อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ละหมาดฟัรฎูตามหลังคนละหมาดสุนัต และละหมาดตามหลังคนทำบาป


 

โดย อับดุศศอมัด อัน นัดวียฺ


 
คำถาม มีปัญหาที่สงสัยอยู่สองเรื่องที่เกี่ยวกับละหมาดญะมาอะฮฺ
1/การที่เราละหมาดตามหลังคนที่ทำบาป ละหมาดนั้นจะใช้ได้หรือไม่ ?
2/เราจะละหมาดฟัรฎูตามหลังคนที่ละหมาดสุนัตได้หรือไม่?

คำตอบ สำหรับปัญหาข้อแรก การละหมาดตามหลังมุสลิมที่ทำบาปบางอย่างนั้นใช้ได้ ตามทัศนะที่ถูกต้องมีน้ำหนัก แต่ก็แน่นอนว่าละหมาดตามหลังมุสลิมที่ไม่ทำบาปย่อมดีกว่า  แต่ถ้าบาปที่ว่านั้นทำให้หลุดออกจากศาสนา การละหมาดตามหลังคนผู้นั้นถือว่าใช้ไม่ได้  เนื่องจากเมื่อเขาไม่ใช่มุสลิม ละหมาดของเขาย่อมไม่ถูกนับว่าเป็นการละหมาด ดังนั้นการละหมาดตามเขานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะถือว่ามันเป็นละหมาดญะมาอะฮฺ
             
           ส่วนปัญหาข้อสอง การละหมาดฟัรฏูตามหลังคนละหมาดสุนัตนั้นใช้ได้ เพราะแต่ละคนนั้นย่อมได้รับผลตามที่ตนเองได้ตั้งเจตนาไว้ ดังที่อิมามอะหฺมัดได้กล่าวว่า “เมื่อท่านมาถึงมัสญิด ในขณะที่อิมามละหมาดตะรอเวี๊ยะ ส่วนท่านยังไม่ได้ละหมาดอีชาอ์  ก็ให้ท่านละหมาดตามเขา ซึ่งท่านจะได้ในส่วนที่เป็นฟัรฎู ส่วนอิมามก็จะได้ในส่วนสุนัต”
            เช่นเดียวกันก็อนุญาตให้ละหมาดดุฮฺริตามหลังอิมามที่ละหมาดอัศริได้

........................................
 อ้างอิง
อัลฟะตาวา อัลมุฮิมมะฮฺ ของชัยคฺ มุฮัมมัด บิน ศอลิฮฺ อัลอุษัยมีน หน้า 341

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น