ปรากกว่าอิบลีสนั้นมาจากจำพวกญินตามตัวบทอัลกุรอานซึ่งมิใช่มาจากจำพวกมลาอิกะฮฺ ดังที่พระองค์ตรัสว่า : [เว้นแต่อิลลีสมันอยู่ในจำพวกญิน ดังนั้นมีจึงฝ่าฝืนคำสั่งของเขาพระผู้เป็นเจ้าของมัน]
(อัลกุรอาน 18 : 50)
พร้อมกับหลักฐานในพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า : [พระองค์ทรงบังเกิดข้าพระองค์มาจากไฟ]
(อัลกุรอาน 38 : 76)
แต่มลาอิกะฮฺถูกบังคับมาจากรัศมี ท่านร่อซูล (ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า : มลาอิกะฮฺนั้นถูกบังคับมาจากรัศมีและญินถูกบังเกิดมาจากไฟ ส่วนอาดัมถูกบังเกิดมาจากสิ่งที่เป็นลักษณะหนึ่งของพวกท่า (ดิน)
(บันทึกโดยมุสลิม)
จากการบอกเล่าของท่านอิบมัสอู๊ดและท่านอื่น ๆ : ปรากฎว่าอิบลีสคือหัวหน้ามลาอิกะฮฺแห่งฟากฟ้าดุนยา งานคำสั่งพระผู้เป็นเจ้าใช้ให้สูญูดต่ออาดัมรวมถึงอิลลีสด้วย แต่ทว่าเริ่มตั้งแต่มีคำสั่งพระผู้เป็นเจ้าบัญชาใช้ให้สุญุดต่ออาดัม จนกระทั่งตัวอิบลีสเองปฏิเสธงานคำสั่ง และงานคำสั่งนั้นก็ถูกตีกลับไปหาพระผู้ทรงบัญชาใช้ อิบลีสกล่าวว่า : [ข้าพระองค์ดีกว่าเขา พระองคึ์ทรงบังเกิดข้าพระองค์จากไฟ และทรงบังเกิดเขาจากอิน]
(อัลกุรอาน 38 : 76)
มันเห็นว่าตัวมันถือกำเนิดมาจากไฟ ย่อมมีเกียรติกว่าประเสริฐกว่า ส่วนอาดัมถือกำเนิดมาจากดิน ย่อมต่ำต้องกว่า และเช่นเดียวกัน มันเห็นว่า ธาตุไฟนั้นย่อมแข็งแกร่งกว่าธาตุดิน สามารถเผาดินให้หมดไหม้และหายไป และไฟนั้นคือเครื่องหมายแห่งความร้อนแรงเผาไหม้ให้วอดวายและทำลายล้างผลาญ ส่้วนดินนั้นคือเครื่องหมายแห่งความเจริญรุ่งเรืองและความดี ครั้งแล้วมัก็กล่าวขึ้นมาว่า : อัลลอฮฺจะทรงบัญชาใช้ให้ผู้ที่แข็งแกร่งกว่าไปสุญูดต่อผู้ที่อ่อนแอกว่าได้อย่างไร? อัลลอฮฺจะทรงบัญชาใช้ให้ผู้ที่มีเกียรติสุญูดต่อผู้ที่ต่ำต้อยกว่าได้อย่างไร ? ซึ่งเป็นที่มาของคำถามแผลง ๆ นี่คือกลอุบายเล่ห์เหลี่ยมของอิบลีส ซึ่งถ้าผู้ใดติดตามมันก็จะหลงกลตกเป็นเหยื่อของมันซึ่งจะได้รับความพินาศ เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากเล่ห์เหลี่ยมกลลวงของมันด้วยเทอญ
อัลฮะซัน อัลบะซ่อรีย์ กล่าวว่า : อิลลีสได้เปรียบเทียบ (คือเปรียบเทียบว่ามันถือกำเินินมาจากไฟย่อมมีเกียรติประเสริฐกว่าดิน) คือผู้แรกที่เปรียบเทียบ (กิยาส)
มูฮัมหมัด อิบนิ ซีรีน กล่าวว่า : อิบลีสคือผู้แรกที่เปรียบเทียบ (ว่ามันประเสิรฐดีกว่า เพราะถือกำเนิดมาจากไฟย่อมดีกว่าดิน) ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะไม่ได้รับการเคารพบูชากราบไหว้ เว้นแต่ด้วยการมีเปรียบเทียบ (กับการเป็นพระเจ้า)
อิบนุกะซีร กล่าวว่า : การเปรียบเทียบ (หลักกิยาส) เมื่อมันตรงกับตัวบท (หรือมีตัวบทกล่าวไว้อย่างชัดเจน) การเปรียบเทียบ (หลักกิยาส) ถือว่าเป็นโมฆะ
(ตอนต่อไป....อิบลีสปฏิเสธ)
...............................
(จากหนังสือ : เรื่องเล่ากุรอาน เล่ม 1)
อดทน เพื่อชัยชนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น