อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของสตรีมุสลิมต้อมมีมะหฺรอม


لا تسافر المرأة يومين إلا ومعها زوجها أو ذو محرم منه

การเดินทางไกลของมุสลีมะฮฺ ไม่ว่าภารกิจทางดุนยา หรือทางศาสนา จำเป็นที่นางจะต้องมีมะหฺร็อมเดินทางไปด้วยทุกครั้งโดยเฉพาะมุสลิมะอฺที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์

รายงานจากท่านอิบนุ อับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันฟังท่านรสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าว่า
"ไม่อนุญาตให้ชายหนึ่งหญิงหนึ่งอยู่ด้วยกันตามลำพังโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะมีมะหฺร็อมนั่งร่วมกับนางเท่านั้น และไม่อนุญาตสตรี(มุสลิม) เดินทาง เว้นแต่จะมีมะหฺร็อมเดินทางร่วมกับนางด้วยเช่นกัน ชายผู้หนึ่งยืนถามว่า โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ แท้จริงภรรยาของฉัน(ต้องการ)เดินทางไปทำฮัจญ์ในขณะที่ฉันเองก็มีรายชื่อออกไปทำสงครามครั้งนั้น ครั้งนี้ ท่านรสูลตอบว่า : ท่านจงกลับไป แล้วทำฮัจญ์พร้อมกับภรรยาของท่านเถิด (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 1729 อิมามมุสลิม เลขที่ 2391)

รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺบุตรของอุมัรฺร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าว่า

  • "ไม่อนุญาตสำหรับสตรีที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้ายเดินทางไกลสามคืน เว้นแต่จะมีมะหฺร็อมเท่านั้น" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 1024 อิมามมุสลิม เลขที่ 2382)
ท่านรสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กำหนดการอยู่ร่วมกันระหว่างชายหญิงซึ่งแต่งตั้งงานกันได้ และการเดินทางของมุสลีมะฮฺไว้อย่างชัดเจน คืือไม่อนุญาตให้ชายหญิงที่แต่งงานกันได้อยู่กันตามลำพังโดยเด็ดขาด เว้นแต่มีมะหฺร็อม  และไม่อนุญาตให้มุสลีมะฮเดินทางเว้นจะมีมะหฺร็อมร่วมเดินทางไปด้วย แม้ชายผู้ที่ร่วมเดินทางไปด้วยนั้นจะเป็นคนที่ไว้วางใจก็ตาม

ซึ่งแม้ว่าการญีฮาดออกไปทำศึกสงครามศาสนาจะมีความสำคัญและได้รับผลบุญอันมากมาย แต่กระนั้นก็ตาม ท่านรสูลก็ยังให้เศาะหาบะฮผู้นั้นที่มีชื่อรายชื่ออกไปสงคราม กลับไปร่วมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกับภรรยาของเขา โดยที่ท่านรสูลไม่ได้ถามศอหาบะฮฺท่านนั้นว่ามีบรรดาสตรีหรือบรรดผู้ชายที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ร่วมเดินทางไปด้วยหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็สามารถอ้างได้ว่าสตีสามารถเดินทางไปทำฮัจญ์ได้โดยไม่ต้อมีมะฮฺร็อม หากมีบรรดาสตรีหรือบรรดาผู้ชายที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ร่วมเดินทางไปด้วย

สำหรับกรณีที่ท่านอุมัรฺได้อนุญาตให้ภรรยาของท่านนบีไปประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งสุดท้ายภายหลังการเสียชีวิตของท่านรสูลแล้ว โดยมีท่านอุสมาน บุตรของอัฟฟาน และท่านอับดุรฺเราะหฺมาน บุตรของเอาฟฺ เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ร่วมกับพวกนางด้วยนั้น  บรรดาภรรยาของท่านนบีทุกคนเป็นมารดาแห่งปวงผู้ศรัทธา ศาสนาได้ห้ามพวกนางแต่งงานอีกต่อไป เมื่อพวกนางเป็นมารดาของปวงผู้ศรัทธา ทุกคนที่เป็นผู้ชายถือว่าเป็นมะหฺรอมของพวกนางทั้งหมด ประหนึ่งอนุญาตให้ลูกชายเป็นมะฮฺร็อมให้แก่แม่ของเขา การอนุญาตของท่านอุมัรฺให้บรรดาภรรยาของท่านบีไปประกอบพิธีฮัจญ์โดยมีเศาะหาบะฮฺบางท่านติดตามไปด้วยนั้น ไม่ใช่หลักฐานที่ว่าการเดินทางของมุสลิมะฮฺไม่จำเป็นต้องมีมะหฺร็อมแต่อย่างใด

รายงานจากท่านอิบรอฮีม จากพ่อของเขา จากปู่ของเขา เล่าว่า
"แท้จริง ท่านอุมัร อนุญาตให้บรรดาภรรยาของท่านนบีมุหัมมัดเดินทางไปทำัฮัจญ์ ซึ่งเขาส่งท่านอุษมาน บุตรของอัฟฟาน และท่านอับดุรฺเราะะหฺมาน บุตรของเอาฟฺ (เดินทางไปทำฮัจญ์ร่วมกับพวกนางด้วย) ท่านอุษมานประกาศแก่ผู้คนทั้งหลายไม่ให้บุคคลใดเข้าใกล้พวกนาง และอย่ามองพวกนางยกเว้นมองทอดสายตาเท่านั้น พวกนางจะอยู่บนแคร่หามบนหลังอูฐ เขาทำให้พวกนางลงพัก ณ หว่างเขาบริเวณต้นลำธาร ส่วนท่านอับดุรฺเราะหฺมาน บุตรของเอาฟฺ และท่านอุษมานลงพัก(บริเวณ)ปลายลำธาร ซึ่งไม่(อนุญาตให้) มีบุคคลใดนั่งร่วมกับพวกนาง" (บันทึกหะดิษโโยอิมามบัยหักีย์ เลขที่ 8621)

สำหรับกรณีที่อ้างว่าหากมุสลีมะฮฺคนหนึ่งเดินทางร่วมกับกลุ่มสตรีหรือสตรีเพียงคนเดียวหรือกลุ่มผู้ชายที่ไว้วางใจได้ การเดินทางครั้งนั้นเป็นที่อนุญาต ถึงแม้ไม่มีมะฮฺร็อมร่วมเดินทางไปด้วยก็ตาม ก็เป็นเพียงทัศนะของนักวิชาการเท่านั้น ไม่มีหลักฐานมายืนยันทัศนะนี้เลย โดยเฉพาะทัศนะในมัซฮับชาฟีอีย์ แต่มีเงื่อนไขว่าการเดินทางครั้งนั้นเป็นการไปประกอบพิธีฮัจญ์ของนางเป็นครั้งแรกและไม่เกิดฟิตนะฮฺขึ้น ส่วนการทำัฮัจญ์หรืออุมเราะฮฺในครั้งต่อไปไม่เป็นที่อนุญาตหากนางไม่มีมะห์ร็อมร่วมเดินทางไปด้วย

ท่านอิมามอันนะวาวีย์  กล่าวว่า "ในกรณีของสตรีนั้น  เขาจะต้องเดินทางพร้อมกับสามี , หรือผู้ที่แต่งงานด้วยกันไม่ได้ , หรือมีบรรดาสตรีที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ร่วมอยู่ด้วย"  ดู หนังสือ มินฮาจญ์ อัฏฏอลิบีน หน้า 34

บรรดาสตรีที่ไว้เนื้อเชื่อใจร่วมอยู่ด้วยนั้น  ต้องเป็นสตรีที่รู้จักกันดีว่ารักนวลสงวนตัวและเป็นคนมีศาสนาและอย่างน้อยสุดต้องมีผู้หญิงร่วมเดินทางไปด้วยอีกสองคน  รวมเป็นสามคน  โดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องมีผู้ชายที่ห้ามแต่งงาน (มะฮ์รอม) ร่วมไปด้วยกับคนใดคนหนึ่งเพราะเมื่อรวมพวกผู้หญิงที่ไปด้วยกันแล้ว  ก็เชื่อว่าจะได้รับความปลอดภัย  และมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุเสื่อมเสียแก่คนใดคนหนึ่ง (ดู หนังสือตั๊วะฟะตุลมั๊วะตาจญ์ ของท่าน อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ เล่ม 2 หน้า 12 - 13  ตีพิมพ์  มักตะบะฮ์ อัษษะกอฟะฮ์ อัลดีนียะฮ์ , และหนังสือ อัลฟิกฮุลมันฮะญีย์  เล่ม 2 หน้า 97 แปลโดย ท่านอาจารย์ อรุณ บุญชม) 




والله أعلى وأعلم

....................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น