อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กิจวัตรที่น่าปฏิบัติ สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนในเราะมะฎอน


 
            ผู้หญิงเมื่อเห็นประจำเดือนมาในช่วงเดือนเราะมะฎอน ก็ต่างนั่งอย่างโศกเศร้าและเสียใจกับโอกาสที่จะแสวงหาความโปรดปรานและความดีงาม ทว่าเราขอกล่าวกับพวกเธอทั้งหลายที่ประสบกับสภาวะเช่นนี้ว่า “อย่าได้กลุ้มใจไปเลย”
เธออย่าได้เศร้าโศกเสียใจ เพราะสิ่งนี้เป็นการกำหนดของอัลลอฮฺต่อหญิงสาวลูกหลานอาดัมทุกคน ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ในช่วงประกอบพิธีหัจญ์ ว่า ในครั้งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้เข้ามาหาท่านหญิงซึ่งในขณะนั้นท่านหญิงกำลังร้องไห้ ท่านนบีได้กล่าวว่า
« مَا لَكِ أَنَفِسْتِ ؟  قَالَتْ : نَعَمْ ، قَالَ :  إِنَّ هَذَا أَمْرٌ كَتَبَهُ اللَّهُ عَلَى بَنَاتِ آدَمَ » [البخاري برقم 5148].
ความว่า เธอเป็นอะไรหรือ เลือดประจำเดือนของเธอมาใช่มั้ย ?” ท่านหญิงตอบว่า ใช่ค่ะ ท่านนบีจึงกล่าวว่า แท้จริงมันเป็นเรื่องที่อัลลอฮฺทรงกำหนดสำหรับหญิงสาวลูกหลานอาดัมทุกคน  (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 5148)

เธออย่าได้กลุ้มใจไปเลย... เพราะในการบันทึกของท่านอิมามอัล-บุคอรีย์ในหนังสือเศาะฮีหฺของท่าน มีรายงานจากท่านอบู มูซา เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« إِذَا مَرِضَ الْعَبْدُ أَوْ سَافَرَ كُتِبَ لَهُ مِثْلُ مَا كَانَ يَعْمَلُ مُقِيمًا صَحِيحًا » [البخاري برقم 2834].
ความว่า เมื่อบ่าวคนหนึ่งได้เจ็บป่วยหรือเดินทาง อัลลอฮฺจะบันทึกผลบุญสำหรับเขา เท่าที่เขาเคยปฏิบัติการงานนั้นตอนที่ไม่ได้เดินทางและไม่มีอาการเจ็บป่วย (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2834)

แน่นอนที่สุดว่าการมีประจำเดือนของผู้หญิงนั้นถือเป็นความเจ็บป่วยที่ทำให้เธอถูกยับยั้งจากการปฏิบัติอะมัลต่างๆในช่วงที่เธอมีสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการทำอิบาดะฮฺ ซึ่งการปฏิบัติข้อสั่งใช้ของอัลลอฮฺที่ได้ปฏิบัติเป็นปรกติวิสัยนั้น ไม่ได้ถูกยับยั้งไม่ให้ปฏิบัติเว้นแต่เมื่อมีประจำเดือน ด้วยเหตุนี้สำหรับเธอแล้วจึงยังคงได้รับผลบุญเท่าที่เธอเคยปฏิบัติการงานนั้นในขณะที่เธอมีสุขภาพที่ดี
            เธออย่าได้กลุ้มใจไปเลย... เพราะท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยป่าวประกาศแก่บรรดา
เศาะหาบะฮฺของท่านในขณะที่พวกเขาทำญิฮาดไว้ว่า สำหรับผู้ใดที่มีความกระหายที่จะทำญิฮาดด้วยความสัจจริง แต่ไม่มีสิ่งใดที่ได้หยุดยั้งเขานอกจากเหตุจำเป็นบางประการ แน่นอนที่สุดสำหรับเขาแล้วก็จะได้ผลบุญเหมือนคนที่มีโอกาสออกไปทำ
ญิฮาดโดยไม่มีความแตกต่างใดๆ ทั้งสิ้น ในเรื่องนี้มีบันทึกจากท่านอิมามอัล-บุคอรีย์ จากหะดีษที่รายงานโดยท่านอะนัส บิน มาลิก เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ أَقْوَامًا بِالْمَدِينَةِ خَلْفَنَا مَا سَلَكْنَا شِعْبًا وَلَا وَادِيًا إِلَّا وَهُمْ مَعَنَا فِيهِ، حَبَسَهُمْ الْعُذْرُ» [البخاري برقم 2684].
ความว่า “มีชายจำนวนมากในนครมะดีนะฮฺที่อยู่ข้างหลังเรา ซึ่งพวกเราไม่ได้ออกเดินทางขึ้นเขาลงห้วย เว้นแต่ว่าพวกเขาจะได้ผลบุญเหมือนพวกเราด้วย นั่นเป็นเพราะอุปสรรคขัดขวางพวกเขาไว้” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2684)
(ในสายรายงานอื่น -ผู้แปล- ซึ่งบันทึกโดยท่านอิมามมุสลิม จากหะดีษที่รายงานโดยท่านอับดุลลอฮฺ ญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า) 
«إِنَّ بِالْمَدِينَةِ لَرِجَالًا مَا سِرْتُمْ مَسِيرًا وَلَا قَطَعْتُمْ وَادِيًا إِلَّا كَانُوا مَعَكُمْ حَبَسَهُمْ الْمَرَضُ» [مسلم برقم 1911].
ความว่า “แท้จริงที่มะดีนะฮฺนั้นมีบุรุษหลายคน พวกเขาไม่ได้เดินทางและข้ามหุบเหวใดๆ แต่พวกเขามีส่วนได้รับผลตอบแทนเหมือนพวกท่าน เพราะความเจ็บป่วยเป็นอุปสรรคขัดขวางพวกเขาไว้” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1911)

อย่างไรก็ตาม มีเรื่องบางเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ นั้นคือมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่สูญเสียเวลาของเธอไปกับสิ่งที่ทำให้เธอมีความห่างไกลจากจิตวิญญาณหรือความประเสริฐของเดือนนี้ บางคนในหมู่พวกเธอหมกหมุ่นไปกับการดูโทรทัศน์หรืออื่นจากนี้ โดยที่นึกคิดไปเองว่ามันเป็นสิ่งที่อนุญาตสำหรับเธอที่จะผลาญเวลาที่มีอยู่ไปกับสิ่งที่ทำให้เธอห่างไกลจากจิตวิญญาณของเดือนนี้ ซึ่งผลของมันนั้นคือ จะทำให้พวกเธอมีความรู้สึกที่ไม่อยากปฏิบัติอิบาดะฮฺบางอย่างที่เคยทำก่อนหน้านี้หลังจากที่เธอสะอาดจากการมีประจำเดือนแล้ว และเป็นความจริงที่ว่ามีผู้หญิงบางคนที่ได้ล้มเลิกจากการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่างๆ ที่เธอเคยทำก่อนหน้าที่จะมีประจำเดือน –ขออัลลอฮฺทรงให้เราห่างไกลจากพฤติกรรมเช่นนั้นด้วยเถิด-

พี่สาวและน้องสาวของฉัน
ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงได้จัดเตรียมนำเสนอกิจวัตรต่างๆสำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ในเดือนเราะมะฎอน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เธอตกอยู่ในสภาพที่ล้มเลิกจากการปฏิบัติการงานต่างๆ ดังที่ผู้หญิงหลายคนเป็นอยู่หลังจากที่สะอาดจากการมีประจำเดือนแล้ว
และเพื่อเป็นการรักษาจิตวิญญาณหรือความประเสริฐของเดือนนี้ให้คงอยู่กับเธอไปตลอดทั้งเดือนนี้แม้ในช่วงที่มีประจำเดือนก็ตาม
และเพื่อที่เธอจะได้ไม่เสียโอกาสในการเก็บเกี่ยวผลบุญที่มากมาย แม้ในช่วงที่เธอมีประจำเดือน
และเป็นการตอกย้ำแก่เธอว่า มีอิบาดะฮฺอีกหลายๆ อย่างที่เธอสามารถทำได้ แม้ในช่วงที่เธอมีประจำเดือน
และนี่คือกิจวัตรที่เรียบง่ายและมีความเล็กน้อย และเราได้เลือกที่จะทำให้กิจวัตรในแต่ละวันของมุสลิมได้จำแนกออกจากกิจวัตรที่ต้องทำในครัวเรือน
ซึ่งสิ่งที่ขอตอกย้ำ ณ ตรงนี้คือ จำเป็นที่ต้องตระหนักว่ากิจวัตรต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้จำกัดให้มุสลิมต้องอ่านอัลกุรอานและซิกิรฺต่ออัลลอฮฺในเวลาหนึ่งเวลาใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งการซิกิรฺต่ออัลลอฮฺและอ่านอัลกุรอานนั้นสามารถปฏิบัติได้ในทุกสถานที่และเวลา 





กิจวัตรที่น่าปฏิบัติหลังจากตะวันขึ้น
อ่านดุอาอ์รับอะซานเวลาละหมาดศุบุหฺ ด้วยดุอาอ์ที่ว่า
«اللهم رَبَّ هَذِهِ الدَّعوَةِ التَّامَّةِ، وَالصَّلاةِ القَائمَةِ، آتِ مُـحَـمَّداً الوَسِيلَةَ وَالفَضِيلَةَ، وَابْعَثْهُ مَقَاماً مَـحْـمُوداً الَّذِي وَعَدْتَـهُ» [البخاري برقم 614، 4719]
อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ฮาซิฮิดดะอฺวะติตต๊ามมะฮฺ วัศเศาะลาติล กออิมะฮฺ อาติ มุหัมมะดะนิลวะสีละฮฺ วัลฟะฎีละฮฺ วับอัษฮุ มะกอมัน มะหฺมูดะนิลละซี วะอัดตะฮฺ
ความว่า โอ้อัลลอฮฺ พระเป็นเจ้าแห่งการเชิญชวนอันสมบูรณ์ และการละหมาดที่กำลังจะปฏิบัติอยู่นี้ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความดี ประเสริฐ และขอพระองค์ทรงโปรดนำมุหัมมัดสู่ตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ด้วยเถิด (ท่านนบีกล่าวว่า ใครที่กล่าวเช่นนี้) เขาจะได้รับการชะฟาอะฮฺจากฉันในวันกิยามะฮฺ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 614,4719)

ฉกฉวยช่วงเวลาระหว่างอะซานกับอิกอมะฮฺด้วยการขอดุอาอ์และอ่านอัซการยามเช้า ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« الدُّعَاءُ لَا يُرَدُّ بَيْنَ الْأَذَانِ وَالْإِقَامَةِ» [الترمذي برقم 212]
ความว่า การขอดุอาอ์ระหว่างอะซานกับอิกอมะฮฺจะไม่ถูกผลักไส (หะดีษหะสัน เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 212)

ปลุกสมาชิกในครอบครัวเพื่อละหมาดศุบุหฺ เพื่อขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญนั้น
พยายามส่งเสริมให้สามีและลูกๆ ละหมาดศุบุหฺที่มัสญิดในรูปแบบญะมาอะฮฺ พร้อมทั้งกระตุ้นพวกเขาให้ไปละหมาดตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งผลบุญของคำแนะนำนี้คือ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« وَلَوْ يَعْلَمُونَ مَا فِي الْعَتَمَةِ وَالصُّبْحِ لَأَتَوْهُمَا وَلَوْ حَبْوًا» [البخاري برقم 624]
ความว่า หากแม้นพวกเขารู้ถึง(ความดีงาม)ในละหมาดอิชาอ์และศุบหฺ  แน่แท้พวกเขาจะต้องไปละหมาดมันทั้งสองแม้นว่าพวกเขาจะต้องคืบคลานก็ตาม (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 624)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า
« بَشِّرْ الْمَشَّائِينَ فِي الظُّلَمِ إِلَى الْمَسَاجِدِ بِالنُّورِ التَّامِّ يَوْمَ الْقِيَامَةِ» [أبو داود برقم 561]
ความว่า “จงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่เดินท่ามกลางความมืดมิดไปยังมัสญิด ว่าในวันกิยามะฮฺนั้นเขาจะได้รับแสงรัศมีที่เจิดจรัสสมบูรณ์ยิ่ง(บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 561)

ส่งเสริมให้สามีและลูกๆ ละหมาดสุนัตก่อนศุบุหฺในบ้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเจริญรอยตามแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและได้รับผลบุญในส่วนนี้
ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«رَكْعَتَا الْفَجْرِ خَيْرٌ مِنْ الدُّنْيَا وَمَا فِيهَا» [مسلم برقم 96]
ความว่า สองร็อกอะฮฺก่อนศุบุหฺดียิ่งกว่าโลกนี้และสิ่งที่มีอยู่ในมัน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 96)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า
«مَنْ صَلَّى اثْنَتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً فِي يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ بُنِيَ لَهُ بِهِنَّ بَيْتٌ فِي الْجَنَّةِ» [مسلم برقم 728]
ความว่า ผู้ใดที่ละหมาดสุนัต 12 ร็อกอะฮฺในช่วงหนึ่งวันและคืน อัลลอฮฺจะสร้างบ้านแก่เขาหลังหนึ่งด้วยละหมาดนั้นในสวนสวรรค์ (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 728)

และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า
« أَفْضَلُ الصَّلَاةِ صَلَاةُ الْمَرْءِ فِي بَيْتِهِ إِلَّا الْمَكْتُوبَةَ » [البخاري برقم 698، ومسلم برقم 781]
ความว่า การละหมาดที่ดีที่สุดของคนคนหนึ่งนั้นคือการละหมาดในบ้านของเขา ยกเว้นการละหมาดฟัรฎู(ซึ่งที่มัสญิดประเสริฐที่สุด) (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 698 มุสลิม หมายเลข 781)

หมั่นตรวจสอบให้มีเจตนาที่ดีตลอดทั้งวันในเดือนเราะมะฎอน

กิจวัตรที่น่าปฏิบัติหลังจากออกจากมัสญิด
กระตุ้นสมาชิกในครอบครัวให้ขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญในการแสวงหาริซกีหรือปัจจัยยังชีพที่หะลาลและแสวงหาความรู้ที่ถูกต้อง

ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« مَا أَكَلَ أَحَدٌ طَعَامًا قَطُّ خَيْرًا مِنْ أَنْ يَأْكُلَ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ ، وَإِنَّ نَبِيَّ اللَّهِ دَاوُد عَلَيْهِ السَّلاَم كَانَ يَأْكُلُ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ » [البخاري برقم 1966]
ความว่า “ผู้ใดผู้หนึ่งจะไม่รับประทานอาหารใดๆ ที่ประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้หามาด้วยการทำงานจากน้ำมือของตัวเอง และแท้จริงนบีของอัลลอฮฺนั้นคือท่านนบีดาวูดจะรับประทานอาหารด้วยการทำงานจากน้ำมือของตน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1966)
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า
« مَنْ سَلَكَ طَرِيقًا يَلْتَمِسُ فِيهِ عِلْمًا سَهَّلَ اللَّهُ لَهُ بِهِ طَرِيقًا إِلَى الْجَنَّةِ» [مسلم برقم 2699]
ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ อัลลอฮฺจะทรงทำให้หนทางไปสู่สวรรค์สะดวกง่ายดายแก่เขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2699)
กระตุ้นสมาชิกในครอบครัวทุกคนให้หมั่นรำลึกถึงอัลลอฮฺตลอดทั้งวัน

จงขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญในการตักเตือนเหล่านี้ ด้วยการวางเป้าหมายเพื่อการฏออะฮฺต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์

ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿ أَلَا بِذِكۡرِ ٱللَّهِ تَطۡمَئِنُّ ٱلۡقُلُوبُ ٢٨ [الرعد: ٢٨
ความว่า “พึงทราบเถิด ! ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ” (สูเราะฮฺ อัร-เราะอฺดุ : 28 )

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَحَبُّ الأَعْمَالِ إِلَى اللَّهِ أَوْ أَفْضَلُ  أَنْ تَمُوتَ وَلِسَانُكَ رَطْبٌ مِنْ ذِكْرِ اللَّهِ» [البخاري في خلق أفعال العباد برقم 89]
ความว่า การงานที่เป็นที่รักและประเสริฐยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ คือการตายในสภาพที่ลิ้นของท่านยังคงเปียกชุ่มไปด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ในค็อลกุ อัฟอาล อัล-อิบาด หมายเลข 89)
กระตุ้นสมาชิกในครอบครัวละหมาดสุนัตฎุฮา แม้จะเป็นเพียงแค่สองร็อกอะฮฺก็ตามก่อนที่จะออกจากบ้าน
ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يُصْبِـحُ عَلَى كُلِّ سُلامَى مِنْ أَحَدِكُمْ صَدَقَةٌ، فَكُلُّ تَسْبِيحَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـحْـمِيدَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـهْلِيلَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـكْبِيرَةٍ صَدَقَةٌ، وَأَمْرٌ بِالمعْرُوفِ صَدَقَةٌ، وَنَـهْيٌ عَنِ المنْكَرِ صَدَقَةٌ، وَيُـجْزِئُ مِنْ ذَلِكَ رَكْعَتَانِ يَرْكَعُهُـمَا من الضُّحَى» [مسلم برقم 720].
ความว่า "ในแต่ละเช้านั้นพวกท่านแต่ละคนมีหน้าที่ต้องจ่ายเศาะดะเกาะฮฺสำหรับทุกๆ ข้อต่อในร่างกาย การตัสบีหฺ(กล่าว สุบหานัลลอฮฺ)ครั้งหนึ่งก็ถือเป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ การตะห์มีด(กล่าว อัลหัมดุลิลลาฮฺ)ครั้งหนึ่งก็ถือเป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ การสั่งเสียให้ทำความดีก็เป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ การห้ามจากความชั่วก็เป็นหนึ่งเศาะดะเกาะฮฺ และเป็นการทดแทนอย่างพอเพียงสำหรับสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดด้วยการละหมาดฎุหาสองร็อกอะฮฺ"  (บันทึกโดยมุสลิม 720)
ออกไปทำงาน หรือไปมหาวิทยาลัย และโรงเรียน พร้อมกับตั้งใจว่าเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนและผลบุญจากอัลลอฮฺ
ดังที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« مَا أَكَلَ أَحَدٌ طَعَامًا قَطُّ خَيْرًا مِنْ أَنْ يَأْكُلَ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ ، وَإِنَّ نَبِيَّ اللَّهِ دَاوُد عَلَيْهِ السَّلاَم كَانَ يَأْكُلُ مِنْ عَمَلِ يَدِهِ » [البخاري برقم 1966]
ความว่า “ผู้ใดผู้หนึ่งจะไม่รับประทานอาหารใดๆ ที่ประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้หามาด้วยการทำงานจากน้ำมือของตัวเอง และแท้จริงนบีของอัลลอฮฺนั้นคือท่านนบีดาวูดจะรับประทานอาหารด้วยการทำงานจากน้ำมือของตน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1966)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า
« مَنْ سَلَكَ طَرِيقًا يَلْتَمِسُ فِيهِ عِلْمًا سَهَّلَ اللَّهُ لَهُ بِهِ طَرِيقًا إِلَى الْجَنَّةِ » [مسلم برقم 2699]
ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ อัลลอฮฺจะทรงทำให้หนทางไปสู่สวรรค์สะดวกง่ายดายแก่เขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2699)
หมั่นรำลึกถึง
อัลลอฮฺตลอดทั้งวัน
ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿ أَلَا بِذِكۡرِ ٱللَّهِ تَطۡمَئِنُّ ٱلۡقُلُوبُ ٢٨ [الرعد: ٢٨
ความว่า “พึงทราบเถิด ! ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ” (สูเราะฮฺ อัร-เราะอฺดุ : 28 )

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَحَبُّ الأَعْمَالِ إِلَى اللَّهِ أَوْ أَفْضَلُ  أَنْ تَمُوتَ وَلِسَانُكَ رَطْبٌ مِنْ ذِكْرِ اللَّهِ» [البخاري في خلق أفعال العباد برقم 89]
ความว่า การงานที่เป็นที่รักและประเสริฐยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ คือการตายในสภาพที่ลิ้นของท่านยังคงเปียกชุ่มไปด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ในค็อลกุ อัฟอาล อัล-อิบาด หมายเลข 89)

ตัวอย่างบทซิกิรที่น่าอ่าน
(1)
سبحان الله وبحمده، أستغفر الله وأتوب إليه
สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ อัสตัฆฺฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุอิลัยฮฺ
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มักจะกล่าวเป็นบ่อยครั้งว่า
 سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ، أَسْتَغْفِرُاللهَ وَأَتُوبُ إِلَيْهِ
สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ อัสตัฆฺฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุอิลัยฮฺ
(มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺและด้วยการสรรเสริญแด่พระองค์ ฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ และฉันขอกลับไปยังพระองค์)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าอีกว่า ฉันได้กล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ทำไมฉันมักเห็นท่านอ่านเป็นบ่อยครั้งว่า สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ อัสตัฆฺฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุอิลัยฮฺ ? ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ฉันได้รับแจ้งจากพระผู้อภิบาลของฉันว่า ฉันจะเห็นสัญลักษณ์ของประชาชาชาติของฉัน ซึ่งเมื่อฉันได้เห็นมันแล้ว ฉันจึงมักอ่านเป็นบ่อยครั้งว่า สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ อัสตัฆฺฟิรุลลอฮฺ วะอะตูบุอิลัยฮฺ ซึ่งแท้จริงฉันได้เห็นมัน เมื่อความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ และการพิชิต(เมืองมักกะฮฺ)ได้มาถึงแล้ว และเจ้าได้เห็นประชาชนเข้าในศาสนาของอัลลอฮ์เป็นหมู่ๆ ดังนั้นจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้า และจงขออภัยโทษต่อพระองค์เถิด แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษเสมอ (สูเราะฮฺอัน-นัศรฺ : 1-3) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 754)

(2)
أستغفر الله العظيم من جميع الذنوب
وأتوب إليه
อัสตัฆฺฟิรุลลอฮฺ อัล-อะซีม มินญะมีอิซซุนูบ วะอะตูบุอิลัยฮฺ
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَا أَيُّهَا النَّاسُ تُوبُوْا إِلَى اللهِ ، فَإنِّي أَتُوبُ فِي  اليَوْم إِلَيْهِ مِئَةَ مَرَّةٍ» [مسلم برقم 2702]
“โอ้ผู้คนทั้งหลาย พวกท่านจงขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺเถิด เพราะแท้จริงฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺในหนึ่งวัน 100 ครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2702) 

(3)
سبحان الله وبحمده سبحان الله العظيم
สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ
สุบหานัลลอฮฺ อัล-อะซีม
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า สองคำที่เบาแก่ลิ้น(ที่จะกล่าว) หนักบนตาชั่ง(ในวันกิยามะฮฺ) เป็นที่รักแก่อัร-เราะหฺมาน(อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา) นั้นคือ
سُبْحَانَ اللهِ وَبِحَمْدِهِ، سُبْحَانَ اللهِ الْعَظِيمِ
สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ สุบหานัลลอฮฺ อัล-อะซีม(มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺและด้วยการสรรเสริญแด่พระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด)” 
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6682 และมุสลิม หมายเลข 2694)

(4)
لا إله إلا أنت سبحانك إني كنت من الظالمين
ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ สุบหานะกะ อินนีย์กุนตุ มินนัซซอลิมีน
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า ดุอาอ์ของซินนูน (หมายถึงท่านนบี ยูนุส อะลัยฮิสลาม) เมื่อครั้นที่ท่านขอขณะอยู่ในท้องปลาวาฬ คือ
«لا إلٰـهَ إلَّا أَنْتَ سُبْـحَانَكَ إنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِـمِينَ»
ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ สุบหานะกะ อินนีย์กุนตุ มินนัซซอลิมีน
(ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งเถิดพระองค์ผู้เป็นเจ้า แท้จริงข้าเป็นหนึ่งในบรรดาผู้อธรรม)
แท้จริง ไม่มีมุสลิมคนใดที่กล่าวมันเมื่อเกิดเรื่องใดขึ้นก็ตาม เว้นแต่อัลลอฮฺย่อมจะต้องตอบรับแก่เขา (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 3500)

(5)
سبحان الله والحمد لله ولا إله إلا الله
والله أكبر
สุบหานัลลอฮฺ วัลหัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า การที่ฉันกล่าว
سُبْـحَانَ اللهِ، وَالحَـمْدُ للهِ، وَلا إلٰـهَ إلَّا اللهُ، وَاللهُ أَكْبَرُ
สุบหานัลลอฮฺ วัลหัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัร
(มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺ การสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่)
นั้นย่อมเป็นที่รักแก่ฉันมากกว่าสิ่งที่ดวงอาทิตย์ได้ขึ้นมาเหนือมัน(หมายถึงโลกดุนยา)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2695)

และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า ถ้อยคำที่เป็นที่รักที่สุดแก่อัลลอฮฺนั้นมีสี่ถ้อยคำ นั้นคือ
سُبْـحَانَ اللهِ، وَالحَـمْدُ للهِ، وَلا إلٰـهَ إلَّا اللهُ، وَاللهُ أَكْبَرُ
“สุบหานัลลอฮฺ วัลหัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัรฺ”
(มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺ การสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก
อัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่)
ไม่เป็นปัญหาแก่ท่านว่าจะเริ่มกล่าวด้วยคำใดก่อนก็ได้ (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2137)

(6)
لا حول ولا قوة إلا بالله
ลาเหาละวะลา กูวะตะ อิลลาบิลลาฮฺ
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า โอ้
อับดุลลอฮฺ บิน ก็อยสฺ เอ๋ย
“จะให้ฉันบอกแก่ท่านถึงคลังหนึ่งในจำนวนคลังทั้งหลายของสวรรค์ไหม?” ฉันจึงตอบว่า “เอาสิ โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ” ท่านนบีจึงกล่าวว่า จงกล่าวเถิดว่า  
لَا حَولَ وَلَا قُوَّةَ إلَّا بِالله  
ลาเหาละวะลา กูวะตะ อิลลาบิลลาฮฺ
(ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ)
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6384 และมุสลิม หมายเลข 2704)

(7)
سبحان الله العظيم وبحمده
สุบหานัลลอฮิลอะซีม วะบิหัมดิฮฺ
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดกล่าวว่า   
سُبْـحَانَ الله العَظِيْمِ وَبِـحَـمْدِهِ
สุบหานัลลอฮิลอะซีม วะบิหัมดิฮฺ   
(มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยการสรรเสริญแด่พระองค์)
อัลลอฮฺจะปลูกต้นไม้แก่เขาหนึ่งต้นในสวนสวรรค์(บันทึกโดยอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “เศาะฮีหฺอัต-ตัรฆีบ” หมายเลข 1540)

(7)
اللهم صل على محمد وعلى آل محمد كما صليت على آل إبراهيم إنك حميد مجيد، اللهم بارك على محمد وعلى آل محمد كما باركت على آل إبراهيم إنك حميد مجيد
อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลามุหัมมัด วะอะลา อาลิมุหัมมัด กะมาศ็อลลัยตะอะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะหะมีดุมมะญีด , อัลลอฮุมมะบาริก อะลามุหัมมัด วะอะลาอาลิมุหัมมัด กะมาบาร็อกตะอะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะ หะมีดุมมะญีด
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า
﴿ إِنَّ ٱللَّهَ وَمَلَٰٓئِكَتَهُۥ يُصَلُّونَ عَلَى ٱلنَّبِيِّۚ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ صَلُّواْ عَلَيۡهِ وَسَلِّمُواْ تَسۡلِيمًا ٥٦ [الأحزاب : ٥٦
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺของพระองค์ขอพรอันประเสริฐแก่นบี โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! พวกเจ้าจงขอพรอันประเสริฐให้เขาและกล่าวทักทายเขาโดยคารวะ” (สูเราะฮฺ อัล-อะหฺซาบ : 56)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ صَلَّى عَلَيَّ صَلَاةً ،صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ بِهَا عَشْرًا».
ความว่า “ผู้ใดที่เศาะละวาต(ขอพรอันประเสริฐ)แก่ฉันหนึ่งครั้ง อัลอฮฺก็จะเศาะละวาตแก่เขา 10 ครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 582)

และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม
«لَا تَجْعَلُوا بُيُوتَكُمْ قُبُورًا ، وَلَا تَجْعَلُوا قَبْرِي عِيدًا ، وَصَلُّوا عَلَيَّ ، فَإِنَّ صَلَاتَكُمْ تَبْلُغُنِي حَيْثُ كُنْتُمْ ».
ความว่า “พวกท่านอย่าทำบ้านพวกท่านให้เป็นกุบูรฺ และอย่าเอากุบูรฺของฉันเป็นเทศกาลชุมนุม(วันตรุษ) และพวกท่านจงเศาะละวาต(ขอพรอันประเสริฐ)แก่ฉัน แท้จริง การเศาะละวาตของพวกท่านจะถึงไปยังฉัน ในทุกที่ที่ท่านอยู่” (ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ  หมายเลข 7226 )

กิจวัตรที่น่าปฏิบัติหลังจากเวลาซุฮฺริ
อ่านดุอาอ์รับอะซานเวลาละหมาดซุฮฺริ และฉกฉวยช่วงเวลาระหว่างอะซานกับอิกอมะฮฺด้วยการขอดุอาอ์
ท่องจำ หรือ อ่าน
อัลกุรอาน พร้อมกับใส่ถุงมือในขณะที่สัมผัสกับอั
ลกุรอาน (ดูฟัตวาในเรื่องนี้จากเว็บ www.islamqa.com หมายเลข 70403)
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«يُـقَالُ لِصَاحِبِ القُرآنِ اقْرَأ وَارْتَقِ وَرَتِّلْ كَمَا كُنْتَ تُرَتِّلُ فِي الدُّنْيَا، فَإنَّ مَنْزِلَكَ عِنْدَ آخِرِ آيَةٍ تَقْرَؤُهَا».
ความว่า (ในวันอาคิเราะฮฺ)จะถูกกล่าวแก่ผู้ที่อ่านอัลกุรอานว่า จงอ่านและจงเลื่อนขึ้นตามระดับขั้น(ในสวรรค์) และจงอ่านอย่างชัดถ้อยชัดคำ ดังที่ท่านเคยอ่านในโลกดุนยามาก่อน เพราะชั้นสวรรค์ที่เจ้าจะได้รับคืออายะฮฺสุดท้ายที่ท่านได้อ่านอัลกุรอานจบ (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ 2914 ท่านได้กล่าวว่าเป็นหะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ)
เข้าครัวและเตรียมอาหารไว้สำหรับละ
ศีลอดให้กับคนที่ถือ
ศีลอด พร้อมๆ กับขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญจากการงานที่ยิ่งใหญ่นี้
จากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
كُنَّا مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي السَّفَرِ فَمِنَّا الصَّائِمُ وَمِنَّا الْمُفْطِرُ، قَالَ فَنَزَلْنَا مَنْزِلًا فِي يَوْمٍ حَارٍّ أَكْثَرُنَا ظِلًّا صَاحِبُ الْكِسَاءِ، وَمِنَّا مَنْ يَتَّقِي الشَّمْسَ بِيَدِهِ، قَالَ فَسَقَطَ الصُّوَّامُ وَقَامَ الْمُفْطِرُونَ فَضَرَبُوا الْأَبْنِيَة وَسَقَوْا الرِّكَابَ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «ذَهَبَ الْمُفْطِرُونَ الْيَوْمَ بِالْأَجْرِ»
ความว่า  พวกเราได้ร่วมเดินทางกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งในหมู่พวกเราบางคนก็ถือศีลอด บางคนก็ละศีลอด ท่านเล่าต่อว่า เมื่อเราได้ถึงสถานที่หนึ่งซึ่งในวันนั้นอากาศร้อนมาก ส่วนใหญ่ในหมู่พวกเราที่อยู่ในร่มมากที่สุดคือบรรดาคนที่มีผ้าคลุม แต่บางคนก็ใช้มือบังแดด ท่านได้เล่าต่อว่า และแล้วคนที่ถือศีลอดก็ได้นั่งลง ส่วนคนที่ละศีลอดนั้นก็ยังยืนขึ้นแล้วสร้างที่พักชั่วคราวและให้น้ำแก่อูฐ ท่าน
เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “บรรดาผู้ที่ละศีลอดได้ผลบุญของพวกเขาแล้วในวันนี้(ได้รับผลบุญมากกว่า เพราะได้ช่วยเหลือผู้ที่ถือศีลอด)”  
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข
1119)
ฉกฉวยช่วงเวลาที่ตระเตรียมอาหารในครัวไปกับการแสวงหาความโปรดปรานและความดีงาม นั้นคือ
- หมั่นซิกรุลลอฮฺ(รำลึกถึงอัลลอฮฺ) ตัสบีหฺ อิสติฆฺฟาร และขอดุอาอ์
- ฟังอัลกุรอานหรือบรรยายจากเครื่องเล่นเสียงในขณะที่ตระเตรียมอาหารในครัว
- ฟังอัลกุรอานจากช่องวิทยุต่างๆ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า
﴿ أَلَا بِذِكۡرِ ٱللَّهِ تَطۡمَئِنُّ ٱلۡقُلُوبُ ٢٨ [الرعد: ٢٨]  
ความว่า “พึงทราบเถิด ! ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ” (สูเราะฮฺ อัร-เราะอฺดุ : 28 )
“ได้มีชายชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งกล่าวว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงแล้วบทบัญญัติของอิสลามนั้นดูมากมายแก่ฉันเหลือเกิน ดังนั้นขอท่านชี้แนะสิ่งหนึ่งที่ฉันจะได้ใช้ยึดมั่นกับมันด้วยเถิด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวตอบว่า
«لَا يَزَالُ لِسَانُكَ رَطْبًا مِنْ ذِكْرِ اللَّهِ»
"จงให้ลิ้นของท่านเปียกชุ่มด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺอยู่เสมอ" (หะดีษหะสัน บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 3372 และอิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 3793)
กระตุ้นลูกๆให้ละหมาซุฮฺริและละหมาดสุนัตเราะวาติบ(ก่อน-หลัง) แต่ถ้าพวกเขาไม่มีความสะดวกที่จะปฏิบัติมันในขณะที่อยู่ในโรงเรียน ก็จงขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญนั้นด้วยการส่งเสริมให้พวกเขาปฏิบัติในสิ่งที่เป็นสุนัตและสั่งสอนพวกเขาให้รักษาซึ่งการปฏิบัติสิ่งที่เป็นฟัรฎู(ละหมาดฟัรฎู)
นอนหลับพักผ่อน พร้อมๆ กับเนียตว่าเพื่อขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญจากอัลลอฮฺ
ท่านมุอาซฺ บินญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า “แท้จริงฉันได้ขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญในการนอนของฉัน เฉกเช่นที่ฉันได้ขวนขวายมันในช่วงเวลาที่ฉันตื่นขึ้นมาทำภารกิจต่างๆ”

กิจวัตรที่น่าปฏิบัติหลังจากเวลาอัศรฺ
ปลุกลูกๆเพื่อเตรียมตัวละหมาดอัศร
อ่านดุอาอ์รับอะซานเวลาละหมาดอัศรฺ
กระตุ้นให้สามีและลูกๆละหมาดอัศรฺในรูปแบบญะมาอะฮฺที่มัสญิด และรับฟังข้อเตือนสติที่มัสญิด แล้วให้อ่านอัลกุรอาน และกระตุ้นหญิงสาวให้ละหมาดในรูปแบบญะมาอะฮฺที่บ้านถ้าหากสามารถทำได้
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«من غدا إلى المسجد لا يريد إلا أن يتعلم خيرا، أو يُعَلِّمَهُ كان له كأجرِ حَاجٍّ تامًّا حجَّته»
ความว่า “ผู้ใดที่เดินไปยังมัสญิด ซึ่งเขาไม่ได้ต้องการสิ่งใด เว้นแต่เพื่อเรียนรู้สิ่งที่ดีงามหรือเพื่อสอนมันแก่คนอื่น สำหรับเขาแล้วย่อมได้รับผลบุญเหมือนการทำหัจญ์ที่สมบูรณ์” (บันทึกโดย อัฏ-เฏาะบะรอนีย์ หะดีษหะสัน เศาะฮีหฺ)
ขะมักเขม้นในการท่องจำหรืออ่านอัลกุรอาน พร้อมกับใส่ถุงมือในขณะที่สัมผัสกับอัลกุรอาน


กิจวัตรที่น่าปฏิบัติก่อนเข้าเวลามัฆริบเล็กน้อย
มุ่งมั่นในการขอดุอาอ์และอิสติฆฺฟารฺในระหว่างช่วงเวลาที่ทำงาน พร้อมๆ กับเนียตว่าเพื่อขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญในการตระเตรียมสำรับอาหาร
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«الدُعَاءُ هُوَ العِبَادَة»
ความว่า “ดุอาอ์คืออิบาดะฮฺ” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ตามทัศนะของอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือเศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ หมายเลข : 3407)
ขวนขวายผลตอบแทนและผลบุญในขณะที่แจกจ่ายอาหารที่ใช้ละศีลอดแก่เพื่อนบ้านและคนที่มีความจำเป็น  เป็นการสร้างความปิติยินดีแก่หัวใจของพวกเขา  ผูกไมตรีกับเพื่อนบ้าน ให้ความช่วยเหลือแก่พวก และหวังผลบุญในการให้อาหารแก่คนที่ถือศีลอด
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لَا يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئًا»
ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่เลี้ยงอาหารให้แก่ผู้ที่ละศีลอด เขาก็จะได้ผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ที่ถือศีลอดนั้น โดยที่ผลบุญของผู้ถือศีลอดนั้นไม่มีการลดหย่อนแม้แต่นิดเดียว” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ และ อิบนุ มาญะฮฺ เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ในทัศนะของอัล-อัลบานีย์ ในหนังสือ “เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ” หมายเลข 6415)

มีบันทึกในหนังสือเศาะฮีหฺอัล-บุคอรีย์ว่า
«كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ بِالْخَيْرِ وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ وَكَانَ جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السَّلَام يَلْقَاهُ كُلَّ لَيْلَةٍ فِي رَمَضَانَ حَتَّى يَنْسَلِخَ يَعْرِضُ عَلَيْهِ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْقُرْآنَ فَإِذَا لَقِيَهُ جِبْرِيلُ عَلَيْهِ السَّلَام كَانَ أَجْوَدَ بِالْخَيْرِ مِنْ الرِّيحِ الْمُرْسَلَةِ»
ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นบุคคลที่ใจบุญที่สุดในการทำความดีในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย และท่านจะมีความใจบุญมากที่สุดในเดือนเราะมะฎอน โดยเฉพาะเมื่อช่วงที่มลาอิกะฮฺญิบรีล อะลัยฮิสลาม ได้มาหาท่านในทุกๆ คืนของเดือนเราะมะฎอน และทั้งสองก็จะศึกษาอัลกุรอานด้วยกัน และเมื่อมลาอิกะฮฺญิบรีล อะลัยฮิสลาม มาหาท่าน ท่านนบีนั้นเป็นผู้ใจบุญในการทำความดี ยิ่งกว่าลมที่พัดเสียอีก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1803)

กิจวัตรที่น่าปฏิบัติหลังจากดวงอาทิตย์ตก
อ่านดุอาอ์รับอะซานเวลาละหมาดมัฆริบ
ส่งเสริมให้คนในครอบครัวละศีลอดด้วยกับผลรุฏ็อบ(อินทผลัมสด) หรือผลตะมัรฺ(อินทผลัมแห้ง) จำนวนคี่ หรือน้ำเปล่า และอบรมสั่งสอนพวกเขาให้ขวนขวายผลบุญด้วยการปฏิบัติตามสุนนะฮฺของท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมกล่าวดุอาอ์ละศีลอด
จากท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
«كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُفْطِرُ قَبْلَ أَنْ يُصَلِّيَ عَلَى رُطَبَاتٍ، فَإِنْ لَمْ تَكُنْ رُطَبَاتٍ فَتَمَرَاتٍ، فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تَمَرَاتٌ حَسَا حَسَوَاتٍ مِنْ مَاءٍ ِ»
ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะละศีลอดด้วยลูกอินผลัมสด(รุฏ็อบ)ไม่กี่เม็ดก่อนจะทำการละหมาด
มัฆริบ หากไม่มีลูกอินผลัมสดท่านก็จะละศีลอดด้วยลูกอินทผลัมแห้ง (ตะมัรฺ) และหากไม่มีลูกอินทผลัมแห้งท่านก็จะละศีลอดด้วยการดื่มน้ำเพียงไม่กี่อึก”
(มุสนัดอะหมัด, เล่ม 3 หน้า 164, สุนัน อบู ดาวูด เลขที่ 2339, มุสตักร็อก อัล-หากิม เล่ม 1 หน้า 432 ดู อิรวาอ์ อัล-เฆาะลีล เลขที่ 922)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อต้องการละศีลอดก็จะกล่าวว่า
«ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ الْعُرُوقُ، وَثَبَتَ الْأَجْرُ إِنْ شَاءَ اللَّهُ»
ซะฮะบัซเซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูกุ วะษะบะตัลอัจญฺรุ อินชาอัลลอฮฺ
ความว่า ความกระหายได้ดับลงแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น และผลบุญก็ได้มั่นคงแล้ว อินชาอัลลอฮฺ (หากอัลลอฮฺทรงประสงค์) (บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 2010 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 2066 เป็นหะดีษหะสัน)
กระตุ้นให้สามี ลูกๆ และพี่น้องละหมาดมัฆริบที่มัสญิด และให้หญิงสาวละหมาดในรูปแบบญะมาอะฮฺที่บ้านถ้าหากสามารถทำได้
กระตุ้นให้ละหมาดสุนัตเราะวาติบหลังละหมาดมัฆฺริบสองร็อกอะฮฺ
อ่านอัซการฺยามเย็นช่วงระหว่างที่รอละหมาดมัฆริบ และกระตุ้นสมาชิกในครอบครัวให้หมั่นอ่านอัซการฺนี้
พยายามละศีลอดกับคนในครอบครัวโดยพร้อมหน้าพร้อมตากัน รวมทั้งชุกูรฺต่ออัลลอฮฺต่อความโปรดปรานที่ให้สามารถถือศีลอดได้อย่างสมบูรณ์ในวันนี้
กระตุ้นสมาชิกในครอบครัวให้ตระเตรียมตัวเองเพื่อละหมาดอิชาอ์และตะรอวีหฺที่มัสญิดหากสามารถทำได้ (เฉพาะหญิงสาวที่ไม่มีประจำเดือนเท่านั้น) ด้วยการอาบน้ำวุฎูอ์ สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อยและปะพรมน้ำหอม (แต่สำหรับหญิงสาวนั้นไม่อนุญาตให้ออกจากบ้านในสภาพที่เธอปะพรมน้ำหอม) และให้ทุกคนรำลึกอยู่เสมอว่าในทุกย่างก้าวไปยังมัสญิดนั้นมีความดีงามอยู่
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَيُّمَا امْرَأَةٍ اسْتَعْطَرَتْ فَمَرَّتْ عَلَى قَوْمٍ لِيَجِدُوا رِيحَهَا ، فَهِي زَانِيَةٌ»
ความว่า "หญิงสาวนางใดที่ใส่น้ำหอม แล้วเดินผ่านไปยังกลุ่มคนพวกหนึ่งเพื่อให้พวกเขาได้รับกลิ่นของนาง นางก็เท่ากับเป็นผู้ทำซินา" (บันทึกโดยอะหฺมัด และ อัต-ติรมิซีย์ ท่านกล่าวว่า เป็นหะดีษหะสัน เศาะฮีหฺ ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 323, 2701, 4540)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَيُّمَا امْرَأَةٍ أَصَابَتْ بَخُورًا ، فَلَا تَشْهَدْ مَعَنَا الْعِشَاءَ الآخِرَةَ »
ความว่า “หญิงสาวนางใดที่ใส่น้ำหอม ดังนั้นนางอย่าไปร่วมละหมาดอิชาอ์พร้อมกับเรา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 680)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«لَا تَمْنَعُوا إِمَاءَ اللَّهِ مَسَاجِدَ اللَّهِ ، وَلَكِنْ لِيَخْرُجْنَ وَهُنَّ تَفِلَاتٌ»
ความว่า “จงอย่าห้ามบ่าวหญิงของอัลลอฮฺในการไปมัสญิด แต่จงให้พวกนางออกไปในสภาพที่ไม่ได้ปะพรมน้ำหอม” (บันทึกโดยอบู
ดาวูด หมายเลข
477)

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ تَطَهَّرَ فِي بَيْتِهِ ، ثُمَّ مَشَى إِلَى بَيْتٍ مِنْ بُيُوتِ اللَّهِ لِيَقْضِيَ فَرِيضَةً مِنْ فَرَائِضِ اللَّهِ ، كَانَتْ خَطْوَتَاهُ إِحْدَاهُمَا تَحُطُّ خَطِيئَةً ، وَالأُخْرَى تَرْفَعُ دَرَجَةً»
ความว่า “ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ที่บ้านของเขา แล้วเดินไปยังมัสญิดใดไปมัสญิดหนึ่ง เพื่อละหมาดฟัรฎู เขาจะไม่ย่างก้าวไปหนึ่งก้าวนอกจากอัลลอฮฺจะยกระดับให้เขาหนึ่งระดับชั้น และจะลบบาปของเขาหนึ่งบาป” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1076)
กิจวัตรที่น่าปฏิบัติหลังจากเวลาอิชาอ์
อ่านดุอาอ์รับอะซานเวลาละหมาดอิชาอ์
มุ่งมั่นในการท่องจำและอ่านอัลกุรอาน พร้อมกับใส่ถุงมือในขณะที่สัมผัสกับอัลกุรอาน
จัดให้มีกลุ่มเพื่อศึกษาเรียนรู้ศาสนาที่มีประโยชน์ต่อสมาชิกในครอบครัวและต่อเพื่อนฝูงหรือเพื่อนบ้าน
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
«مَا اجْتَمَعَ قَوْمٌ فِي بَيْتٍ مِنْ بُيُوتِ اللَّهِ تَعَالَى يَتْلُونَ كِتَابَ اللَّهِ وَيَتَدَارَسُونَهُ بَيْنَهُمْ إِلَّا نَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِينَةُ ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ ، وَحَفَّتْهُمُ الْمَلَائِكَةُ ، وَذَكَرَهُمُ اللَّهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ»
ความว่า “ไม่มีกลุ่มชนใดที่พวกเขาได้รวมตัวชุมนุมกัน ณ มัสยิดหลังหนึ่ง โดยที่พวกเขาเหล่านั้นได้อ่านอัลกุรอานและทบทวน
อัลกุรอานร่วมกัน เว้นแต่ความสงบและความเมตตาจะแผ่ปกคลุมพวกเขา และมลาอิกะฮฺก็จะห้อมล้อมพวกเขา และอัลลอฮฺจะทรงกล่าวชมเชยพวกเขาแก่บรรดา(มลาอิกะฮฺ)ที่ อยู่กับพระองค์”
(บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข
1245 และมุสลิม หมายเลข 4874)
-นั่งพูดคุยกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว, เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง, ใช้เวลายามค่ำคืนในการทำอิบาดะฮฺในเดือนเราะมะฎอน
- ฟังคุฏบะฮฺ หรือคำตักเตือนที่ดีๆ จากองค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ ของอิสลามหรือในอินเตอร์เน็ต
- ทำงานศาสนาในรูปแบบต่างๆ
- ทบทวนบทเรียน พร้อมกับเนียตขวนขวายผลบุญและผลตอบแทน
- ตระเตรียมอาหาร(สะหูรฺ)ให้เรียบร้อย พร้อมกับเนียตขวนขวายผลบุญและผลตอบแทน
นอนหลับพักผ่อน พร้อมกับเนียตขวนขวายผลบุญและผลตอบแทนจากการนอนดังกล่าวนั้น


กิจวัตรที่น่าปฏิบัติในช่วงสุดท้ายของค่ำคืน
ปลุกสมาชิกในครอบครัว และกระตุ้นพวกเขาให้ละหมาดตะฮัจญุด พร้อมๆ กับกระตุ้นพวกเขาให้สุญูดและรุกูอฺนานๆ ในละหมาดตะฮัจญุด และให้เขาละหมาดตะฮัจญุดเป็นญะมาอะฮฺที่มัสญิดในสิบคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน
ทบทวนอัลกุรอานที่ได้ท่องมาในตอนกลางวัน พร้อมๆ กับใส่ถุงมือในขณะที่สัมผัสกับอัลกุรอาน
ขวนขวายผลบุญและผลตอบแทนในช่วงรอรับประทานอาหารสะหูรฺ พร้อมๆ กับขะมักเขม้นในการขอดุอาอ์ ซิกรุลลอฮฺ และอิสติฆฺฟารฺ
กระตุ้นให้สมาชิกในครอบครัวรับประทานอาหารสะหูรฺ พร้อมๆกับให้มีความรู้สึกที่ตั้งใจในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา และปฏิบัติตามสุนนะฮฺ 
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«تَسَحَّرُوا فَإِنَّ فِي السَّحُورِ بَرَكَةً»
ความว่า “พวกท่านจงรับประทานอาหารสะหูรเถิด แท้จริงในอาหารสะหูร นั้นมีความจำเริญ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)
นั่งขอดุอาอ์ และ อิสติฆฟารฺ จนกระทั่งเข้าเวลาละหมาดศุบหฺ
ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا حِينَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الْآخِرُ، فَيَقُولُ مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَجِيبَ لَهُ، مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَهُ، مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَهُ»
ความว่า “แท้จริง อัลลอฮฺจะลงมาสู่ฟ้าแห่งโลกดุนยาในทุกๆ คืนในช่วงหนึ่งในสามสุดท้ายของคืน แล้วพระองค์จะกล่าวว่า มีผู้ใดวิงวอนขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าตอบรับคำขอนั้น มีผู้ใดขออะไรจากข้าไหม แล้วข้าจะให้เขาในสิ่งที่เขาขอ มีผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้าไหม แล้วข้าจะอภัยให้แก่เขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1094 และมุสลิม หมายเลข 758)
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم، والحمد لله رب العالمين
แปลจาก

http://saaid.net/book/open.php?cat=97&book=2015

********************
ทีมงานสำนักพิมพ์นูรุลอิสลาม



แปลโดย :  แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา :  www.saaid.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น