อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มะมูมมาทันอิมามในขณะรุกัวะอฺ



                      ผู้ที่มาทันอิมามในขณะรุกัวะอฺจะถือว่าเขาทันร็อกอะฮฺนั้นหรือไม่?

ปัญหานี้มีการขัดแย้งกันมาตั้งแต่อดีต ทัศนะหนึ่งว่าทัน แต่อีกทัศนะหนึ่งว่าไม่ทัน

ทัศนะที่ว่าไม่ทันร็อกอะฮฺนั้น เนื่องจากเพราะการละหมาดของเขาขาดการยืน และการอ่านซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องละหมาด


หลักฐานของทัศนะที่ถือว่าทันร็อกอะฮฺ

รายงานจากท่านอบูบักเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ที่ว่า
“ท่านอบูบักเราะฮฺได้เข้ามัสยิดขณะที่ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กำลังรุกัวะอฺ ท่านอบูบักเราะฮฺได้รุกัวะอฺก่อนจะถึงแถว เมื่อท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดเสร็จแล้ว ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวแก่อบูบักเราะฮฺว่า “ขออัลลอฮฺทรงเพิ่มพูนความพยายามของท่าน และอย่าได้ทำเช่นนั้นอีก” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ อิมามอบุดาวูด และอิมามอันนะซาอีย์)

ผู้เห็นด้วยทัศนะนี้กล่าวว่า ท่านอบูบักเราะฮฺได้รุกัวะอฺนอกแถว ทั้งนี้เพื่อจะได้ทันร้อกอะฮฺ และท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งกำชับเขาไว้ด้วย ก็เท่ากับว่าท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยอมรับว่าทันร็อกอะฮฺแล้ว ถ้าท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ยอมรับว่าทันร็อกอะฮฺแล้ว ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องสั่งให้กระทำใหม่อีกร็อกอะฮฺหนึ่ง

รายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“เมื่อพวกท่านมาละหมาด ในขณะที่พวกเรากำลัง สุญูด ก็จง สุญูด ตาม และอย่านับเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด (อย่านับเป็นร็อกอะฮฺ) ผู้ใดทันร็อกอะฮฺ แน่นอน เขาผู้นั้นย่อมละหมาดทัน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด อัดดาร่อกุฏนีย์ อัลฮากิม และอัลบัยฮะกีย์)

จากหะดิษทำให้เข้าใจว่าผู้ที่ทันรุกัวะฮฺ ถือว่าเขาก็เป็นผู้ที่ทันร็อกอะฮฺ

รายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดทันร็อกอะฮฺหนึ่งในละหมาด แน่นอน เขาก็ทันละหมาด ก่อนที่อิมามจะเงยขึ้นมายืนตรง” (บันทึกหะดิษโดยอิบนิคุซัยมะฮฺ อัดดาร่อกุฏนีย์ และอัลบัยฮะกีย์)

จากหะดิษข้างต้น ที่ว่าก่อนอิมามจะเงยมายืนตรง” เป็นหลักฐานที่แสดงว่า ผู้ที่ทันรุกัวะฮฺก็เท่ากับว่าทันร็อกอะฮฺ



หลักฐานของทัศนะที่ถือว่าไม่ทันร็อกอะฮฺ

จากดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ที่ว่า

وَقُومُوا لِلَّهِ قَانِتِينَ ( 238 )

“และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮ์โดยนอบน้อม”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ 2:238)

อายะฮฺนี้เป็นหลักฐานการยืนในละหมาดนั้นเป็นสิ่งจำเป็น(ฟัรฎู)

รายงานจากท่านอุบาดะฮฺ อิบนิซซอมิต ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ไม่นับเป็นการละหมาด สำหรับผู้ที่ไม่ได้อ่าน “ฟาติฮะติลกิตาบ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ มุสลิม อบูดาวูด อัตติรมีซีย์ อันนะซาอียื และอิบนิมาญะฮฺ)

จากหะดิษการอ่านฟาติฮะฮฺถือเป็นสิ่งจำเป็น(ฟัรฎู)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ดังนั้นสิ่งใดที่พวกท่านทันก็จงละหมาด และสิ่งใดที่ไม่ทันก็จงทำให้ครบถ้วน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และมุสลิม)

จากหะดิษนี้ ท่านฮาฟิส อิบนิ ฮะญัร กล่าวว่า
“ผู้มาทันขณะอิมามรุกัวะฮฺนั้น ไม่ถือว่าเขาได้ร็อกอะฮฺ” เพราะหะดิษนี้กำชับให้เขากระทำสิ่งที่ขาดไปให้ครบถ้วน และสิ่งที่เขาขาดไปก็คือการยืนกับการอ่าน นี้คือความเห็นของท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺและคนอื่นๆ” (หนังสือ “อัลฟัตฮฺ เล่ม 2 หน้า 119)

ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ กล่าวถึงรายงานของท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ว่า
“จะถือร็อกอะฮฺไม่ได้ นอกจากท่านต้องทันอิมามขณะที่ยืน ก่อนก้มลงรุกัวะอฺ สายสืบรายงานดังกล่าวนี้อยู่ในขั้นฮะซัน” (หนังสือ “อัลกิรออะฮฺ ค็อลฟัลอิมาม หน้า 30-31)

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดที่ทันร็อกอะฮฺหนึ่งร็อกอะฮฺใด ก็เท่ากับว่าเขาผู้นั้นทันละหมาดนั้นแล้ว” (บันทึกโดยอิมามอัลบัยฮากีย์)

คำว่าร็อกอะฮฺ ตองมีการตักบีรฺ การยืน การอ่าน การรุกัวะฮฺ การเงยจากรุกัวะอฺ สุญูด และนั่งระหว่งสองสุญูด ประกอบกันเป็นร็อกอะฮฺหนึ่ง



 والله أعلم بالصواب

*************








1 ความคิดเห็น: