อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวทางของชาวซุนนะห์กับตำราพวกอุตริ



منهج أهل السنة في معاملة كتب أهل البدع

ภัยวิบัติที่เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงประการหนึ่งที่กำลังแพร่สะพัดอยู่ในสังคม และสร้างความปันป่วนให้กับพี่น้องมุสลิม ก็คือหนังสือหรือตำรับตำราที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ผิดต่อบทบัญญัติอิสลาม ตลอดจนทำลายหรือสร้างความสงสัยในหลักการศรัทธาของมุสลิม หนังสือเหล่านี้ถือเป็นช่องทางสำคัญของพวกอุตริแหวกแนวทั้งหลายที่จะเผยแพร่ความคิด หรือสอดแทรกแนวทางที่อุตริที่ผิดแปลกแหวกแนวไปจากแนวทางของชาวซุนนะห์ เมื่อมีคนที่มาตักเตือนชี้แจงถึงความผิดที่มีอยู่ในหนังสือเหล่านั้นหลายคนก็รับฟังข้อเท็จจริง แต่อีกหลายคนก็ยังมีข้ออ้างต่างๆนานาเช่น
- เขาใช้ภาษาดี สละสลวย อ่านแล้วเข้าใจง่าย !
- เราอ่านก็ใช่ว่าจะเชื่อทั้งหมด ที่ถูกเราก็เอา ถ้าไม่ถูกเราก็ไม่เอาหรอก!
- เราอ่านเพื่อศึกษา เปิดหูเปิดตา จะได้ไม่เป็นพวกอึ่งในกะลา!
- ดีแต่ว่าคนอื่น แน่จริงก็เขียนให้ได้อย่างเขาบ้างซิ !
- คนอื่นก็ผิดเหมือนกันทำไมไม่ว่าเขาบ้าง ฯลฯ
ข้ออ้างเหล่านี้ล้วนแล้วห่างไกลจากแนวทางของอะฮ์ลิซซุนนะห์
บรรดานักวิชาการในอดีตและปัจจุบันล้วนตักเตือนให้มุสลิมระวังหนังสือหรือตำราของพวกอุตริ (บิดอะห์) ทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นห้ามมิให้อ่านตำราที่แหวกแนว ยิ่งไปกว่านั้นยังสั่งให้เผาทำลายเสีย และห้ามมิให้นั่งร่วม สนทนา หรือโต้เถียงกับพวกเหล่านี้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ตกหลุมพรางหลงเชื่อคำพูดที่สละสลวย และมองดูเป็นเหตุเป็นผล แต่แฝงไปด้วยยาพิษที่ร้ายกาจ
มุสลิมต้องตระหนักอยู่เสมอว่านักเขียนที่เป็นศัตรูอิสลามนั้น เขาสามารถเข้าถึงระดับความคิดของมุสลิมได้ เพราะอาศัยความสามารถทางภาษาเพื่อโน้มน้าวผู้อ่านให้คล้อยตามสิ่งที่พวกเขาต้องการเผยแพร่ ซึ่งก็คือการบิดเบือน สร้างความสงสัย และทำลายความเชื่อของมุสลิมนั่นเอง
อันว่าสัจธรรมความรู้นั้นเราต้องรับและยึดถือเป็นแนวทาง แต่มิได้หมายความว่าจะรับจากใครก็ได้หรือโดยไม่พิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่ บรรดาสลัฟ (ชนรุ่นแรก) และบรรดานักวิชาการซุนนะห์ ในทุกยุคสมัย ล้วนรัก หวงแหน และปกป้องสัจธรรมความจริง แต่ไม่มีผู้ใดแนะนำเราแสวงหาสัจธรรมจากพวกอุตริแหวกแนวทั้งหลายเหล่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าความจริงที่อ้างว่ามีอยู่ในตำราของพวกเหล่านั้น แท้จริงแล้วก็มีปรากฏอยู่ในอัลกุรอานและซุนนะห์นั่นเอง ซี่งนักวิชาการซุนนะห์ได้อธิบายชี้แจงไว้อย่างละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นเหตุใดเล่าจึงต้องหันไปหาความจริงจากตำราที่แหวกแนวเหล่าอีก ถ้าเราจะเปรียบเทียบก็คงเหมือนกับบ่อน้ำสองบ่อ บ่อหนึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ อีกบ่อหนึ่งน้ำขุ่น สกปรก กลิ่นเหม็น สำหรับผู้ที่มีสติปัญญาเมื่อต้องการน้ำดื่มที่สะอาดเขาคงไม่ตักจากบ่อที่สองโดยแน่แท้
เรื่องนี้เรามีแบบฉบับที่ดีงามอยู่แล้วจากท่านร่อซู้ล (ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และมติของปวงปราชญ์ ตลอดจนแนวทางของบรรดาอุละมาอุซซุนนะห์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผู้เขียนขอนำเสนอเพียงบางส่วนดังนี้ [1]
1. แนวทางจากท่านร่อซู้ล (ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
‏ ‏عَنْ ‏ ‏جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ ‏أَنَّ ‏ ‏عُمَرَ بْنَ الْخَطَّابِ ‏ ‏أَتَى النَّبِيَّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏بِكِتَابٍ أَصَابَهُ مِنْ بَعْضِ أَهْلِ الكتاب ‏ ‏فَغَضِبَ فَقَالَ أَمُتَهَوِّكُونَ يَا ‏ ‏ ابْنَ الْخَطَّابِ ‏ ‏وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَقَدْ جِئْتُكُمْ بِهَا بَيْضَاءَ نَقِيَّةً لَا تَسْأَلُوهُمْ عَنْ شَيْءٍ فَيُخْبِرُوكُمْ بِحَقٍّ فَتُكَذِّبُوا بِهِ أَوْ بِبَاطِلٍ فَتُصَدِّقُوا بِهِ وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَوْ أَنَّ ‏ ‏مُوسَى ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏كَانَ حَيًّا مَا وَسِعَهُ إِلَّا أَنْ يَتَّبِعَنِي (أخرجه الإمام أحمد والدار قطني وهو حديث حسن، أنظر الإرواء)

ท่านญาบิร บินอับดิลลาฮ์ ได้รายงานว่า : ท่านอุมัรอิบนุลคอตต้อบ (รอฎิยัลลอฮุอันฮุ) ได้มาหาท่านนบี (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยถือคัมภีร์ (เตารอต) ซึ่งได้มาจากชาวคัมภีร์ เมื่อท่านนบี (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้เห็น ท่านโกรธและได้กล่าวว่า: อิบนุค้อตต้อบเอ๋ยเจ้ายังเป็นผู้สงสัยอยู่กระนั้นหรือ? ฉันขอสาบานต่ออัลลออ์ ผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ของพระองค์ แน่แท้ฉันได้นำมาสู่พวกเจ้าทั้งหลายซึ่ง คำสอนที่ขาวบริสุทธิ์ผุดผ่อง พวกเจ้านี้อย่าได้ไปถามสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากชาวคัมภีร์ เป็นอันขาด เพราะพวกเขาอาจจะบอกสิ่งที่เป็นสัจธรรมความจริงพวกเจ้ากลับปฏิเสธมันเสีย หรือพวกเขาจะบอกสิ่งที่เป็น
และฉันขอสาบานต่ออัลลออ์ ผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ของพระองค์ หากท่านนบีมูซา (อะลัยฮิซสลาม)ยังมีชีวิติอยู่แล้วละก็ท่านก็จะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามฉันอย่างแน่นอน[2]
ท่านร่อซู้ล (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้เตือนมิให้อ่านคัมภีร์ของพวกอะ-ลุลกิตาบ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า คัมภีร์เหล่านั้นมิได้ผิดหรือถูกบิดเบือนเสียทั้งหมด บางส่วนก็ยังคงความถูกต้อง ดังที่ปรากฏในฮาดีสนี้ เพราะท่านอุมัร (ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ) เมื่อท่านได้รับบางส่วนจากคัมภีร์เตารอต ท่านรู้สึกชอบใจที่มีบางสิ่งบางอย่าง ตรงกับอัลกุรอาน ดังนั้นท่านจึงถือมาเพื่อจะมาถามท่านร่อซูล (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เมื่อท่านร่อซูล (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เห็นท่านก็โกรธ และสั่งห้ามมิให้ไปถาม หรือหาความรู้ใดๆจากพวกอะฮ์ลุลกิตาบ ในท้ายที่สุดท่านก็ต้องนำไปโยนทิ้ง็็น็ ดดดดดดดกหกกกกกกกแแกหด//ดดดดดดด
จากฮาดีสบทนี้คงเป็นคำตอบได้ดีสำหรับพวกที่มักจะอ้างว่า ‘เราอ่านทุก
เล่มนั่นแหละ ที่ถูกเราก็เชื่อ ที่ไม่ถูกเราก็ไม่เชื่อหรอก’ เพราะปัญหาก็คือ ผู้อ่านนั้นสามารถแยกแยะสิ่งถูกสิ่งผิดได้มากน้อยแค่ไหน ฉะนั้นแนวทางที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ อ่านจากตำราที่อยู่ในแนวทางของอัลกุรอานและซุนนะห์ ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความเข้าใจไว้อย่างครบถ้วนแล้ว และละทิ้งหลีกห่าง อย่าได้ไว้ใจตำราของพวกอุตริทั้งปวง
ท่านเชคอับดุรเราะฮ์มานบินฮะซัน –รอฮิมะฮุลลอฮุ- ได้กล่าวว่า

قال الشيخ عبد الرحمن بن حسن – رحمه الله – : ((ومن له نهمة في طلب الأدلة على الحق، ففي كتاب الله، وسنة رسوله، ما يكفي ويشفي، وهما سلاح كل موحد ومثبت، لكن كتب أهل السنة تزيد الراغب وتعينه على الفهم …

‘ผู้ใดก็ตามที่มีความปรารถนาจะแสวงหาหลักฐานบนความถูกต้องแล้วไซ้ร ดังนั้นในอัลกุรอานและซุนนะห์ของท่านร่อซูล (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้น ย่อมเพียงพอและครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว สองสิ่งนี้ถือเป็นอาวุธประจำกายของผู้คงไว้ซึ่งเอกภาพแด่อัลลอฮ์ตะอาลา และผู้ที่มีความมั่นคงหนักแน่นในหลักการศาสนา ส่วนตำราของนักวิชาการซุนะห์นั้นจะมาเพิ่มพูนและช่วยเขาในความเข้าใจ (ในรายละเอียด)’[3]



2. อิจมาอุ (มติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์) ห้ามมิให้อ่านหนังสือของพวกอุตริ
- ท่านอิหม่ามอิบนุคุซัยมะห์ –ร่อฮิมะฮุลลอฮ์- เมื่อท่านถูกถามถึงการตีความในพระนามคุณลักษณะของอัลลอฮ์ตะอาลาท่านตอบว่า

“بدعة ابتدعوها، لم يكن أئمة المسلمين وأرباب المذاهب وأئمة الدين، مثل مالك، وسفيان، والأوزعي، والشافعي، وأحمد، وإسحاق، ويحيى بن يحيى، وابن المبارك، ومحمد بن يحيى، وأبي حنيفة، ومحمد بن الحسن، وأبي يوسف : يتكلمون في ذلك وينهون عن الخوض فيه، ويدلون أصحابهم على الكتاب والسنة، وإياك والخوض فيه والنظر في كتبهم بحال”

“เป็นบิดอะห์ (สิ่งอุตริแหวกแนว) ที่พวกเขาก่อขึ้นเอง บรรดาอิหม่ามทั้งหลายในมัซฮับต่างๆไม่มีใครพูด (ตีความ) เช่นนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นอิหม่ามมาลิก ซุฟยาน เอาชาอีย์ อัชชาฟีอีย์ อะห์มัด อิสฮาก ยะห์ยา บินยะห์ยา อิบนุลมุบารอก มูฮัมมัดบินยะห์ยา มูฮัมมัดบินอัลฮะซัน อบูฮะนีฟะฮ์ และท่านอิหม่ามอบูยูซุฟ บรรดาท่านอิหม่ามเหล่านี้กลับมิให้วิพากษ์วิจารณ์ ในเรื่องพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ และสั่งใช้ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน) ให้ยึดมั่นต่ออัลกุรอานและซุนนะห์ ดังนั้นท่านจงอย่าพูดวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าว และอย่าดูตำราของพวกอุตริเหล่านั้นอย่างเด็ดขาด”[4]

ท่านอิหม่ามอบูมันซูรมุอัมมัรบินอะฮ์มัดได้กล่าวว่า

“ثم من السنة ترك الرأي والقياس في الدين وترك الجدال والخصومات وترك مفاتحة القدرية وأصحاب الكلام، وترك النظر في كتب الكلام وكتب النجوم، فهذه السنة التي اجتمعت عليها الأئمة وهي مأخوذة عن رسول الله صلى الله عليه وسلم بأمر الله تبارك وتعالى”

ส่วนหนึ่งจากซุนนะห์ก็คือการละทิ้งความคิดเห็นและการเปรียบเทียบในศาสนาและการโต้เถียง โต้แย้งกับพวกกอดรียะห์ หรือพวกตีความคุณลักษณะของอัลลอฮ์ อย่าดูตำราของพวกเขาหรือหนังสือที่ทำนายโชคชะตาราศี นี่แหละคือซุนนะห์ซึ่งบรรดาอิหม่ามทั้งหลาย ได้มีมติเอกฉันท์ไว้แล้ว มตินี้ได้มาจากท่านร่อซูล (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) โดยพระบัญชาแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง[5]
จากมติเอกฉันท์ของบรรดาปวงปราชญ์ทั้งหลายล้วนแต่ให้ระวังอย่าอ่านหนังสือของพวกอุตริทั้งหลาย ทั้งๆที่ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นผู้ทรงความรู้ มีความปราดเปรื่องในเรื่องราวของศาสนาสามารถแยกแยะผิดถูกได้เป็นอย่างดี แต่ท่านเหล่านั้นกลับเตือนให้ระวังหนังสือเหล่านั้น นี่ก็เป็นคำตอบที่ดี สำหรับผู้ทีมีความคิดที่จะหาความถูกต้องจากหนังสือของพวกอุตริทั้งหลาย และที่อันตรายยิ่งกว่าก็คือ บางคนไปไกลถึงแม้แต่หนังสือของก็อดยานีย์ ชีอะห์ก็ตาม !
3. ท่าทีของอิหม่ามนักปราชญ์อิสลามในอดีตต่อตำราของพวกอุตริ
- อิหม่ามมาลิก –ร่อฮิมะฮุลลอฮ์- กล่าวว่า
“لا تجوز الإجارات في شيء من كتب الأهواء والبدع والتنجيم”

ไม่อนุญาตให้เช่าสิ่งใดๆจากตำราของพวกอารมณ์นิยม พวกบิดอะห์ (อุตริ) ตลอดจนตำราที่ทำนายโชคชะตาราศี[6]
- ท่านอิหม่ามมัรวะซีย์ได้เล่าว่า
قلت لأبي عبد الله : استعرت كتاباً فيه أشياء رديئة، ترى أن أخرقه أو أحرقه؟ قال : نعم

‘ฉันได้กล่าวกับอิหม่ามอะห์มัดว่า: ฉันได้ยืมหนังสือมาเล่มหนึ่ง ในเล่มดังกล่าวมีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่ารังเกียจ ถ้าฉันทำลายหรือเผามันเสียจะได้ไหม? ท่านตอบว่า : ได้สิ’[7]

- ท่านอิหม่ามอะอ์มัดยังได้กล่าวอีกว่า
إياكم أن تكتبوا عن أحد من أصحاب الأهواء قليلاً ولا كثيراً، عليكم بأصحاب الآثار والسنن

‘พวกท่านทั้งหลายอย่าเขียนบทเรียนจากพวกอารมณ์นิยม (พวกอุตริ) ไม่ว่าจะเล็กน้อย หรือมากมายก็ตาม แต่จงแสวงหาความรู้จากพวกซุนนะห์เถิด’[8]
ยิ่งไปกว่านั้นท่านอิหม่ามอะฮ์มัดยังถือว่าการผาทำลายหนังสือของพวกอุตรินั้นได้ผลบุญอีกด้วย[9]
- ท่านฮัรบ บินอิสมาอีลได้เล่าว่า
سألت إسحاق بن راهوية، قلت : رجل سرق كتاباً من رجل فيه رأي جهم أو رأي القدر؟ قال : يرمي به. قلت : أنه أخذ قبل أن يحرقه أو يرمي به هل عليه قطع؟ قال : لا قطع عليه، قلت لإسحاق : رجل عنده كتاب فيه رأي الإرجاء أو القدر أو بدعة فاستعرته منه فلما صار في يدي أحرقته أو مزقته؟ قال : ليس عليك شيء.

‘ฉันได้ถามอิหม่ามอิสฮาก บิน รอฮูยะห์ ว่า: มีชายคนหนึ่งได้ขโมยหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งมีแนวคิดของพวกญะห์ (พวกปฏิเสธคุณลักษณะของอัลลอฮ์ฯลฯ) ท่านว่าจะทำอย่างไรดีกับหนังสือเล่มนั้น? ท่านตอบว่าเอาไปโยนทิ้งเสีย’
ฉันถามต่อว่า : เขาขโมยมานี่ก่อนจะเอาไปเผาหรือโยนทิ้งจะถูกตัดมือหรือไม่? อิหม่ามอิสฮากตอบว่า : ไม่ถูกตัดมือหรอก ฉันถามต่อว่าอีกว่า: ชายคนหนึ่งเขามีหนังสือที่มีแนวของพวกมุรญิอะห์ พวกก็อดรียะห์ และพวกอุตริ ฉันจึงขอยืมมา แล้วฉันก็นำไปเผา หรือฉีกมันทิ้งไปจะเป็นอะไรไปไหมครับ? ท่านตอบว่า : ไม่เป็นไรหรอก (คือไม่มีโทษหรือต้องชดเชยใดๆทั้งสิ้น)[10]
- ท่านอิหม่ามอิบนุ กุดามะฮ์ ได้กล่าวว่า

“ومن السنة هجران البدع ومباينتهم وترك الجدال والخصومات في الدين، وترك النظر في كتب المبتدعة، والإصغاء إلى كلامهم، وكل محدثة في الدين بدعة”

ส่วนหนึ่งจากซุนนะห์คือการหลีกห่างจากพวกบิดอะห์และไม่ได้โต้เถียงกับพวกนี้ในเรื่องของศาสนาและไม่ดู (ไม่อ่าน) หนังสือ ไม่ฟังคำพูดใดของพวกเขา และทุกๆเรื่องอุตรินั้นล้วนเป็นบิดอะห์[11]

ท่านยังได้กล่าวไว้อีกว่า :

كان السلف ينهون عن مجالسة أهل البدع، والنظر في كتبهم والإستماع لكلامهم.

‘บรรดาชาวสะลัฟห้ามนั่งร่วมกับบิดอะห์ ห้ามอ่าน ห้ามฟังคำพูดของพวกเขาอีกด้วย’[12]

ท่านอิหม่ามอิบนุลกอยยิมได้กล่าวว่า :

“والمقصود : أن هذه الكتب المشتملة على الكذب والبدعة، يجب إتلافها وإعدامها، وهي أولى بذلك من إتلاف آنية الخمر، فإن ضررها أعظم من ضرر هذه، ولا ضمان فيها، كما لا ضمان في كسر أواني الخمر وشق زقاقها”

‘เป้าหมายหลักคือ หนังสือตำราเหล่านี้เต็มไปด้วยเรื่องมุสาและอุตรินั้นจำเป็น (วาญิบ) ต้องทำลายทิ้ง ยิ่งกว่าการทำลายภาชนะที่บรรจุเครื่องดื่มสุราเสียอีก เพราะอันตรายของหนังสือเหล่านั้นอันตรายยิ่งกว่า และเมื่อทำลายแล้วก็ไม่มีการที่จ่ายค่าชดเชยใดๆ เช่นเดียวกับการทุบทำลายโถและทำลายถุงบรรจุสุราทิ้ง’[13]
ท่านอิบนุคอลดูนได้กล่าวว่า

فالحكم في هذه الكتب كلها وأمثالها، إذهاب أعيانها متى وجدت بالتحريق بالنار والغسل بالماء، حتى ينمحي أثر الكتابة، لما في ذلك من المصلحة العامة في الدين، بمحو العقائد المضلة.
ثم قال : فيتعين على ولي الأمر، إحراق هذه الكتب دفعاً للمفسدة العامة، ويتعين على من كانت عنده التمكين منها للإحراق، وإلا فينزعها ولي الأمر ويؤدبه على معارضته على منعها، لأن ولي الأمر لا يعارض في المصلحة العامة.

‘ข้อชี้ขาดของตำราทั้งหมดเหล่านี้ หรือตำราที่คล้ายๆกันนี้ ก็คือหากพบเมื่อใดให้จัดการทำลายเสียให้สิ้น ด้วยการเผาหรือ เอาไปแช่น้ำเพื่อให้น้ำหมึกเลือนหายไป ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยช์ส่วนรวมในศาสนาด้วยการลบล้างความเชื่อที่ทำให้หลงผิดทั้งหลาย…’
ท่านยังได้กล่าวต่ออีกว่า‘เป็นหน้าที่สำหรับผู้ปกครองในการเผาทำลายหนังสือเหล่านี้เพื่อป้องกันผลร้ายที่จะเกิดต่อสังคมโดยรวม ส่วนคนที่มีหนังสือเหล่านี้อยู่ในครอบครอง จำเป็นที่เขาต้องให้ความร่วมมือในการเผาทำลาย ถ้าเขาไม่ยอมให้ความร่วมมือแต่โดยดี ก็ให้ปกครองทำการยึดหนังสือเหล่านั้น และลงโทษเจ้าของหนังสือนั้นในข้อหาที่ขัดขวางและไม่ยอมให้ความร่วมมือ เพราะผู้ปกครองนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือในสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์โดยรวม ซึ่งห้ามขัดขวาง คัดค้านอยู่แล้ว’[14]
- ท่านอิมามอัซซาคอวีย์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอิมามอิบนุฮะญัร –ร่อฮิมะฮุมุลลอฮ์ ได้เล่าว่า:
‘ในสมัยของท่านอิมามอิบนุฮะญัรนั้น ได้พบกับชายคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเชคนะซีมุดดีนอัตติบริซีย์ และเชคอัลค่อรูฟียะห์ (สองคนนี้ถูกประหารในข้อหาที่เป็นกุฟุรในปีฮศ. 820) ชายคนดังกล่าวถูกพบว่ามีหนัง สือที่มีความเชื่อแหวกแนวอยู่กับเขา เมื่อถูกจับได้ก็ถูกพาตัวมาสอบสวน ท่านอิมามอิบนุฮาญัรนั้น ได้เผาหนังสือเล่มดังกล่าวทิ้งทันที และต้องการจะลงโทษชายผู้นั้น แต่ทว่า
เขาได้สาบานว่าเขาไม่รู้ว่าในเล่มเขียนอะไรไว้ โดยอ้างว่าได้หนังสือเล่มนี้มาจากคนอื่นอีกที (เขาไม่ได้เขียนเอง) ก็เลยคิดว่าหนังสือเล่มนี้ไม่มีอะไรผิด ในที่สุดจากการสอบสวนแล้ว ได้ปล่อยตัวชายผู้นั้นไปหลังจากที่เขาได้ปฏิเสธและไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆกับความเชื่อที่แหวกแนวในหนังสือดังกล่าว (ตะบัรรุอ) และสัญญายืนยันว่าจะไม่ให้เกิดเรื่องเช่นนี้ ตลอดจนจะปฏิบัติตามหลักการอิสลามอย่างเคร่งครัด’[15]
เช่นเดียวกับในสมัยของท่านอะลีย์บินยูซุฟบินตาซิฟีน ยังได้สั่งเผาหนังสือ เอียะฮ์ยาอุอุลูมิดดีน ซึ่งเขียนโดยอบูฮามีดอัลฆอซาลีย์ ทั้งนี้โดยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์ในสมัยของท่าน[16]
4. ท่าทีของนักปราชญ์อิสลามร่วมสมัยต่อตำราของพวกอุตริ
เหตุการณ์ที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดตัวอย่างหนึ่งเกิดขึ้นที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อปี ฮศ. 1381 (ซึ่งตรงกับปีพ.ศ.2503) ท่านเชคมุฮัมมัดบินอิบรอฮีม –ร่อฮิมะฮุลลอฮ์-ได้มีคำสั่งลงโทษ นายอับดุลลอฮ์อัลค่อนีซีย์ เจ้าของหนังสืออื้อฉาวที่ชื่อว่า ‘อะบูตอลิบมุอมินกุรอยซ์’[17] และให้ประกาศกลับเนื้อกลับตัวโดยให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนตามคำสั่งที่มีถึงผู้บัญชาการตำรวจนครริยาฏดังนี้

من محمد بن إبراهيم إلى المكرم مدير شرطة الرياض سلمه الله السلام عليكم ورحمه الله وبركاته . وبعد :
فبإلاشارة إلى المعاملة الواردة منكم برقم 944 وتاريخ 10/11/1381 المتعلقة بمحاكمة عبد الله الخنيزي _ فانه جرى الإطلاع على المعاملة الأساسية ووجدنا بها الصك الصادر من القضاة الثلاثة المقتضي إدانته ، والمتضمن تقريرهم عليه _ يعزر بأمور أربعة :
( أولا ) : مصادرة نسخ الكتاب وإحراقها ، كما صرح العلماء بذلك في حكم كتب المبتدعة .
( ثانيا ) : تعزيز جامع الكتاب بسجنه سنه كاملة ، وضربه كل شهرين عشرين جلده في السوق مدة السنه المشار إليها بحضور مندوب من هيئة الأمر بالمعروف مع مندوب إلإمارة والمحكمة .
( ثالثا ) : إستتبابته ؛ فإذا تاب وأعلن توبته وكتب كتابه ضد ما كتبه في كتابه المذكور ونشرت في الصحف وتمت مدة سجنه خلي سبيله بعد ذلك ، ولا يطلق سراحه وان تمت مدة سجنه ما لم يقم بما ذكرنا في هذه المادة .
( رابعاً ) : فصله من عمله ، عدم توظيفه في جميع والوظائف الحكومية ، لأن هذا من التعزيز . هذا ما يتعلق بالتعزيز الذي قررته اللجنة . وبعد استكماله يبقي موضوع التوبة يجرى فيه ما يلزم إن شاء الله . والسلام عليكم
‘จากมุฮัมมัดบินอิบรอฮีมถึงผู้บัญชาการตำรวจประจำนครริยาฎ–ซัลละมะฮุลลอฮ์ -’
อัซซะลามุอะลัยกุมวะเราะห์มะตุลลอฮีวะบะร่อกาตุฮ
อ้างถึงหนังสือเลขที่ 944ลงวันที่ 10/11/1381 ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินคดีของนายอับดุลลออ์ อัลค่อนีซีย์ หลังจากได้พิจารณาแล้ว พบว่ามีคำตัดสินจากศาลทั้ง3ชั้น ว่ามีความผิดจริงและให้ลงโทษดังนี้
1. ให้ยึดหนังสือดังกล่าวและเผาทำลายทิ้ง ตามที่บรรดานักวิชาการได้ระบุไว้เกี่ยวกับหนังสือของพวกอุตริแหวกแนว
2. ให้จำคุกเจ้าของหนังสือดังกล่าว1ปีเต็ม และให้เฆี่ยน20ที ทุกๆ 2เดือน ในตลาดเป็นเวลา 1 ปี ต่อหน้าเจ้าหน้าที่จากกรมการใช้ในเรื่องความดี และเจ้าหน้าที่จากจังหวัดและศาล
3. ให้ผู้ต้องหากกลับเนื้อกลับตัว ถ้าเขาได้กลับเนื้อกลับตัว และได้ประกาศการกลับเนื้อกลับตัวนั้น และให้เขียนหนังสือลบล้างในสิ่งที่เขาเคยเขียนไว้ในหนังสือของเขา ตลอดจนได้พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ครบภายในเวลา 1 ปีที่ถูกกักขัง ก็ให้ปล่อยตัวได้ และมิให้ปล่อยตัวหากว่าครบกำหนดโทษกักขัง แต่มิได้กระทำครบตามที่เราได้ระบุไว้ตามข้อนี้
4. ให้ไล่เขาออกจากงาน และไม่ให้รับราชการในทุกตำแหน่งของทางราชการอีก
นี่คือส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับบทลงโทษที่เป็นมติจากคณะกรรมการ แล้วหลังจากที่ได้ปฏิบัติจนครบถ้วนทุกประการแล้ว ให้คงเรื่องการกลับเนื้อกลับตัวไว้ตามที่หลักการกำหนด อินชาอัลลอฮ์
วัสสลามมุอะลัยกุม
นอกจากนี้นักวิชาการอีกมากมาย ที่มีทีท่าแข็งกร้าวกับพวกอุตริ
แหวกแนวทั้งหลาย เช่น อิมาม เชคอับดุลอะซีซ บินอับดุลลอฮ บินบาซ อิมามเชคมุฮัมมัดนาศิรุดดีน อัลบานีย์ อิมามอิบนุอุซัยมีน –ร่อฮิมะฮุมุลลอฮ์-
ท่านเชคซอและห์อัลเฟาซาน–ฮาฟิซ่อฮุลลอฮ์- ถูกถามว่าอะไรคือคำชี้ขาดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอ่านหนังสือของพวกอุตริแหวกแนว และฟังเทปบันทึกของพวกเขา?
ท่านตอบว่า
“لا يجوز قراءة كتب المبتدعة ولا سماع أشرطتهم إلا لمن يريد أن يرد عليهم ويبين ضلالهم”

ไม่อนุญาตให้อ่านหนังสือของพวกอุตริแหวกแนว และไม่อนุญาตให้ฟังเทปบันทึกของพวกเขา ยกเว้นผู้ที่อ่านหรือฟัง เพื่อตอบโต้และชี้แจงความหลงผิดของพวกเขาเท่านั้น[18]
จากตัวบทที่ได้นำมาเสนอจากอัลฮะดีษ อิจมาอุ(มติปวงปราชญ์) ตลอดจนแนวทางของบรรดานักวิชาการซุนนะห์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้
1. ให้หลีกห่างและห้ามยุ่งเกี่ยวกับพวกอุตริด้วยประการทั้งปวง
2. ห้ามโต้เถียงกับพวกเขา
3. ห้ามอ่านหนังสือ หรือฟังเทป ตลอดจนศึกษาหาความรู้จากพวกอุตริ ยกเว้นผู้มีความรู้ และต้องการตอบโต้หรือชี้แจงความหลงผิดเท่านั้น
4. ให้เผาและทำลายหนังสือของพวกเหล่านี้ทุกวิถีทาง
5. อนุญาตให้ขโมยหนังสือที่บิดเบือน หรือทำลายหลักการอิสลามเพื่อนำไปเผาทิ้งหรือทำลายโดยไม่ต้องเสียค่าชดเชยใดๆทั้งสิ้น
6. ในประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม ให้ขออำนาจต่อศาลจัดการกับพวกอุตริแหวกแนวและตำราของพวกเขา
7. การทำลายหนังสือของพวกอุตริถือเป็นการญิฮาด มีผลบุญตอบแทน
นี่คือท่าทีของปวงปราชญ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันต่อหนังสือของพวกอุตริ
อันแสดงถึงคุณธรรมอันสูงสุด ความรักความหวงแหน ความรักผิดชอบต่อศาสนา ท่านเหล่านั้นคัดสรรความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่เขาจะรับเอาความรู้ จะต้องอยู่ในแนวทางซุนนะห์ มิใช่ว่าใครก็ได้ อะไรก็ได้ หนังสือใดก็ได้ แม้แต่ของพวกกอดยานีย์ที่บ่อนทำลายอิสลามก็ตาม
นี่คือส่วนของหนังสือหรือตำราของพวกอุตริแหวกแนว ส่วนตัวหรือบุคคลที่อุตริแหวกแนวนั้น นักวิชาการก็มีท่าทีแข็งกร้าว และไม่ยอมอ่อนข้อให้แม้แต่น้อย ขอกล่าวสรุปดังนี้
1. หลีกห่าง ไม่นั่งร่วมวง
2. ไม่ยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ
3. ไม่ให้สลามหรือได้รับสลาม ไม่ยิ้มแย้ม
4. ไม่ปรึกษาหารือ คบหาเป็นมิตรสหาย
5. ให้ตอบโต้และถือเป็นการญิฮาดไม่ใช่การนินทา ไม่ว่าคนนั้นจะมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตาม ตราบใดที่สิ่งอุตริของเขานั้นยังแพร่กระจายในสังคม
6. ไม่ฟังคำพูด หรืออ่านหนังสือของพวกเหล่านี้
7. ไม่แต่งงานลูกสาวให้พวกอุตริ
8. ไม่ร่วมงานศพ ละหมาด ส่งศพ พวกอุตริ
9. ไม่แก้ตัว หาทางออก ให้พวกเหล่านี้
10. อนุญาตให้นินทา เพื่อเตือนให้มุสลิมได้ระวัง
11. ให้ดูถูกเย้ยหยัน
12. ให้มีบทลงโทษเฆี่ยนตี กักขัง หรือประหารชีวิต หากว่าการอุตริแหวกแนวนั้นเป็นกุฟุร (การปฏิเสธ)[19]
ในโอกาสนี้เองผู้เขียนจึงอยากจะยกตัวอย่างหนังสือบางเล่ม ที่แพร่สะพัด
อยู่ในสังคมบ้านเรา เพื่อให้ผู้อ่านได้ลองเปรียบเทียบ พร้อมคำวิจารณ์โดยสังเขป เพื่อเตือนให้ผู้อ่าน ได้ทราบถึงอันตรายอันใหญ่หลวงของตำราเหล่านี้ ส่วนการตอบโต้ชี้แจงในรายละเอียดนั้น คงต้องใช้เวลาและหน้ากระดาษ คงต้องจัดทำเป็นการเฉพาะ
ตัวอย่างความเชื่อที่แหวกแนว และทำลายหลักการศรัทธาของศาสนาอิสลาม ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ บยานุลกุรอาน[20]และกุรอานมะญีดของนายอิบรอฮีมกุเรชี ฉบับล่าสุด พิมพ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2544 ที่อ้างว่าแก้ไขหมดแล้ว

การศรัทธาต่ออัลลอฮ์
นายอิบรอฮีม กุเรชีกล่าวว่า
- เรารู้จักพระองค์จากลักษณะคุณที่ดีทั้งหลายของพระองค์ รวมเข้าอุปมา
เป็นมวลหนึ่ง เรียกพระองค์ว่าอัลลอฮ์ (เล่ม1 หน้า ห)
- ‘เรารู้จักอัลลอฮ์จากคุณลักษณะของพระองค์ เราไม่รู้จักอาตมันที่แท้จริงของพระองค์ (6 : 104, 42: 11) คุณลักษณะเหล่านี้ รวมเข้าเป็นมวลอันหนึ่งเรียกว่าพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งตามศาสนาอิสลามเรียกว่า อัลลอฮ์…’ (เล่ม 2 หน้า 1282)
- และพระองค์ทรงสถิตทุกแห่ง (เล่ม1 หน้า 673 และเล่ม2 หน้า 1289 และ 1309)
- พระองค์ทรงอยู่ในจิตสำนึกของเราตลอดไป (57 : 4; 58: 7) เป็นจิตสำนึกอันเดียวกัน เหมือนอย่างเราได้รับแสงแดด ไม่มีใครกล่าวว่าคนหนึ่งๆถูกแสงแดดจากดวงตะวันต่างดวงกัน (เล่ม 2 หน้า1289)

ข้อสังเกต
1. สรุปว่าอัลลอฮ์ตามความเชื่อของนายอิบรอฮีม กุเรชี เป็นมวลหนึ่งหรืออุปมาเป็นมวลหนึ่ง
2. คำว่า ‘อุปมา’ หรือ ‘เหมือนอย่าง’ นั้นใช้กับอัลลอฮได้หรือ เมื่อเป็นที่ทราบกันดีว่า ห้ามนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเปรียบเทียบกับพระองค์
3. ผู้ที่กล่าวหาว่า ผู้ที่ออกมาคัดค้านความเชื่อว่าอัลลอฮ์เป็นมวลนั้นไม่เข้าใจภาษาไทย ควรจะออกมาอธิบายให้พี่น้องมุสลิมได้ทราบว่าการให้คุณลักษณะอัลลอฮ์เช่นนี้ มีหลักฐานจากอัลกุรอาน อัลฮาดีษและนักวิชาการอย่างไร อย่ามัวแต่กล่าวหาผู้อื่นว่าไม่เข้าใจภาษาไทย
ส่วนมุสลิมนั้นเขาศรัทธาว่าอัลลอฮตะอาลา ทรงมีตัวตนที่สูงส่ง ยิ่งใหญ่ มีคุณลักษณะที่สวยงาม ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และเปรียบกับสิ่งใดไม่ได้ ผู้ใดนำพระองค์มาเปรียบเทียบกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดในบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ถือว่า ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิเสธ อันเป็นมติเอกฉันท์ในศาสนาอิสลาม และมุสลิมจะไม่กล่าวถึงคุณลักษณะ ของอัลลอฮตะอาลา เว้นแต่เท่าที่มีตัวบทจากอัลกุรอาน และซุนนะห์เท่านั้น ส่วนพวกอุตริจะใช้การตีความ และสติปัญญาของตัวเองเป็นหลัก
4. อัลลอฮ์ทรงสถิตทุกแห่ง นี่ไม่ใช่ความเชื่อของชาวซุนนะห์ ในอดีตนักวิชาการได้ตอบโต้พวกที่มีความเชื่อเช่นนี้ว่า ถ้าอย่างนี้คนที่บูชาต้นไม้ เจว็ด หรือที่ฟิรเอาน์อ้างตัวเป็นเจ้านั้นก็ไม่ผิดแต่อย่างใดตามความเชื่อนี้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็มีอัลลอฮ์สถิตย์อยู่!
5. อัลลอฮ์ทรงบอกเราว่าพระองค์นั้นทรงสูงส่ง เหนือบัลลังค์อันยิ่งใหญ่ของพระองค์ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า
‘ผู้ทรงกรุณาปราณี ทรงสูงส่งอยู่บนบัลลังก์ (ซูเราะห์ตอฮาอายะห์ที่ 5)’
นี่คือความเชื่อที่ร่อซู้ล –ซอลลัลลอฮ์อะลัยฮิวะซัลลัม- ได้สอนซอฮาบะห์และ เป็นมติเอกฉันท์ของนักวิชาการซุนนะห์ ส่วนพวกแหวกแนวจะเชื่อว่าอัลลอฮ์สถิตย์ทุกแห่ง(ฮุลูลียะฮ) หรือจักรวาลนี้กับอัลลอฮ์คือหนึ่งเดียวกัน(อิตติฮาดียะฮ)
การศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์และร่อซู้ลของอัลลอฮ์
นายอิบรอฮีม กุเรชี กล่าวว่า :
- ท่านนบีอิบรอฮีมก็ดี ท่านนบีมูสา (โมเซ) ก็ดี ท่านนบีอีสา (พระเยซู) ก็ดี พระกฤษณะก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ท่านนบีมูฮัมมัดก็ดี (ขอความสันติจากอัลลอฮ์ได้มีแก่ท่านเหล่านี้) (เล่ม2หน้า 1228)
- เป็นมารยาทข้อหนึ่งในการคาราวะบรรดานบีเหล่านี้ที่มุสลิมต้องกล่าวคำว่าอะลัยฮิสลาม ต่อท้ายชื่อเมื่อออกนามของท่านนบีใดๆ คำนี้แปลว่าขอความสันติจงมีแด่ท่าน (เล่ม 1 หน้า ถ.)
- เพราะฉะนั้นตามหลักฐานที่มีปรากฏในอัลกุรอาน (2:213; 6:90; 29:27; 45:16; 57:26) บรรดานบีจึงมีพระคัมภีร์ เพื่อเป็นทางนำแก่ประชาชนของตน ส่วนจะเหลือมาถึงเราให้รู้ชื่อหรือไม่นั้นไม่ได้อยู่ในประเด็นเช่นเดียวกับที่อัลกุรอานกล่าวว่าทุกๆชาติมีรสูล (10:47) ก็ไม่ได้อยู่ในประเด็นที่จะต้องรู้ ในญี่ปุ่น ธิเบต คองโก เอสกิโม มีร่อสูลชื่ออะไร (เล่มสอง หน้า 1334)
ข้อสังเกต
1. สรุปว่าพระกฤษณะ พระพุทธเจ้า เป็นน่าบีของอัลลอฮ์ด้วยเช่นกัน ตามความเชื่อของเจ้าของหนังสือกุรอานมะญีด เนื่องจากได้มีการกล่าว
ขอพรหลังจากนามของท่านเหล่านั้น เพราะคงไม่มีใครซอลาวาตให้คนธรรมดาสามัญ แม้แต่บรรดาซอฮาบะห์ เมื่อเรากล่าวถึงพวกท่านเหล่านั้น เราจะกล่าวว่ารอฎิยัลลอฮุอันฮุ ส่วนบุคคลทั่วไปเราก็ขอดุอาว่า รอฮิมะฮุลลอฮ์เท่านั้น ส่วนกาฟิรนั้น ห้ามขอดุอาให้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี
2. ถ้าพระกฤษณะ พระพุทธเจ้า มีฐานะเทียบเท่าร่อซู้ลทั้งหลาย มุสลิม
จำเป็นต้องศรัทธา ผู้ใดหากแม้เพียงสงสัยก็ตกเป็นผู้ปฎิเสธ
3. ในญี่ปุ่น ธิเบต เอสกิโม มีนบีแต่ไม่ทราบชื่อเพราะไม่สำคัญอะไร ถ้าเป็นเช่นนี้ หากจะมีคนอ้างว่า ประเทศไทยก็มีนบีเหมือนกัน แต่ไม่ปรากฏชื่อชัดเจน เราคงจะตำหนิเขาไม่ได้
จึงไม่แปลกใจว่า มีบางคนที่นิยมชมชอบ และป้องกันนายอิบรอฮีม กุเรชี แปล ‘วัตตีน’ ว่า ขอสาบานด้วยต้นโพธิ์ ซึ่งคำว่า ‘วัตตีน’ หมายถึง ขอสาบานด้วยต้นมะเดื่อ
โดยผู้กล่าวนั้นต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจว่าพระพุทธเจ้า (ซึ่งชาวพุทธเขาเชื่อกันว่าตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ และคำว่าตรัสรู้นั้นก็คือรับวะฮีย์นั้นเอง) เป็นน่าบีของเราด้วย
และก็คงไม่ต้องแปลกใจที่จะมีคนที่เชื่อแหวกแนวไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่าความเชื่อก่อนหน้านี้ ผู้อ่านลองอ่านและพิจารณาข้อความต่อไปนี้

” คำถามก็คืออะไรคือแหล่งความรู้ที่ถูกต้องคำตอบก็คือ ความรู้ที่ฤษี (Rishi) ได้รับจากพระเจ้า ความรู้เหล่านี้ต่อมาได้รับการรวบรวมขึ้นเป็นเล่มในรูปของคัมภีร์…คัมภีร์เหล่านี้คือคัมภีร์พระเวท คัมภีร์ไบเบิ้ล และคัมภีร์อัลกุรอาน ศาสนาฮินดู ศาสนาคริสต์และอิสลาม มาจากคัมภีร์เหล่านี้คัมภร์ทั้งสามเล่มเป็นคัมภีร์ของพระเจ้า ดังนั้นการขัดแย้งกันระหว่างคัมภีร์ทั้งสามเล่มจึงเป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง
ในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้คัมภีร์เก่าแก่ที่สุดที่ได้มีการรวมรวมไว้เป็นเล่มคือคัมภีร์พระเวท…คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ที่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยนักบุญแห่งสวรรค์ก่อนหน้าอาดัม…ยุคก่อนหน้าอาดัมเป็นบุคแห่งเทวดาและรากษส (Rakshashas) นั้นคือเหตุผลที่ว่าทำไมมนุษย์จึงไม่เข้าใจเหตุการณ์หลายอย่าง ในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงได้เห็นการไม่ลงรอยกันในเรื่องของเทพยดาในเวลานั้นอย่างเช่นพระราม (Rama) หนุมาน (Hanuman) ศังกร (Shanker) และพระกฤษณะ (Krishna) ไม่มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในเรื่องของเทวดา (demigod) และอสูร (Asura) ฤษี 88,000คน ได้หนีไปยังภูเขาต่างๆ เมื่อพวกเขารู้ว่าโลกจะอยู่ภายใต้การควบคุมของมนุษย์
(นบีมุฮัมมัดในคัมภีร์พระเวทและปุราณะเขียนโดย เวท ประกาศ อุปาทธยาย แปลเป็นภาษาไทยโดย บรรจง บินกาซัน) (พิมพ์ครั้งแรก หน้า132-133)
เรื่องที่แปลกเหลือเชื่อก็คือผู้แปลเป็นภาษาไทยมิได้วิจารณ์หรือตอบโต้คำพูดที่ทำลายความเชื่อของศาสนาอิสลามเลยแม้แต่น้อย ซ้ำร้ายผู้แปลกลับยอมรับว่า คัมภีร์อัลกุรอาน เป็นคัมภีร์โบราณเล่มหนึ่ง และคัมภีร์พระเวทซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณของชาวอินเดียนั้น พูดถึงเรื่องเตาฮีด(การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ) และการมาของท่านนบีมูฮัมมัดไว้ละเอียดมากกว่าคัมภีร์โบราณเล่มอื่นๆเสียอีก เพื่อความชัดเจน ผู้อ่านกรุณาอ่านข้อความต่อไปนี้ซึ่งเป็นของผู้แปล (บรรจง บินกาซัน) ในหนังสือเล่มดังกล่าว (หน้าที่7)
จากการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ เป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งที่เราได้ทราบว่า ในคัมภีร์โบราณอย่างเช่นคัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์อัลกุรอน นอกจากพูดถึงหลักคำสอนเรื่องความเชื่อในพระเจ้างองค์เดียว หลักศีลธรรมในการดำเนินชีวิตแล้ว ยังพูดถึงการมาของมหาบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งจะมาทำให้ศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย นั่นคือ นบีมูฮัมมัด
แต่สิ่งที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้นอีกก็คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณ ของชาวอินเดียและเป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุดของโลก ก็มีการพูดถึงหลักความเชื่อ ในพระเจ้าองค์เดียว และการมาของนบีมูฮัมมัดไว้ค่อนข้างละเอียดมากกว่าคัมภีร์โบราณเล่มอื่นๆเสียด้วยซ้ำ
เมื่ออ่านแล้ว ผู้เขียนรู้สึกเศร้าใจ และขอดุอาจากอัลลอฮ์ให้คุ้มครองผู้เขียนและพี่น้องมุสลิมทุกท่านให้พ้นจากความหลงผิดด้วยเถิด เพราะ :
- ความเชื่อเหล่านี้ไม่มีในศาสนาอิสลาม
- ท่านนบีมุฮัมมัด (ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) บรรดาซอฮาบะห์ อีหม่ามทั้ง4 และบรรดานักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งในอดีตและปัจจุบัน ไม่มีผู้ใดมีความเชื่อเช่นนี้
- การอ้างว่า คัมภีร์พระเวทพูดถึงเตาฮีด และการมาของนบีมุฮัมมัดได้ละเอียดมากกว่าคัมภีร์โบราณเล่มอื่นๆเสียอีก รวมถึงอัลกุรอานด้วย เพราะอัลกุรอานก็เป็นคัมภีร์โบราณเล่มหนึ่ง และการที่ผู้แปลได้ให้คุณลักษณะของคัมภีร์อัลกุรอานว่าเป็นคัมภีร์โบราณนั้นเป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือ และจะมีคัมภีร์ใดที่สอนมนุษยชาติถึงหลักเตาฮีดได้สมบูรณ์ยิ่งไปกว่าคัมภีร์อัลกุรอาน
- อย่างนี้เป็นการเผยแพร่อิสลามหรือทำลายอิสลามกันแน่
การศรัทธาต่อบรรดามาลาอิกะฮ์
นายอิบรอฮีม กุเรชีกล่าวว่า
‘อัลกุรอ่านกล่าวถึง มลาอิกะฮ์ว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน – sentient being หรือImmaterial…กล่าวโดยย่อคือ มนุษย์มีธรรมชาติญาณล่อใจ 2 ลักษณะ สิ่งล่อใจซึ่งนำมนุษย์ให้กระทำสิ่งดีและมีความเจริญสูงขึ้น กับสิ่งล่อใจซึ่งนำมนุษย์ให้กระทำสิ่งซึ่งชั่วและเลวต่ำลง เพราะการที่จะนำสิ่งล่อใจนี้สู่ภาคการปฏิบัติ เราให้คำจำกัดความว่าสื่อซึ่งชักนำไปทางดีเราเรียกว่ามลาอิกะฮ์ และสื่อซึ่งชักนำไปในทางซึ่งเราเรียกว่า ชัยฏอน…’ (บยานุลกุรอาน หน้า ภ.)

‘ได้กล่าวแล้วว่า อัลลอฮ์ได้ทรงสร้างมนุษย์ให้มีความคิดอิสระ (76 : 3)
มีทั้งอำนาจฝ่ายต่ำและฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำนั้นกระซิบกระซาบมนุษย์ให้ทำการชั่วเรียกว่ามารหรือชัยฏอน ส่วนอำนาจฝ่ายสูงที่เชิญชวนสู่การดีนั้นเรียกว่ามลาอิกะฮ์…’ (ความหมายของอัลกุรอาน (กุรอานมะญีด) เล่ม2หน้า1319)

‘สรุปได้ว่ามลาอิกะฮ์เป็นอรูป ไม่ปรากฏแก่สายตามนุษย์ดั่งฮะดีษที
กล่าวโดยท่านหญิงอะอิชะฮ์ – นอกจากการจำแลงรูปหรือโดยญาณทัศนพิเศษ เมื่อท่านน่าบีฯ ศ็อล ฯ กล่าวว่า ท่านเห็นญิบรีล ก็ต้องเป็นด้วยญาณทัศนะพิเศษ เพราะสาวกที่นั่งอยู่กับท่านก็ไม่เห็น’ (กุรอานมะญีด เล่ม2 หน้า1312)
- มลาอิกะฮ์ตามความหมายของนายอิบรอฮีม กุเรชีเป็นอรูป ไม่มีตัวตน
- มลาอิกะฮ์เป็นญาณ หรือสื่อล่อใจมนุษย์ให้ทำดีหรืออำนาจฝ่ายสูง
-นบีมุฮัมมัด –ซอลลอลลอฮุอัยฮิวะซัลลัม- จึงไม่สามารถเห็นรูปร่างแท้จริงของมลาอิกะฮ์ด้วยตาเปล่า ต้องเข้าญาณพิเศษหรือรอให้จำแลงรูปเสียก่อน
ความเชื่อเช่นนี้ มุสลิมทุกคนตอบได้ทันทีว่า ไม่ใช่ความเชื่อของศาสนาอิสลามแต่ประการใด หรือจะมีบุคคลใดรับรองได้ว่าสิ่งนี้คือการอีหม่านต่อบรรดามลาอิกะฮ์
การศรัทธาในวันปรโลก
นายอิบรอฮีมกล่าวว่า
‘นรกหรือสวรรค์ของมนุษย์เริ่มแต่ในโลกนี้ เมื่อพูดถึงปรโลกโปรดอย่า
เข้าใจว่าหมายถึงโลกที่มีนางฟ้า หรือหญิงสวยงามมากๆ เรื่องนรกสวรรค์ตามอัล
กุรอานไม่ใช่ตามทัศนะที่เข้าใจกันอยู่แกนๆและผิวเผิน’ (บยานุลกุรอาน เล่ม1 หน้า ย.)
‘กล่าวโดยย่อแล้วนรกคือโรงพยาบาลสำหรับรักษาคนป่วยหรือหม้อต้มผ้าให้สะอาด ในอิสลามไม่มีการตกนรกไม่รู้ผุดรู้เกิด และสวรรค์คือสุขารมณ์ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด- a bliss that never be cut off- ในอิสลามไม่มีการขึ้นสวรรค์เพื่อเสพนางฟ้า’ (บยานุลกุรอาน เล่ม1 หน้า ส.)

‘นรกเป็นโรงพยาบาล (สำหรับมุสลิมที่ทำความชั่วแต่ในดวงจิตยังมี
การศรัทธา)

‘การทรมานในนรกเป็นการลงโทษผู้ทำชั่ว ผู้ปฏิเสธคำสอนของบรรดา
นบี แต่ก็ถือว่าการลงโทษนั้นเป็นความโปรดปรานชนิดหนึ่ง เพราะมันซักฟอกและบำบัดความชั่วของเขา’ (กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1389)

‘ตามโองการที่กล่าวข้างต้นนี้ เราทราบได้ว่าการลงโทษในนรก แม้จะร้ายแรงและสาหัสเพียงใดก็เป็นนิอมะฮ์ของอัลลอฮ์…’ (กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1390)

‘อัลกุรอานเรียกนรกว่าเป็นแม่ –อุมมุน (101 : 9) จึงมีหน้าที่เลี้ยงดูผู้ต้องโทษตามส่วนของเขา (78 : 26) เสมือนมารดาอุ้มชูทารกจนเติบใหญ่…’
(กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1399)
‘สภาพเช่นข้างต้นนี้แหละคือการลงโทษในก็อบร์ คนทำผิดก็ได้รับโทษทางจิตสำนึกตลอดไป คนทำดีก็ได้รับความสุขทางจิตสำนึกตลอดไปเช่นกัน’
(กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1363)
นี่คือการบิดเบือนและทำลายหลักการศรัทธาของศาสนาอิสลามอย่างชัดเจน อัลกุรอานตลอดจนอัลฮาดีษได้อธิบายเรื่องราวของนรก ว่าเป็นสถานที่ทรมานอย่างแสนสาหัสแก่บรรดาผู้ปฏิเสธ ไม่ได้เป็นนิอมะฮ์(ความเมตตา) หรือเป็นโรงพยาบาล และไม่ได้มีหน้าที่เลึ้ยงดูผู้ต้องโทษ เสมือนมารดาอุ้มชูทารก จนเติบใหญ่ เพราะคำว่าอุมมุนในอายะห์ดังกล่าว แปลว่าที่พำนัก ไม่ได้แปลว่าแม่ผู้เลี้ยงดู อุ้มชูทารก การอรรถาธิบายความหมายของคำว่านรก ว่าเป็นโรงพยาบาลนั้น เป็นการอรรถาธิบายของพวกกอดิยานีย์(ดูหนังสืออัลญันนะตุ วันนาร หน้าที่19 โดยควาญากมาลุดดีนหนึ่งในแกนนำกลุ่มก็อดยานี และหนังสือThe Religion of Islam หน้าที่308 โดยมูฮัมมัดอาลีหัวหน้าก็อดยานีแห่งลาโฮร์) เช่นกันการทรมารในก็อบร์ (หลุมศพ) นั้นเป็นการทรมานทั้งร่างกายและวิญญาณ ในทางตรงกันข้ามการผู้ที่เป็นมุอมินผู้ศรัทธานั้น ก็จะได้รับความสุขทั้งร่างกายและวิญญาณเช่นกัน มิได้เป็นการรับโทษหรือความสุขเพียงจิตสำนึกเท่านั้น และในปรโลกมุอมินจะได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮ์ และรางวัลที่พวกเขาจะได้รับประการหนึ่งก็คือฮูรุลอัยน์(สาวงามที่อัลลอฮ์ตะอาลาสร้างเพื่อเป็นคู่ครองของบรรดาผู้ศรัทธา) ผู้อ่านทุกท่านที่มีพื้นฐานทางหลักศรัทธาคงจะทราบดีว่า ข้อความที่ยกตัวอย่างมาจาก
กุรอานมะญีดนั้นบิดเบือนออกจากหลักศรัทธาของอิสลามมากเช่นไร ผู้ที่ออกมาปกป้องนายอิบรอฮีม กุเรชี บางคนยังจะกล้าประกาศอย่างไม่เกรงกลัวว่า ‘ผิดเล็กน้อยเท่านั้น’ เราจึงไม่แปลกใจที่สถานีวิทยุหลายสถานี โฆษณาขายหนังสือ กุรอานมะญีด กันอย่างเอิกเกริก ไม่ทราบว่าคนเหล่านั้นทราบหรือไม่ว่า การเผยแพร่สิ่งที่เป็นกุฟุร (การปฏิเสธ) โดยเจตนานั้นมีโทษสถานใด ซ้ำร้ายบางคนยังไม่รู้เลยว่าผิดตรงไหน บางคนยังไม่เคยอ่านด้วยซ้ำ ก็ออกมารับรองแล้วว่า ผิดเล็กน้อย ถูกใส่ร้าย ฯลฯ
การศรัทธาการกำหนดสรรพสิ่ง (เกาะฎอเกาะดัร)
นายอิบรอฮีม กุเรชีกล่าวว่า…
กล่าวได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นต้นเหตุแรกและสุดท้ายของสรรพสงทั้งหลายกล่าว คือ เป็นผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายแต่ทั้งนี้ มิหมายความว่า พระองค์เป็นผู้ทรงสร้างการกระทำของมนุษย์ … บยานุลกุรอานเล่ม 1 หน้า อ.

‘เกาะดัรเป็นกฎแห่งธรรมชาติ กฎแห่งการกำหนดสภาวะที่มีในจักรวาล และทั่วๆไปรวมทั้งในตัวมนุษย์…’ (กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1401)

‘เป็นความจริงที่เราต้องยอมรับว่า หลักให้ศรัทธาในเกาะฎอและเกาะดัรนั้น ไม่มีปรากฏในอัลกุรอาน อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้แง่ของกฎและการกำหนดสภาวะเท่านั้น’
(กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1402)

‘การศรัทธาในเกาะดัรไม่มีแจ้งในอัล-กุรอาน’ (กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1441)

‘ความเข้าใจที่ว่า ตักดีรคือการกำหนดความดีความชั่วของมนุษย์นั้น ไม่มีในหลักการของอัล-กุรอาน หรือแม้แต่ภาษาศาสตร์ความเข้าใจที่กระเดียดไปทางนี้ได้เกิดขึ้นแก่บางคณะ ในสมัยต่อมาเมื่อมาจากอิทธิพลแห่งความเชื่อถือทางลัทธิบูชาไปของเปอร์เชียแต่ก่อนนี้ ที่ว่ามีพระเจ้าแห่งความดีและพระเจ้าแห่งความชั่ว คืออะหูระมัซดาและอะหริมัน ความเข้าใจที่ว่า อัลลอฮ์ทรงสร้างกรรมดี กรรมชั่วของมนุษย์นั้นก็ไม่มีปรากฏในหลักการของอัลกุรอาน…’ (กุรอานมะญีดเล่ม 2 หน้า 1407) ดูข้อความคล้ายกันนี้ในบยานุลกุรอาน หน้า ฬ.

หลักศรัทธาข้อนี้ไม่มีในอัลกุรอาน 2 : 117, 285; 4: 136 (เล่ม 3 หน้า 1835)

ข้อสังเกต
1. ถ้าอัลลอฮ์ตะอาลาไม่ใช่ผู้ทรงสร้างกรรมดี กรรมชั่วของมนุษย์แล้วไซร้ ใครเล่าเป็นผู้สร้าง หรือเกิดขึ้นเองโดยปราศจากผู้สร้าง
จากข้อความข้างต้น ยังจะมาพูดได้อีกหรือว่า
“แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเราปฏิเสธเรื่องเกาะฏอเกาะดัร (กำหนดสภาวะ) “(กุรอานมะญีดเล่ม2หน้า1402)
2. นายอิบรอฮีม กุเรชีมิได้ปฏิเสธกฏสภาวะที่เขาตั้งขึ้นมาเอง แต่ปฏิเสธเกาะฎอเกาะดัรที่มีคำสั่งในอัลกุรอานและซุนนะห์ ซึ่งอะฮลุซซุนนะห์ ได้ยึดถือมาตลอด14ศตวรรษ คำพูดของนายอิบรอฮีม กุเรชี ไม่ได้แตกต่างกับพวกก็อดรียะห์(พวกปฏิเสธเกาะฎอเกาะดัร) เลยแม้แต่น้อย
3. บางคนแก้ตัวว่าในอัลกุรอานมีเรื่องเกาะฎอเกาะดัร แต่ไม่มีคำสั่งให้ศรัทธา ทั้งที่จริงแล้วหากผู้อ่านอัลกุรอานมีความความเข้าใจในศาสนาและภาษาอาหรับแล้วจะพบว่า ในอัลกุรอานมีอาย้าตมากมายเกี่ยวเนื่องกับการศรัทธาในเกาะฎอเกาะดัร ซึ่งนั่นคือคำสั่งและวายิบที่มุสลิมต้องศรัทธา
4. หลักการศรัทธาข้อนี้ที่มวลมุสลิมมีความศรัทธาว่า อัลลอฮ์ตะอาลาผู้ทรงสร้างและกำหนดมวลสรรพสิ่ง รวมทั้งการงานความดีความชั่วของมนุษย์นั้น กลับกลายเป็นว่า ได้รับอิทธิพลมาจากพวกบูชาไฟของชาวเปอร์เชีย ความเชื่อเช่นนี้ที่นายอิบรอฮีม กุเรชี นำมาเผยแพร่ในประเทศไทยตรงกับความคิดของมิรซาฆุลามอะห์มัด หัวหน้ากอดิยานีย์ที่เผยแพร่ และสร้างความเสียหายให้กับมุสลิมในประเทศอินเดีย และปากีสถานมาแล้ว (ดูวารสารอัลฮัจญ์ ฉบับที่2 วันที่16 เดือนชะบาน ปีฮศ. 1382 ตัวอย่างที่19)
บทสรุป
1. นี่คือความเชื่อสุดท้ายของนายอิบรอฮีม กุเรชี เพราะมีการอ้างว่าเขาได้แก้ไขหมดแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เหลืออยู่ และไม่ได้แก้ไขจะให้เข้าใจเป็นอื่นไม่ได้
2. การที่มีผู้อาสามาแก้ไขความผิดต่างๆเหล่านี้ ก็มิได้ยังประโยชน์อันใดแก่เขาได้ เพราะการงานของทุกคนสิ้นสุดเมื่อวันที่เขาได้ตายจากไป สิ่งที่จำเป็นสำหรับญาติสนิท มิตรสหาย ก็คือ เรียกเก็บหนังสือเหล่านี้ และจัดการทำลายให้สิ้น เพราะมิฉะนั้นแล้ว บาปกรรมก็จะกลับไปสู่เจ้าของหนังสือ ไม่จบสิ้น ตราบใดที่ความผิดเหล่านี้ยังคงแพร่หลายอยู่ในสังคม

3. ความผิดต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของหลักการศรัทธาทั้ง6ประการ ที่ได้หยิบยกมานี้ไม่ได้มีการประกาศเตาบัตตัวแต่ประการใด หลักฐานก็คือหนังสือเอกสารของนายอิบรอฮีม กุเรชียังได้รับการตีพิมพ์จำหน่ายจ่ายแจก โฆษณากันอย่างอึกทึกครึกโครม การอ้างว่าเตาบัตเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบการเตาบัตของนายอับดุลลอฮ์ อัลค่อนีซีย์ ที่ผิดเพียงประเด็นว่า ‘อบูตอลิบเป็นมุอมินกุรอยซ์’ กับนายอิบรอฮีม กุเรชี ที่มีความผิดนานัปการ เพียงความเชื่อที่ทำลายหลักการศรัทธาข้อหนึ่งข้อใดก็เพียงพอแล้วที่เขาจะต้องปฏิบัติตามหลักการเตาบัต การกลับเนื้อกลับตัว และตราบใดที่ตำรับตำราของเขายังได้รับการเผยแพร่เช่นนี้ การเตาบัตของเขา (ตามอ้าง) เป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น
4. แนวทางของอุลามะอซุนนะห์ ในอดีตและปัจจุบัน ผู้ใดมีความผิด หรือความเชื่อหนึ่งความเชื่อใดในหลักอุซู้ลอีหม่าน(หลักพื้นฐานสำคัญ) ไปตรงกับพวกอุตริทั้งหลาย เช่นพวกคอวาริจญ์ พวกมุรญีอะห์ พวกชีอะห์ ฯลฯ พวกเขาก็ตัดสินว่าเป็นพวกเดียวกัน สิ่งที่เราควรถามย้อนก็คือแล้วการที่นายอิบรอฮีมมีความเชื่อเรื่องหลักพื้นฐานสำคัญเหมือนกับก็อดยานี และจะตัดสินว่าอย่างไร
5. บางคนอ้างว่าถูกใส่ร้าย ถูกอธรรมมาหลายสิบปี ความจริงก็คือ
- ถ้าเขาถูกใส่ร้าย ทำไมต้องประกาศเตาบัต หรืออ้างว่าได้แก้ไขความผิดต่างๆแล้ว ทำไมไม่ยืนหยัดต่อสู้ต่อไปเพื่อพิสูจน์ว่าความเชื่อของท่านถูกต้องตามแนวทางแห่งอัลกุรอาน
- คนที่บิดเบือนหลักการศาสนาคือผู้อธรรมหมายเลขหนึ่ง
- หน้าที่ของผู้รู้ ต้องปกป้องกุรอาน และซุนนะห์ แต่กลับมีการกล่าวหาว่าคณาจารย์ที่ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่าเป็นผู้อธรรม ทั้งที่ข้อมูลที่นำเสนอนั้นหยิบยกมาจากข้อความที่ปรากฏอยู่จริงในกุรอานมะญีด ฯลฯ อีกทั้งยังมีการจัดงานหาคนมาพูดแก้ตัวว่า ไม่เป็นกอดิยานีย อันที่จริงเจ้าของหนังสือเล่มดังกล่าวจะเป็นกลุ่มใดไม่สำคัญ แต่ทว่าเขาได้ทำลายหลักการศรัทธาทั้ง6ประการ บิดเบือนอัลกุรอาน ซุนนะห์ แต่ไม่มีใครกล่าวถึงเลยสักประเด็น แถมชมเชยยกย่องเจ้าของหนังสือดังกล่าวเสียอีก
7. บางคนออกมายอมรับแล้วว่า มีผิดจริงอย่างที่เขาว่า แต่ก็ยังโฆษณาขายกันอยู่ ใครจะรับผิดชอบในความผิด ที่เป็นผลพวงจากการปกป้องของคนเหล่านั้น อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการคดโกง หลอกหลวง ประชาชนหรอกหรือ
8. จากตัวอย่างข้อความที่หยิบยกมา จึงอยากถามว่า การที่นายริฎอ สมะดีออกมารับรองว่านายอิบรอฮีม กุเรชี ‘แม้จะมีข้อผิดพลาดและแนวทางเกี่ยวกับความหมายอัลกุรอานที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในกลุ่มซุนนะห์ ที่เคยมีบทบาทเผยแพร่อิสลามอันเที่ยงธรรม’ (www. Ridasamadi.org คำถามที่ 1038 วันที่13 ตุลาคม 2548) ใช้มาตรฐานใดมิทราบ อารมณ์หรือหลักการ
- คนที่ทำลายหลักการศรัทธาทั้ง6ประการ
- คนที่พูดว่าหรือเคยพูดว่านบีอีซามีพ่อ มีน้องชาย น้องหญิง
- นบีอีซาตายแล้วในโลกนี้ ไม่ได้ลอยอยู่บนอยู่บนฟ้า ฯลฯ
- การเชื่อว่านบีอีซาเกิดมามีพ่อก็ดี ไม่มีพ่อก็ดี ไม่ได้ทำให้พ้นศาสนาอิสลาม
- มะสีห และมะห์ดีนั้นจะใช่มิรซาหรือไม่ ข้อนเป็นปัญหา
- ไม่มีนาซิคมันซูคในอัลกุรอาน
- ไม่มีการประหารชีวิตในผู้ตกมุรตัด
- นบีอีซาเป่านกเก๊
- นบีอิรอฮีมมิได้ถูกโยนลงกองไฟ
- อะฮ์มะดียะห์ทำงาน…ในการเผยแพร่ศาสนา
- เป็นสมาชิกกลุ่มกอดยานีย์อะฮ์มะดียะห์
- เป็นตัวแทนจำหน่ายวารสารอิสลามิครีวิวของกลุ่มก็อดยานีย์อะฮ์มะดียะห์
นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น (ดูรายละเอียดกรุณาอ่านหนังสือความเชื่อที่แตกต่างโดยท่านอาจารย์อิสหาก พงษ์มณี)
- นี่หรือคือคนที่เผยแพร่ซุนนะห์และศาสนาอิสลามและศาสนาอิสลามอันเที่ยงธรรม
- นี่คือความอธรรมและคดโกงหลอกลวงพี่น้องมุสลิมที่ไม่มีความรู้ในเรื่องศาสนา อย่างน่าเกลียดที่สุด
9. เรื่องที่แปลกประหลาดที่สุดก็คือ คนที่เผยแพร่ลัทธิอุบาทกลับได้รับการยกย่อง เชิดชู ปกป้อง ส่วนคนที่ปกป้องอัลกุรอานกลับกลายเป็นพวกโกหก ใส่ร้ายป้ายสี นินทาคนตาย อธรรม เป็นพวกหมาเห่าหมาหอน ส่วนคนที่บิดเบือนอัลกุรอานกลายเป็นผู้ถูกอธรรม นี่หรือความยุติธรรม ที่บางคนถามหา

อัลลอฮ์ตะอาลาได้ตรัสว่า

هَا أَنْتُمْ هَؤُلاءِ جَادَلْتُمْ عَنْهُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا فَمَنْ يُجَادِلُ اللَّهَ عَنْهُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَمْ مَنْ يَكُونُ عَلَيْهِمْ وكيلا

‘พึงรู้เถิดว่า พวกเจ้านี่แหละได้โต้เถียงแทนพวกเขา ในโลกดุนยานี้ แล้วผู้ใดเล่าที่จะไปโต้เถียงกับอัลลออ์แทนพวกเขาในวันกิยามะห์ หรือใครเล่าจะเป็นผู้รับมอบหมาย (ให้แก้ต่างแทนเขา)’21

ท่านร่อซู้ลซอลลอลลอฮ์อะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า
‏عن ‏ ‏أَبِي هُرَيْرَةَ أ‏ َنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَالَ ‏ ‏مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى كَانَ لَهُ مِنْ الْأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنْ اتَّبَعَهُ لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا وَمَنْ دَعَا إِلَى ضَلَالَةٍ كَانَ عَلَيْهِ مِنْ الْإِثْمِ مِثْلُ آثَامِ مَنْ تَبِعَهُ لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ آثَامِهِمْ شَيْئًا

ท่านอบูฮูรอยเราะห์รายงานว่า ท่านร่อซูลซอลลัลลอฮ์อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดเรียกร้องเชิญชวนไปสู่ทางนำ เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามเขา มิได้ลดหย่อนเลยแม้แต่น้อย และผู้ใดเรียกร้องสู่สิ่งที่หลงผิด เขาจะได้รับบาปเท่ากับบาปของผู้ที่ปฎิบัติตามเขา โดยไม่ได้ลดหย่อนเลยแม้แต่น้อยเช่นกัน22
ท่านอัลฟุฎอยด์ บินอิยาฎกล่าวว่า

من عظّم صاحب بدعة فقد أعان على هدم الإسلام

‘ผู้ใดยกย่องเชิดชูพวกอุตริแน่แท้เขาผู้นั้น ได้ช่วยทำลายอิสลามเสียแล้ว’23

21 อันนิซาอ์ อายะห์ที่109
22 มุสลิม
23 ชัรฮุซซุนนะห์ หน้าที่139

ท่านเชคบักร อบูเซดได้กล่าวว่า

وقد ابتلينا بهذا الزمان بأقوام على هذا المنوال يعظمون المبتدعة وينشرون مقالاتهم، ولا يحذرون من
سقطاتهم وما هم عليه من الضلال، واحذروا أبا الجهل المبتدع هذا. نعوذ بالله من الشقاء وأهله

ในยุคปัจจุบันนี้พวกเราถูกทดสอบ ให้ต้องเผชิญกับคนประเภทนี้ ที่ยกย่องเชิดชูพวกอุตริแหวกแนวทั้งหลาย และเผยแพร่ข้อเขียน…ของพวกเขาเหล่านั้น แทนที่จะเตือนในความผิดและความหลงผิดของพวกเหล่านั้น กลับไม่เตือน
ดังนั้นขอให้พวกท่านทั้งหลายจงระวังจอมโฉดเขลา จอมอุตริให้ดี เราขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ให้พ้นจากความหลงผิดและพวกที่หลงผิดด้วยเถิด24

24 ฮัจรุลมุบตะเดียะ หน้าที่47
1 คัดจากหนังสืออิจมาอุลอุลามาอิ อะลัล ฮัจริวัตตะฮ์ชีรมินอะฮ์ลิลอะฮ์วาอิ โดยเชคคอลิดอัซซอฟิย์รีย์
[2] บันทึกโดยอิหม่ามอะห์มัด (3/387) อัดดาริมีย์ (1/115) เป็นฮะดีษฮะซัน ดูอัลอิรวาอุ(6/338-340)
[3] อัดดุรอรุซซุนนียะห์( 3/211)
[4] อัลอิสติกอมะห์ 1/108
[5] อัลฮุจยะห์ฟีบะยานิลมะฮัจยะห์ 1/242
[6] ญะมีอุบะยานิลอิลม 2/942
[7] ฮิดายะตุลอะรียบิลอัมญัด 38
[8] อัซซิยัร (11/231)
[9] อัซซุนนะห์( 3/511)
[10] อัซซุนนะห์ (3/511)
[11] ลัมอะตุลเอี้ยติกอด 33
[12] อัลอาด้าบอ้ชชัรอียะห์ 1/232
[13] อัตตุรุกุลฮุกมียะห์(233-235)
[14] อัลอักดุซซะมีน( 2/180-181) ตำราที่อิบนุคอลดูนกล่าวถึงเช่น อัลฟูซูซ อัลฟูตูฮาตของอิบนุอะร่อบีย์อัตตออีย์ ตลอดจนตำราของอิบนุซับอีน อิบนุฟาริฎ ฯลฯ ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นอุตริและเป็นกุฟุร
[15] อัลญะว่าฮิรุดดุรอร ( 2/637-638)
[16] ดูอัลเมี้ยยารุลมุ่อัรรอบ (12/185)
[17] เป็นที่ทราบกันว่าอบูตอลิบผู้เป็นลุงของท่านนบี –ซอลลอลอฮุอะลัยฮีวะซัลลัม-นั้นเป็นกาเฟรผู้ปฏิเสธมิได้เป็นมุอมินแต่อย่างใด
[18] อัลฮัจวิบะตุ้ลมุฟีดะห์ น.70
[19] ดูชัรฮุรซุนนะห์ ของอิมามบัรบะฮารีย์ ฮัจรุลมับตะเดียอ์ –เชคบักรอบูเชค อัลเอี้ยะติซอม- อิมามซาติบีย์ อัลอิบานะห์ อิบนุบัฏฏอฮ์ ฯลฯ
[20] หนังสือเล่มนี้ถึงแม้จะไม่มีการพิมพ์เผยแพร่อีก แต่เจ้าของหนังสือก็ไม่เคยประกาศยกเลิก เรียกเก็บ หรือชี้แจงความผิดต่างๆที่ปรากฏในหนังสือเล่มดังกล่าว ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าเขาเลิกพิมพ์และหายากเต็มที ก็เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้

.............................

โดย อ.คอลิด ปานตระกูล
Thaisalafi تايلندي سلفي
เผยแพร่ แก้ไข ให้ความรู้ ตามแนวทางซะลัฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น