อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ละหมาดล้ำหน้าอิมาม




โดย อับดุศศอมัด อัน นัดวียฺ



คำถาม คนที่ละหมาดล้ำหน้าอิมามเช่น ขึ้นจากรุกูอฺก่อนอิมาม มีผลทางศาสนาอย่างไร?

คำตอบ การละหมาดล้ำหน้าอิมามนั้นเป็นสิ่งหะรอม เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวว่า

أَمَا يَخْشَى أَحَدُكُمْ إِذَا رَفَعَ رَأْسَهُ قَبْلَ الْإِمَامِ أَنْ يَجْعَلَ

اللَّهُ رَأْسَهُ رَأْسَ حِمَارٍ أَوْ يَجْعَلَ اللَّهُ صُورَتَهُ صُورَةَ حِمَارٍ


คนหนึ่งในหมู่พวกท่านที่ยกศีรษะขึ้นก่อนอิมามไม่กลัวดอกหรือ ว่าอัลลอฮฺจะทรงทำให้ศีรษะของเขาเป็นศีรษะของลา หรือจะทรงเปลี่ยนรูปร่างของเขาให้เป็นรูปร่างของลา  (มุตตะฟะกุน อะลัยฮิ)



นี่เป็นการสำทับเตือนคนที่ละหมาดโดยเคลื่อนไหวก่อนอิมาม และท่วงทำนองการสำทับเช่นนี้จะไม่ถูกใช้ยกเว้นกับสิ่งที่เป็นบาป หรือกับการละทิ้งสิ่งวาญิบ

            ซึ่งหลักในการตามอิมามในการละหมาดญะมาอะฮฺต้องเป็นตามที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กำชับไว้ว่า

إنما جعل الإمام ليؤتم به فَإِذَا كبر فكبروا ولا تكبروا

حتى يكبر وإِذَا ركع  فاركعوا  . ولا تركعوا حتى يركع


อันที่จริงอิมามนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อให้ละหมาดตามดังนั้นเมื่ออิมามตักบีร พวกท่านก็จงตักบีร และจงอย่าตักบีรจนกว่าเขาจะตักบีรเสียก่อน และเมื่อเขารุกูอฺ พวกท่านก็จงรุกูอฺ และจงอย่ารุกูอฺ จนกว่าเขาจะรุกูอฺเสียก่อน  (มุตตะฟะกุน อะลัยฮิ)

และจากที่เราพบเห็นในการละหมาดญะมาอะฮฺ การเคลื่อนไหวของมะอฺมูมมีอยู่สี่ลักษณะ
1/ เคลื่อนไหวล้ำหน้าอิมาม หรือ ก่อนที่อิมามจะเปลี่ยนท่าของการละหมาด ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามดังที่กล่าวมาแล้ว และหากท่าที่ทำก่อนอิมามนั้นคือการตักบีรแรก(ตักบีเราะตุลเอี๊ยะรอม)  วาญิบที่บุคคลนั้นต้องละหมาดใหม่อีกครั้ง
2/ เคลื่อนไหวพร้อมกับอิมาม เช่นสุญูดพร้อมอิมามหรือรุกูอฺพร้อมอิมาม ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน เพราะมันค้านกับคำพูดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ที่ว่า
لا تركعوا حتى يركع

จงอย่ารุกูอฺ จนกว่าเขาจะรุกูอฺเสียก่อน

อุละมาอ์บางท่านเห็นว่าการเคลื่อนไหวพร้อมอิมามนั้นเป็นมักรูฮฺ ไม่ถึงกับหะรอม ยกเว้นการตักบีเราะตุลเอี๊ยะรอม ซึ่งถ้าใครตักบีรแรกนี้พร้อมอิมาม เขาต้องละหมาดใหม่
3/ เคลื่อนไหวตามอิมามอย่างต่อเนื่องโดยไม่ทิ้งช่วงเวลาให้นานนัก การเคลื่อนไหวตามข้อนี้เป็นการตามอิมามที่ถูกต้องตามหลักการละหมาดญะมาอะฮฺ
4/ เคลื่อนไหวตามอิมาม แต่เป็นไปอย่างชักช้าไม่ต่อเนื่องทันทีกับการเคลื่อนไหวของอิมาม ซึ่งต่างกับข้อสาม และถือเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักชะรีอะฮฺ
.......................................
 (อ้างอิงจากหนังสืออัลฟะตาวา อัลมุฮิมมะฮฺ ของชัยคฺ มุฮัมมัด บิน ศอลิฮฺ อัลอุษัยมีน หน้า 340)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น