อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเหนียตวาญิบสำหรับผู้ละหมาด



สำหรับผู้ทำการละหมาดนั้น วาญิบ(บังคับ)สำหรับเขาที่จะมีการเหนียต หรือ อันนียะฮฺ หรือตั้งเจตนา ในการละหมาดวักตูนั้นๆ หากมิเช่นนั้นแล้ว การละหมาดของเขาก็ใช้ไม่ได้

พระองค์อัลลอฮ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا اللَّهَ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ  ( 5 )

"และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบัยยินะฮฺ 98:5)


عَنْ أَمِيرِ الْمُؤْمِنِينَ أَبِي حَفْصٍ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رضي الله عنه قَالَ: سَمِعْت رَسُولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ: " إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إلَى اللهِ وَرَسُولِهِ فَهِجْرَتُهُ إلَى اللهِ وَرَسُولِهِ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيبُهَا أَوْ امْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إلَى مَا هَاجَرَ إلَيْهِ" .  


          รายงานจากอะมีรุลมุอฺมินีน อบูหัฟศฺ อุมัร บิน อัลค็อตฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอะนฮุ ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

“แท้จริงทุกๆการงานจะขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา และแท้จริงทุกๆคนจะได้รับ (การตอบแทน) ตามที่เขาได้เจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่อ (แสวงหาความโปรดปรานจาก) อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ การอพยพของเขาก็จะกลับไปสู่ (ความโปรดปรานของ) อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ และผู้ใดที่การอพยพของเขามีเจตนาเพื่อ (ผลประโยชน์) ทางโลกที่เขาจะได้รับ หรือเพื่อหญิงนางหนึ่งที่เขาหวังจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะกลับคืนสู่สิ่งที่เขาได้อพยพไป (จะถูกพิจารณาตามที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้)”

[ บันทึกโดย อัลบุคอรีย์, เลขที่ 1, มุสลิม, เลขที่ 1907 ]

และการเหนียตของการละหมาดนั้น คือการมุ่งและการตั้งใจที่จะกระทำละหมาดนั้นๆ  ที่มาของการเหนียตละหมาด คือ หัวใจ ไม่เกี่ยวอะไรกับลิ้นที่จะต้องกล่าวออกมาเลย

ท่านอิบนุ อัลก็อยยิ้ม ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ของท่าน ชื่อ "อิฆอษะตุลละฮฺฟาน" ว่า
"อันนียะฮฺ นั้นคือการมุ่งและการตั้งใจกระทำสิ่งหนึ่ง และที่ของอันนียะฮฺ คือ หัวใจ ซึ่งไม่เกี่ยวกับลิ้นเลย ด้วยเหตุนี้จึงไมาปรากฏรายงานถ่ายทอดมาจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และจากบรรดาสาวกของท่านเลย ในเรื่องที่ให้กล่าวเป็นคำพูดออกมา บรรดาข้อความต่างๆ เหล่านัี้้น  ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ในขณะเริ่มทำความสะอาด และเริ่มละหมาด ชัยฏอนมารร้ายจึงได้โอกาสแทรกแซงเข้ามาสู่จิตใจของผู้ที่มีมีจิตใจวอกแวกไม่แน่นอน ซึ่งมันจะก่อความกังวลแก่คนเหล่านั้นในขณะจะละหมาด และมันทำให้คนเหล่านั้นตกอยู่ในความไม่แน่นอน ดังจะเห็นได้จากบุคคลบางคน ซึ่งเขาพยายามกล่าวซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นหลายครั้ง และพยายามบังคับตัวเองให้กล่าวเป็นคำพูดออกมาในการตั้งใจ ทั้งๆที่มันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการละหมาดเลย"
การเหนียตละหมาด จึงไม่ได้หมายถึง  การกล่าวคำเรียงประโยคออกมา จนเรียกติดปากว่า "คำเหนียต" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การกล่าวตะลัฟฟุซ" นั้น ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และจากบรรดาศอหาบะฮฺของท่านเลย รวมถึงชาวสลัฟทั้งปวง แม้แต่ท่านอิมามทั้งสี่ก็ตาม การกล่าวคำเหนียต จึงเป็นการอุตริขึ้นมาในยุคหลัง

และไม่มีนักวิชาการศาสนาท่านใด ที่กล่าวว่า การกล่าวออกมาเป็นถ่อยคำ นั้นคือการเหนียต มิเช่นนั้นแล้วทุกการงานที่กระทำไป โดยไม่มีการกล่าวออกมาเป็นถ่อยเป็นคำประโยค ก็จะเป็นโมฆะ ทันที เพราะถือว่า การเหนียตนั้น ต้องกล่าวออกมาเป็นถ่อยคำ อย่างในกรณีผู้กระทำผิดในทางอาญา หากเขาฆ่าใครคนหนึ่ง หรือขโมยทรัพย์สินของใครเขามา หากเขาฆ่า หรือขโมย โดยที่เขาไม่ได้กล่าวถ่อยคำออกมา การกระทำของเขาผู้นั้นก็ไม่มีความผิด เพราะขาดองค์ประกอบความผิด คือเจตนาฆ่า หรือลักขโมย อันเนื่องจากเขาไม่ได้กล่าวถ่อยคำออกมาในการกระทำผิดฐานนั้นเอง จึงไม่เป็นการกินสติปัญญาของผู้ที่กล่าวว่าการเหนียตนั้นต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด

ดังนั้นวาญิบสำหรับผู้ละหมาดที่จะมีการเหนียต แต่สำหรับการกล่าวถ่อยคำออกมาที่เรียกว่า "คำเหนียต" นั้น ไม่มีแบบฉบับ และต้องละทิ้งมันที่จะกล่าวออกมา



والله أعلم بالصواب




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น