คำว่านักปราชญ์นั้น
หาใช่ว่าคำวินิจฉัยปัญหาศาสนาของเขาถูกต้องไปทั้งหมด อาจมีความผิดพลาดบ้าง
แต่หากนักปราชญ์ผู้นั้น ได้ดิ้นรนแสวงหาความถูกต้องอย่างสุดความสามารถของเขาแล้ว
และได้วินิจฉัยถูก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่าเขาผู้นั้นจะได้รับผลบุญจากพระองค์อัลลอฮฺ
2 ผลบุญ และหากการวินิจฉัยปัญหาศาสนาของเขาผิดพลาด
เขาผู้นั้นพระองค์อัลลอฮฺจะตอบแทนเขา 1 ผลบุญ
ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม
กล่าวว่า
“หากผู้พิพากษา(นักปราชญ์)ได้วินิจฉัยปัญหาโดยดิ้นรนแสวงหาความจริงอย่างสุดความสามารถ และวิวินิจฉัยถูกต้อง เขาจะได้รับ 2 ผลบุญ แต่หากวินิจฉัยออกมาผิด เขาจะได้รับ 1 ผลบุญ” (เศาะเฮียะฮฺมุสลิม เลขที่ 1716)
แต่กระนั้นก็ตาม
ถึงแม้บรรดาอุละมาอ์ผู้แสวงหาความจริงในทุกประเด็นปัญหาจะได้ผลตอบแทน บรรดาผู้ตาม
ก็ต้องเลือกคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ไม่ใช่แต่ใช้แต่คำวินิจฉัยของนักปราชญ์ตามที่สอดรับกับอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง
คำวินิจฉัยของนักปราชญ์อาจมีคำวินิจฉัยออกมาผิดๆ
อาจมีเรื่องบิดอะฮฺ ชีริก หรือประการอื่นใดปรากฏอยู่
เพียงแต่หากพวกเขาได้ดิ้นรนสุดความสามารถ
พวกเขาก็จะได้รับผลบุญของความพยายามที่จะแสวงหาคำตอบนั้น และผลบุญที่ได้รับนั้นไม่ใช่ได้รับเพราะเนื่องจากคำวินิจฉัยที่ผิดพลาด แต่เนื่องจากการที่เขาได้ดิ้นรนอุตสาหะที่จะแสวงหาความจริงเพื่อจะวินิจฉัยปัญหาศาสนาต่างหาก
ท่านอิมามอัลบะฆอวีย์ กล่าวว่า
“และหาก(นักปราชญ์) วินิจฉัยปัยหาผิดพลาดเขาจะได้รับ 1 ผลบุญ หะดิษนี้ไม่ได้มีเป้าหมายประสงค์ที่จะบอกว่านักปราชญ์จะได้รับผลบุญเนื่องจากคำวินิจฉัยที่ผิดพลาด แต่ทว่านักปราชญ์จะได้รับผลบุญอันเนื่องจากความอุตสาหะที่จะแสวงหาความจริง ทั้งนี้ก้เพราะว่าความอุตสาหะของเขาคือการอิบาดะฮฺ(ศาสนกิจ)อย่างหนึ่ง และหากไม่ใช่เพราะการดิ้นรนแสวงหาความจริงของเขาแล้ว บาปที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดก้จะมีอยู่อย่างแน่นอน”
(อบูมุฮัมมัดอุซัยน์บินมัสอูด อัลบะเฆาวีย์
มะอาลิมอัตตันซีลฟีตัฟซีรอัลกุรอาน เล่ม 5 หน้า 334)
والله أعلم بالصواب
***************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น