อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผ้่าผูกโขนหัวเรือพิธีวงสรวงแม่ย่านางชิริกแห่งชายทะเล





เมื่อสังเกตเห็นตามหัวเรือของชาวมุสลิมบางพื้นที่ที่อยู่ตามชายทะเล ปรากฏว่ามีผ้าหลากสี เช่น สีแดง เขียว เหลือง เป็นต้น มีการผูกไว้ตามหัวเรือที่ทำการประมง  ให้เห็นอยู่เนื่องๆ

 เคยถามมุสลิมคนหนึ่งว่าผ้าที่ผูหกหัวเรือเป็นผ้าอะไร มีไว้ทำไม? เขาก็ตอบว่า ผ้าหลากสีที่ผูกไว้ที่หัวเรือเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการวงสรวงแม่ย่านางช่วยให้ผู้ออกประมง หาหอยปูปลาได้ดี

นี่คือคำตอบของผู้ที่เรียกตัวเองว่ามุสลิมแท้ๆ แล้วแม่ย่านาง เป็นใคร เกี่ยวอะไรกับวิถีการประมงของพี่น้องมุสลิมแถบชายทะเล ทั้งที่เขาเป็นมุสลิม เชื่อว่าอัลลอฮฺเท่านั้นที่พวกเขาขอความช่วยเหลือ แล้วเหตุใดจึงขอความช่วยเหลือขอความคุ้มครองจากแม่ย่านางเทียบเคียงพระองค์อัลลอฮฺอีก

ที่มาของผ้าหลากสีและแม่ย่านาง

แท้ที่จริงแล้วผ้าเจ็ดสีนี้สื่อถึงแม่ย่านาง หรือเทพผู้หญิง ที่คนต่างาสนิก มีความเชื่อว่า
แม่ย่านาง หรือ แม่ย่านางเรือ หมายถึง ผีหรือเทพผู้หญิง ที่สิงสถิตอยู่ประจำเรือแต่ละลำ เจ้าของเรือจะมีความเชื่อว่า เรือทุกลำเป็นเพศหญิง โดยมี แม่ย่านาง สิงสถิตอยู่ที่หัวเรือ และอาจเป็นผู้นำโชค หรือความหายนะมาสู่เรือของตนได้.

ดังนั้นจึงมีการเคารพ กราบไหว้ และทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ แม่ย่านาง ตั้งแต่เริ่มต้นการสร้างเรือ (ต่อเรือ-ขุดเรือ) ต้องดูฤกษ์งามยามดี ก่อนที่จะนำเรือลงสู่แม่น้ำครั้งแรก และระหว่างออกเรือทำกิจการต่างๆ เชื่อว่าจะนำโชคชัยมาสู่เรือ และทำให้กิจการประสบความสำเร็จด้วยดี...

ผู้เป็นเจ้าของเรือ จึงมีประเพณีเซ่นไหว้ แม่ย่านางเรือ ในโอกาสต่างๆ เช่น เมื่อต่อเรือแล้วเสร็จ ก่อนนำเรือลงน้ำ หรือหลังจากนำเรือขึ้นคาน เพื่อซ่อมแซม หรือทำพิธีก่อนออกเรือจับปลาในฤดูกาลใหม่ หรือในฤดูกาลที่สามารถจับปลาได้มากเป็นพิเศษ(http://www.oknation.net/blog/print.php?id=244000)

ชาวเรือทำพิธีผูกผ้าเรือหัวโทงเป็นประจำทุกปี เพื่อบูชาขอพรแม่ย่านางเรือ ให้ช่วยคุ้มครองในยามออกทะเล ทั้งออกเรือหาปู จับปลา หรือพานักท่องเที่ยวไปชมความงามของเกาะแก่งต่างๆ(http://travel.sanook.com/928918)

คนโบราณอาจจะคำนึงต่อไปว่า
หนึ่งสัปดาห์มี ๗ วัน แต่ละวันมีเทวดาประจำ เทวดาทั้งเจ็ดมีสีต่าง ๆ กัน
คงจะเป็นมงคลถ้าเราจะเคารพและปฏิบัติบูชาต่อท่านทั้ง ๗ วัน
จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการร้อยพวงมาลัย ๗ สี ๗ ศอกขึ้น

นี้คือที่มาของผ้าหลากสีที่ผูกไว้ที่โขนหัวเรือ และแม่ย่านาง เมื่อเราไดทราบ ที่มาของมันแล้ว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการผูกผ้าหลากสีที่หัวเรือ เพื่อเป็นพิธีวงสรวงแม่ย่านาง ที่เชื่อว่าเป็นผีหรือเทพผู้หญิง ที่สิงสถิตอยู่ประจำเรือแต่ละลำ และอาจเป็นผู้นำโชค หรือความหายนะมาสู่เรือของตนได้ ถือเป็นความเชื่อที่ผิดๆ เป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮฺ  เป็นการขอความช่วยเหลือ และขอความคุ้มครองจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ อันเป็นบาปใหญ่ยิ่ง

รายงานจากท่านอุกบะฮฺ บินอามิร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยอฺ วะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดแขวนเครื่องราง ขออัลลอฮฺจงอย่าให้เขาแคล้วคลาด และใครแขวนเปลือกหอย (เป็นเครื่องราง) ขออัลลอฮฺจงอย่าให้เขาสงบสุข” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด และอัลฮากิม โดยกล่าวว่า สายสืบศอเฮียะฮฺ)

إِنَّ اللّهَ لاَ يَغْفِرُ أَن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُونَ ذَلِكَ لِمَن يَشَاء وَمَن يُشْرِكْ بِاللّهِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيدً

"แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับ พระองค์ แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดให้มีภาคี ขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอน เขาก็ได้หลงทางไปแล้วอย่างไกล" (อันนิสาอ์ :48)

وَلَقَدْ أُوحِيَ إِلَيْكَ وَإِلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكَ لَئِنْ أَشْرَكْتَ لَيَحْبَطَنَّ عَمَلُكَ وَلَتَكُونَنَّ مِنَ الْخَاسِرِينَ

"แท้จริงแล้ว เจ้าและผู้ก่อนหน้าเจ้าได้รับคำสั่งว่าหากเจ้าทำชิริกแน่นอนการงานของเจ้าก็ย่อมตกเป็นโมฆะและตัวเจ้าย่อมอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน" (อัซซุมัรฺ : 65)

وَإِذْ قَالَ لُقْمَانُ لِابْنِهِ وَهُوَ يَعِظُهُ يَا بُنَيَّ لَا تُشْرِكْ بِاللَّهِ إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيمٌ ( 13 )

"และจงรำลึกเมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา โดยสั่งสอนเขาว่า “โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใด ๆ ต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ โดยแน่นอน“ (อัลกุรอาน สูเราะฮฺลุกมาน 31:13)

อบู บักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่า
قال النبي صلى الله عليه وسلم : «أَلا أُنَبِّئُكُمْ بِأَكْبَرِ الكَبَائِرِ؟» ثَلاثاً، قاَلوُا: بلَىَ ياَ رَسُولَ الله قَالَ: «الإشْرَاكُ بِالله، وَعُقُوقُ الوَالِدَيْنِ»، وَجَلَسَ وَكَانَ مُتّكِئاً «أَلا وَقُولُ الزُّوْرِ» قَال: فَمَا زَالَ يُكَرِّرُهَا حَتَّى قُلْنَا: لَيْتَـهُ سَكَتَ. متفق عليه.
ความว่า : ท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า จะเอาไหม ฉันจะบอกบาปที่ใหญ่ที่สุดแก่พวกท่าน? (สามครั้ง) พวกเขาตอบว่า “ เอาครับท่านเราะสูลุลลอฮฺ” ท่านกล่าวว่า “คือการทำชิริกกับอัลลอฮฺและการเนรคุณต่อพ่อแม่” แล้วท่านก็นั่งตรงลงหลังที่ได้ตะแคงพร้อมกับกล่าวว่า “และคำพูดเท็จอีกประการหนึ่งล่ะ” ท่านพร่ำทวนมันจนพวกเรานึกอยากให้ท่านหยุดพูด (มุตตะฟักอะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3654 และมุสลิม หมายเลข 87)


>>>ร่วมกันปกป้องพี่น้องมุสลิมแถบชายทะเล ให้ห่างไกลจากชิริก ด้วยการเผยแพร่ กีตาบุลลอฮฺ และสุนนะฮฺ ตามความเข้าใจของชาวสลัฟ และช่วยกันตักเตือนให้พวกเขาละทิ้งและออกห่างจากความเชื่อที่เป็นชิริกเหล่านั้น <<<

والله أعلم بالصواب




1 ความคิดเห็น: