه مع صحّةِ إسناده،
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น