อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การทำความสะอาดอุจจาระและปัสสาวะ



การทำความสะอาดอุจจาระหรอปัสสาวะ ศาสนาอนุญาตให้ชำระความสะอาดด้วยน้ำ กับก้อนหิน แต่ห้ามใช้มูลสัตว์และกระดูก ทำความสะอาด



عَنْ سَلْمَانَ، قَالَ قِيلَ لَهُ قَدْ عَلَّمَكُمْ نَبِيُّكُمْ صلى الله عليه وسلم كُلَّ شَىْءٍ حَتَّى الْخِرَاءَةَ ‏.‏ قَالَ فَقَالَ أَجَلْ لَقَدْ نَهَانَا أَنْ نَسْتَقْبِلَ الْقِبْلَةَ لِغَائِطٍ أَوْ بَوْلٍ أَوْ أَنْ نَسْتَنْجِيَ بِالْيَمِينِ أَوْ أَنْ نَسْتَنْجِيَ بِأَقَلَّ مِنْ ثَلاَثَةِ أَحْجَارٍ أَوْ أَنْ نَسْتَنْجِيَ بِرَجِيعٍ أَوْ بِعَظْمٍ


                "ซัลมาน (อัลฟาริซีย์) รายงานว่า มีผู้กล่าวกับเขาว่า นบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ของพวกท่าน สอนพวกท่านทุกอย่าง แม้กระทั่งการถ่ายทุกข์ (เช่นนั้นหรือ) เขาตอบว่า ใช่  ท่านห้ามพวกเราในการหันไปทางกิบละห์ในขณะปัสสาวะและอุจจาระ, หรือ (ห้ามพวกเรา) ชำระล้างปัสสาวะ,อุจจาระด้วยมือขวา,  หรือชำระล้างด้วยหินน้อยกว่าสามก้อน, หรือชำระด้วยมูลสัตว์และกระดูก"( มุสลิม/หมวดที่2/บทที่17/ฮะดีษเลขที่ 0504)



عَنْ سَلْمَانَ، قَالَ قَالَ لَنَا الْمُشْرِكُونَ إِنِّي أَرَى صَاحِبَكُمْ يُعَلِّمُكُمْ حَتَّى يُعَلِّمَكُمُ الْخِرَاءَةَ ‏.‏ فَقَالَ أَجَلْ إِنَّهُ نَهَانَا أَنْ يَسْتَنْجِيَ أَحَدُنَا بِيَمِينِهِ أَوْ يَسْتَقْبِلَ الْقِبْلَةَ وَنَهَى عَنِ الرَّوْثِ وَالْعِظَامِ وَقَالَ ‏"‏ لاَ يَسْتَنْجِي أَحَدُكُمْ بِدُونِ ثَلاَثَةِ أَحْجَارٍ ‏"‏


                "ซัลมาน (อัลฟารีซีย์) รายงานว่า บรรดาผู้ตั้งภาคีได้กล่าวกับพวกเราว่า ฉันรู้ว่าสหายของพวกท่าน (ท่านนบี) สอนพวกท่านแม้กระทั่งการขับถ่ายปัสสาวะ,อุจจาระ เขาตอบว่า ถูกต้องแล้ว ท่านห้ามพวกเราในการชำระล้างปัสสาวะ,อุจจาระด้วยด้วยมือขวา หรือหันไปทางกิบละห์ (ในขณะปัสสาวะและอุจจาระ) และท่านห้ามพวกเราในการใช้กระดูกหรือมูลสัตว์ทำความสะอาด, ท่านกล่าวว่า “คนใดก็ตามในหมู่พวกเจ้าอย่าได้ทำความสะอาด (หลังการปัสสาวะหรืออุจจาระ) ด้วยก้อนหินน้อยกว่าสามก้อน” (มุสลิม/หมวดที่2/บทที่17/ฮะดีษเลขที่ 0505)


ท่านอิบนุมัสอูด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ออกไปถ่ายทุกข์ ท่านรสูลจึงใช้ให้ฉันนำก้อนหินมา 3 ก้อน ซึ่งฉันหาก้อนหินได้ 2 ก้อน ฉันพยายามหาหินก้อนที่สาม แต่ไม่พบ ฉันจึงนำมูล(แห้งของ)สัตว์ไปให้ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ท่านรสูลหยิบหิน 2 ก้อน และโยนมูลสัตว์ทิ้งไป พลางกล่าวว่า (มูลสัตว์) ก้อนนี้เป็นนะญิส"(บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ หะดิษเลขที่ 152)

عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم دَخَلَ حَائِطًا وَتَبِعَهُ غُلاَمٌ مَعَهُ مِيضَأَةٌ هُوَ أَصْغَرُنَا فَوَضَعَهَا عِنْدَ سِدْرَةٍ فَقَضَى رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم حَاجَتَهُ فَخَرَجَ عَلَيْنَا وَقَدِ اسْتَنْجَى بِالْمَاءِ 


                 "อนัส บินมาลิก รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เข้าไปที่สวนแห่งหนึ่ง (เพื่อถ่ายทุกข์) โดยมีเด็กเล็กๆ กว่าพวกเรา คอยถือภาชนะใส่น้ำตามท่านเข้าไปด้วย แล้วก็นำภาชนะนั้นไปวางที่โคนต้นไม้ หลังจากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เสร็จภารกิจของท่านก็จะออกมาพบกับพวกเราโดยท่านชำระล้างด้วยน้ำนั้น"(มุสลิม/หมวดที่2/บทที่21/ฮะดีษเลขที่ 0517)

 ส่วนการทำความสะอาดอุจจาระหรือปัสสาวะด้วยกระดาษชำระ (กระดาษทิชชู) ที่มีไว้สำหรับสถานที่ต่างๆ นั้น ศาสนาอนุญาต (มุบาหฺ) ให้นำมาชำระได้

 ซึ่งการเช็ดด้วยกระดาษนั้นอนุญาตให้เช็ดมากกว่า 3 ครั้งจนกว่าเราจะเห็นว่าสะอาด

 ส่วนกรณีที่ไม่มีน้ำ ศาสนาอนุญาตให้ใช้ก้อนหินจำนวน 3 ก้อน (หากน้อยกว่า 3 ก้อนก็ไม่อนุญาต) แต่ถ้าพบน้ำศาสนาส่งเสริมให้ใช้น้ำชำระความสะอาดก่อนเป็นอันดับแรก

หากปัสสาวะกระเซ็นมาถูกกางเกงหรือผ้าโสร่ง ซึ่งเราแน่ใจว่าเปื้อนกางเกงหรือโสร่งจริง เช่นนี้จำเป็นจะต้องเปลี่ยนกางเกงหรือโสร่งนั้นก่อนที่จะละหมาด แม้ว่าเพียงเล็กน้อยก็ตาม

 ส่วนกรณีที่เราอยู่นอกบ้าน เช่นอยู่ที่ทำงาน เช่นนี้ให้เราค้นหารอยเปื้อนนะญิสดังกล่าว เมื่อพบแล้วก็ให้ล้างด้วยน้ำเฉพาะบริเวณที่เปื้อนนะญิส จากนั้นก็สวมใส่และละหมาดได้

หากไม่สามารถรู้ว่าเปื้อนตรงบริเวณใด อีกทั้งเราเองก็ไม่มีกางเกง หรือโสร่งสำรองไว้ เช่นนี้ก็ให้เรานำละหมาดดังกล่าวกลับไปชดใช้ที่บ้าน เพราะเรามีอุปสรรคไม่สามารถสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดได้

 ซึ่งการสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดนั้นถือเป็นรุก่น (เงื่อนไข) หนึ่งที่ทำให้การละหมาดนั้นใช้ได้



 والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น