อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อิมาม ดูอัล-กุรอาน ขณะละหมาดตะราเวียหฺ




โดย ชมรมมุสลิมตาสา


อิบนุ กุดามะฮฺ กล่าวในหนังสือ อัล-มุฆนียฺ (1/335) ว่า
 “อิมามอะหฺมัดกล่าวว่า ไม่เป็นไร หากเขายืนนำ ละหมาดและถืออัล-กุรอ่าน” มีคนถามว่า ในการละหมาดฟัรฎู ท่านตอบว่า อย่าทำเช่นนั้น ฉันไม่ยินยอมให้ทำ ในกรณีเช่นนี้ อัล-กอฎียฺกล่าวว่า เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจในการละหมาดฟัรฎู และไม่เป็นไร หากเป็นละหมาดสุนัต เมื่อไม่จำอัล-กุรอาน นั้นคือ หากเป็นคนที่ท่องจำอัล-กุรอ่าน ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ แต่มีรายงานจากท่าน อิบนุ หะมิด กล่าวว่า อนุญาตให้ดูอัล-กุรอ่านได้ โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างละหมาดฟัรฎูกับละหมาดสุนัต

อิมาม อัน-นะวาวียฺกล่าวในหนังสือ อัล-มัจมูอ  (4/27) ว่า “หากอ่านจากอัล-กุรอาน ถือว่าละหมาดนั้นยังใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ ทั้งที่ (อิมามนั้น) เป็นผู้ท่องจำอัล-กุรอานหรือไม่ก็ตาม แต่ (วาญิบ) ต้องดูอัล-กุรอาน (เมื่อไม่จำ อายะฮฺ อัล-กุรอาน -ผุ้แปล) หากเป็นการอ่านสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ ....... การให้ความเห็นเช่นนี้ เป็นทัศนะของ มัซฮับเรา มัซฮับมาลิก อบี ยูสุฟ , มุฮัมมัดและอะฮฺมัด”

มีคนถามท่านอับดุลอาซิซ บิน บาซ ว่า อนุญาตให้อิมาม ละหมาดดูอัล-กุรอานในการละหมาด 5 เวลา หรือไม่ โดยเฉพาะในการละหมาดเวลาศุบหฺ ซึ่งสนับสนุนให้อ่านสูเราะฮฺที่ยาว เกรงว่าจะจำผิดหรือจะลืมบางตอนไป

ตอบ เมื่อเหตุจำเป็นก็อนุญาตให้ดูได้ เหมือนกับการอนุญาตให้ดู ในการละหมาดตะราเวียหฺ สำหรับผู้ที่ไม่ ท่องจำอัล-กุรอาน ซึ่งการอ่านอัล-กุรอานยาวในละหมาดศุบหฺนั้นถือเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริม ดังนั้นเมื่ออิมามไม่ใช่ ผู้ชำนาญในการท่องจำ ก็สามารถอ่านจากอัล-กุรอานได้ และควรให้ความสนใจและพยายามท่องอัล-กุรอาน จนชำนาญ เพื่อจะได้ไม่ต้องดูอีกต่อไป อินชาอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงประทานความสำเร็จในเรื่องนี้ ดังคำตรัส ของพระองค์ ความว่า “ผู้ใดที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ แน่แท้พระองค์จะทรงประทานทางออกให้”......ดูมัจมูอฺ ฟะตะวา อิบนุ บาซ (11/117)

มีคนถามท่านอับดุลลอฮฺ บิน อับดุรเราะหฺมาน อัล-ยิบรีน ว่า มีข้อตัดสินอย่างไร เกี่ยวกับดูอัล-กุรอานใน การละหมาด ?

ตอบ ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น แต่ต้องท่องอัล-กุรอาน แม้ว่าจะยุซอฺ อัมมะ ก็ตาม กล่าวคือท่านต้องอ่านตาม ที่ท่านจำ ทั้งนี้เพราะการถืออัล-กุรอานนั้นจะเป็นเบี่ยงเบนความสนใจ ซึ่งความสุขุมก็ลดน้อยลง แต่อนุญาตให้ กระทำได้ในละหมาดตะราเวียหฺ เพราะเป็นการละหมาดสุนัต ซึ่งมีเหตุจำเป็นที่จะต้องอ่านอัล-กุรอ่าน ให้มาก ถ้าจบเล่มได้ก็น่ายินดียิ่ง ... ดูฟัตวาของท่านเลขที่ 5869



والله أعلم بالصواب
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
http://www.warasatussunnah.net/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น