ลัทธิเซคคิวลาร์ มีชื่อเรียกในภาษาอาหรับว่า อัลมานียะฮ์” ซึ่งเป็นการเรียกที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเรียกเช่นนี้ในภาษาอาหรับบ่งบอกถึงความหมายว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ของวิชาความรู้ ซึ่งที่จริงแล้วความหมายดั้งเดิมของคำว่า “secularism” ไม่มีความเกี่ยวพันใด ๆ กับศาสตร์แห่งการเรียนรู้เลย แม้แต่น้อย (science) แต่ ทว่าเป้าหมายที่แท้จริงของคำนี้ก็คือการดำรงชีวิตอยู่บนรากฐานแห่ง...สติปัญญา และความรู้ที่ได้คิดค้นขึ้น แบ่งแยกสิ่งเหล่านี้อย่างสมบูรณ์แบบออกจาศาสนาและวิถีการดำรงชีวิต ซึ่งการเรียกที่ถูกต้องในภาษาอาหรับก็คือคำว่า “อัล-ลาดีนี่ยะฮ์” ซึ่งมีความหมายเป็นไทยว่า “ลัทธิไร้ศาสนา”(ดู: อัล เมาซูอะฮ์อัลมุยัสสะเราะฮ์ หน้า 679 เล่มสอง ดร. มานิอฺอิบนฺ ฮัมมาดอัลญุฮะนีย์)
ลัทธิ นี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในยุโรปในช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ดและได้เคลื่อนย้ายเข้า มาในตะวันออกกลางในต้นศตวรรษสิบเก้าโดยรูปแบบของรากฐานทีมั่นคงยังประเทศ อียิปต์ ตุรกี อิหร่าน เลบานอน ซีเรีย และก็ตูนีเซีย ต่อมาก็ตามด้วยประเทศอิรักในปลายศตวรรษสิบเก้า ส่วนอาหรับประเทศอื่นๆได้เข้ามาในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ
และความหมายที่เป็นมติฉันท์ของคำว่า (secularism)”เซคคิวลาร์” คือ การแบ่งแยกศาสนาออกจากการปกครองและการดำเนินชีวิต ซึ่งเพียงแต่ยังคงศาสนาไว้ในความความคิดและความทรงจำในหัวใจของบุคคลหนึ่ง ซึ่งไม่มีการเกี่ยวข้องกับพระเจ้าแต่อย่างใด หรืออาจจะมีบ้างก็เพียงแค่สัญลักษณ์หรือประเพณีบางประการอย่างเช่นพิธีแต่งงาน หรือพิธีฝังศพ และอื่นจากนี้
ลัทธิ นี้จะมีจะมีการสอดคล้องกันกับคริสต์เตียนในเรื่องของการแบ่งแยกศาสนาออกจาก การเมืองการปกครอง
ดั่งมีคำกล่าวซึ่งปรากฏอยู่ในใบเบิ้ล “จงมอบสิทธิของกัยศ็อรแก่กัยศ็อร และจงมองสิทธิของพระเจ้าแก่แก่พระเจ้า” ส่วน ในศาสนาอิสลามไม่มีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ปรากฏอยู่ ฉะนั้นมุสลิมทุกคนจะต้องมอบตัวของเขาและชีวิตของให้อยู่ภายใต้กฎหมายและคำดำ รัสของอัลลอฮฺตะอาลาแด่เพียงผู้เดียว
... “จง กล่าวเถิดโอ้มูฮัมหมัดเอ๋ย แท้จริงการละหมาดของฉันการพลีของฉันการมีชีวิตอยู่ตลอดจนการตายของฉันเป็น สิทธิของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก” (อัล-อันอาม 162).
หลักศรัทธาและแนวความคิด:
· ผู้ที่เลื่อมใสลัทธินี้บางคนปฏิเสธต่อการมีของอัลลอฮ.
· บางคนศรัทธาต่อการมีอัลลอฮฺแต่ปฏิเสธความสำพันธ์ระหว่างอัลลอฮฺกับการดำเนินชีวิต
· แบ่งแยกศาสนาออกจากการปกครองและดำรงชีวิตด้วยกับวัตถุนิยม
· การยึดองค์ประโยชน์ “pragmatism “เป็นที่ตั้งในการดำรงชีวิต
· ใส่ร้ายป้ายสีต่อหลักความจริงของอิสลาม ตลอดจนคัมภีร์อัล-กรุอานและบรรดานบี
· การกล่าวอ้างว่าอิสลามนั้นคือวิถีแห่งพิธีกรรมและความเชื่อทางจิตวิญญาณเท่านั้น
· การกล่าวอ้างว่ากฎหมายอิสลามมีที่มาจากกฎหมายโรมัน
· การกล่าวอ้างว่าอิสลามคือกฎหมายที่ล้าหลังไม่ทันต่อยุคสมัย
· เรียกร้องและส่งเสริมไห้สตรีมีสิทธิและเสรีภาพเทียบเท่าบุรุษเพศ
· ใส่ใคล้อารยธรรมของอิสลามและบั่นทอนขบวนการเคลื่อนไหวและฟื้นฟูอิสลาม
· อบรมบุตรหลานไห้เติบโตมาในสภาพที่ไม่มีศาสนา
· ฟื้นฟูอารยธรรมโบราณซึ่งขัดต่อหลักการศาสนา
· ปฏิเสธต่างการคิดคำนวณในแห่งการฟื้นคืนชีพ
· ปฏิเสธหลักการอิสลามในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต
· อนุมัติในสิ่งที่ต้องห้าม เช่น ในเรื่องของเพศตรงข้าม การพนันดอกเบี้ยตลอดจนล่วงเกินสิทธิของผู้อื่นเพื่อประโยชน์สุขของตัวเอง
· เรียกร้องและเชิญชวนไปสู่ความเป็นชาตินิยม
· ให้สิทธิและเสรีภาพกับสื่อจนเกินขอบเขตแม้กระทั่งสามารถที่จะเปิดเผยสิ่งพึงละอายให้สาธารณชนได้รับรู้
จุดยืนของอิสลามต่อ “ลัทธิเซคคิวลาร์ ”
ลัทธิ เซคคิวลาร์เป็นลัทธิที่ขัดแย้งกับอิสลามอย่างสิ้นเชิงเลยเนื่องจากอิสลาม เป็นศาสนาทีสัจจริงที่รวบรวมทุกอย่างไว้กับมนุษย์ชาติทุกหมู่เหล่าไว้ยึดถือ ปฏิบัติและดำรงชีวิตซึ่งไม่สามารถแยกศาสนาขอจากการดำรงชีวิตและการปกครองออก ได้เลย คือศาสนาที่ประจักษ์ว่าไม่พระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลอฮฺและมูฮัมหมัดเป็นศาสน ทูตของพระองค์ ซึ่งคำปฏิญาณนี้จะไม่สมบูรณ์แบบหากว่าผู้ที่กล่าวไม่ ยึดมั่นและอีบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงองค์เดียว และยึดถือสิ่งที่มาจากท่านรอซูลโดยการนำไปปฏิบัติ และใช้มันในการตัดสินปัญหาและปกครอง ตลอดจนใช้มันในการดำรงชีวิต ดั่งที่มีกล่าวไว้ในคำภีร์อัล-กุรอานว่า
... “มิ ใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะได้ตัดสินในสิ่งที่ได้ขัดแย้งกัน ระหว่างพวกเขา แล้วพวกเขาไม่พบความคับใจใดๆในจิตใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินไป และพวกเขายอมจำนนด้วยดี” อัล-นิสาอฺ (65) (ดู :มะซาฮิบฟิกรียะฮ์ มุอาซิเราะฮ์.,มุฮัมหมัด กุฎุบ )
และ ทั้งหมดนี่เป็นเพียงตัวอย่างเพียงบางส่วนที่หยิบยกมาเพื่อที่จะได้ตระหนัก ถึงแนวความคิดและหลักศรัทธาว่าอิสลามกับระบอบเซคคิวลาร์นั้นต่างขัดแย้งกัน อย่างสิ้นเชิง ซึ่งหากเรานำระบบนี้มาใช้ในการดำรงชีวิตก็เท่ากับว่า เรานั้นได้ออกห่างจากอิสลามและกลายสภาพเป็นผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาไปในที่สุด……. อะ อูซุบิ้ลลาฮิมินซาลิก
----------------------------------
นำเสนอโดย seed ikwan
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น