อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สิ่งที่เกิดกับคนตายในหลุมศพ


คนตายที่อยู่ในหลุมศพจะได้ยินเสียงฝีเท้าตอนที่พวกพ้องของเขาเดินจากไป
ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุได้รายงานถึง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า

«الْعَبْدُ إِذَا وُضِعَ فِي قَبْرِهِ وَتُوُلِّيَ وَذَهَبَ أَصْحَابُهُ، حَتَّى إِنَّهُ لَيَسْمَعُ قَرْعَ نِعَالِهِمْ، أَتَاهُ مَلَكَانِ فَأَقْعَدَاهُ، فَيَقُولَانِ لَهُ : مَا كُنْتَ تَقُولُ فِي هَذَا الرَّجُلِ، مُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ؟، فَيَقُولُ أَشْهَدُ أَنَّهُ عَبْدُ اللَّهِ وَرَسُولُهُ، فَيُقَالُ : انْظُرْ إِلَى مَقْعَدِكَ مِنْ النَّارِ أَبْدَلَكَ اللَّهُ بِهِ مَقْعَدًا مِنْ الْجَنَّةِ، قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : فَيَرَاهُمَا جَمِيعًا، وَأَمَّا الْكَافِرُ أَوْ الْمُنَافِقُ فَيَقُولُ لَا أَدْرِي، كُنْتُ أَقُولُ مَا يَقُولُ النَّاسُ، فَيُقَالُ لَا دَرَيْتَ وَلَا تَلَيْتَ، ثُمَّ يُضْرَبُ بِمِطْرَقَةٍ مِنْ حَدِيدٍ ضَرْبَةً بَيْنَ أُذُنَيْهِ، فَيَصِيحُ صَيْحَةً يَسْمَعُهَا مَنْ يَلِيهِ إِلَّا الثَّقَلَيْنِ» (أي: الجن والإنس) ]أخرجه البخاري[

“เมื่อบ่าวถูกวางในหลุมศพของเขา และพวกพ้องของเขาก็หันหลัง และจากไป –เขาจะได้ยินกระทั้งเสียงกระทบกันของรองเท้าของพวกเขา- มลาอิกะฮฺสองท่านจะมายังเขา แล้วทำให้เขาลุกขึ้นนั่ง แล้วกล่าวแก่เขาว่า “ท่านเคยกล่าวประการใดหรือกับชายคนนี้ คือ มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม?” เขาก็จะกล่าวว่า “ฉันขอยืนยันว่าเขาเป็นบ่าว และศาสนทูตของอัลลอฮฺ” แล้วก็ถูกกล่าวแก่เขาว่า “จงดูเถิด ถึงที่นั่งของเจ้าในนรก อัลลอฮฺได้ทรงเปลี่ยนมันให้เป็นที่นั่งในสวรรค์แล้ว” ท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า เขาจะได้เห็นมันทั้งสอง “และส่วนคนกาฟิร– หรือเป็นคนมุนาฟิก เขาจะกล่าวว่า “ฉันไม่ทราบ ฉันก็พูดไปตามที่คนอื่นๆเขาพูดกัน” แล้วก็ถูกกล่าว “เจ้าไม่รู้ และเจ้าไม่สามารถรู้กระนั้นหรือ! หลังจากนั้นเขาก็จะถูกตีด้วยค้อนที่ทำจากเหล็ก ตีไประหว่างหูทั้งสองของเขา แล้วเขาก็ส่งเสียงกรีดร้องจนทุกสิ่งรอบตัวเขาจะได้ยินเสียงนั้น นอกจากษะเกาะลัยนฺ(คือ ญิน และมนุษย์)””  บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

คนตายจะถูกแจ้งข่าวดีถึงที่พำนักของเขาในสวรรค์หรือในนรก
ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้รายงานถึง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า
«إِنَّ أَحَدَكُمْ إِذَا مَاتَ عُرِضَ عَلَيْهِ مَقْعَدُهُ بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِىيِّ، إِنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ فَمِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ، وَإِنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ النَّارِ فَمِنْ أَهْلِ النَّارِ، يُقَالُ هَذَا مَقْعَدُكَ حَتَّى يَبْعَثَكَ اللَّهُ إِلَيْهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ» [أخرجه مسلم[
“แท้จริงพวกท่านคนใดเมื่อเขาเสียชีวิต ที่นั่งของเขาจะถูกนำมาเสนอแก่เขาทั้งยามเช้าและยามเย็น หากเขาเป็นชาวสวรรค์ก็เป็น(ที่ดำนัก)จากชาวสวรรค์ และหากเขาเป็นชาวนรก ก็เป็น(ที่พำนัก)จากชาวนรก แล้วก็จะมีเสียงพูดว่า “นี่เป็นที่นั่งของเจ้า จนกว่าอัลลอฮฺจะส่งเจ้าไปหามันในวันกิยามะฮฺ””  บันทึกโดยมุสลิม

อธิบาย
เมื่อคนตายถูกฝังในหลุม และพวกพ้องของเขาจากไป วิญญาณของเขาจะกลับมา และมีชีวิตในแบบโลกบัรซัค และจะมีมลาอิกะฮฺสองท่านมายังเขา คือ มุงกัร และนะกีร จะทำให้เขาลุกขึ้นนั่ง และสอบสวนเขา แล้วอัลลอฮฺจะทรงให้ผู้ศรัทธามีความมั่นคง และชี้นำเขาให้พูดความจริง และที่นั่งในสวรรค์หรือในนรกจะถูกนำมาแสดงแก่คนตายไปจนถึงวันกิยามะฮฺ

ประโยชน์ที่ได้รับ
ยืนยันเรื่องการสอบสวนคนตายในหลุมศพของมะลักทั้งสอง
ยืนยันเรื่องการลงโทษ และการรับความผาสุกในหลุมศพ
คนตายจะได้เห็นสถานที่พำนักของเขาในสวรรค์ หรือในนรกก่อนถึงวันกิยามะฮฺ

..................................
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น