อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การยืนยันเอกภาพต่ออัลลอฮฺ




กิตาบุตเตาฮีด ตำราการยืนยันเอกภาพต่ออัลลอฮฺ
บทที่ว่าด้วยการยืนยันเอกภาพต่ออัลลอฮฺ




อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า :

وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنْسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ

“และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์ (มาเพื่ออื่นใด) เว้นแต่ว่าเพื่อให้เขาเคารพภักดีต่อข้า”

(อัซซาริยาต : 56)

อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า :

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ

“และแน่นอนเราได้ส่งศาสนทูตไปยังทุก ๆ ประชาชาติ (โดยมีรับสั่งว่า) ให้พวกเขาเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และห่างไกลจากทุกสิ่งที่ถูกสักการะ...”

(อันนะหลฺ : 36)

อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า :

وَقَضَى رَبُّكَ أَلَّا تَعْبُدُوا إِلَّا إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا

“และพระเจ้าของเจ้าทรงมีบัญชาว่า พวกท่านทั้งหลายอย่าเคารพภักดีผู้ใดทั้งสิ้น นอกจากพระองค์ เท่านั้น และจงปฏิบัติดีกับพ่อแม่ทั้งสอง...”

(อัลอิสรออฺ : 23)

อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า :

وَاعْبُدُوا اللَّهَ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا

“พวกท่านทั้งหลายจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น และอย่าได้ตั้งภาคีเทียบเคียงด้วยสิ่งใด ต่อพระองค์เป็นอันขาด และจงปฏิบัติดีกับพ่อแม่ทั้งสอง...”

(อันนิซาอฺ : 36)

อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า :

قُلْ تَعَالَوْا أَتْلُ مَا حَرَّمَ رَبُّكُمْ عَلَيْكُمْ أَلَّا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا

“จงกล่าวเถิด (มูฮัมหมัด) ว่าพวกท่านทั้งหลายจงมากันเถิด ฉันจะอ่านให้ฟังถึงสิ่งที่พระเจ้าของพวก ท่านได้ทรงห้ามพวกท่านไว้ คือ พวกท่านอย่าได้ตั้งภาคีเทียบเคียงด้วยสิ่งใดต่อพระองค์เป็นอันขาด และจงปฏิบัติดีกับพ่อแม่ทั้งสอง...”

(อัลอันอาม : 151)

หะดีษที่ (1) – ท่านอิบนุ มัซอู๊ด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า :

مَنْ أَرَادَ أَنْ يَنْظُرَ إلِىَ وَصِيَّةِ مُحَمَّدٍ صَلىَ اللهُ عليه وسلم الَّتِيْ عَلَيْهَا خَاتَمُهُ فَلْيَقْرَأْ قَوْلَهُ تَعَالىَ : قُلْ تَعَالَوْا أَتْلُ مَا حَرَّمَ رَبُّكُمْ عَلَيْكُمْ أَلَّا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا إِلىَ قَوْلِهِ تَعَالَى وَ أَنَّ هَذَا صِرَاطِيْ مُسْتَقِيْمًا

“บุคคลใดต้องการที่จะพิจารณาถึงคำสั่งเสียของมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งคำสั่งเสีย นั้นมีการประทับตราท่านอยู่ ดังนั้นจงอ่านคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า “จงกล่าวเถิด (มูฮัมหมัด) ว่าพวกท่าน ทั้งหลายจงมากันเถิด ฉันจะอ่านให้ฟังถึงสิ่งที่พระเจ้าของพวกท่านได้ทรงห้ามพวกท่านไว้ คือ พวกท่านอย่าได้ตั้งภาคีเทียบเคียงด้วยสิ่งใดต่อพระองค์เป็นอันขาด” อ่านไปจนถึงคำตรัสของพระองค์ ที่ว่า ”และมันคือทางของข้าที่เที่ยงตรง””

(บันทึกโดยติรมีซียฺ : 3070 ฏ็อบรอนียฺ , อัลกะบีร  : 10060)

หะดีษที่ (2) – ท่านมุอาซฺ อิบนุ ญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า :

يُصْبِحُ عَلَى كُلِّ سُلَامَى مِنْ أَحَدِكُمْ صَدَقَةٌ فَكُلُّ تَسْبِيحَةٍ صَدَقَةٌ وَأَمْرٌ بِالْمَعْرُوفِ صَدَقَةٌ وَنَهْيٌ عَنْ الْمُنْكَرِ صَدَقَةٌ وَيُجْزِئُ مِنْ ذَلِكَ رَكْعَتَانِ يَرْكَعُهُمَا مِنْ الضُّحَى

“กระดูกทุกข้อในร่างกายของคนหนึ่งคนใดจากพวกท่าน ต้องทำทาน (เพื่อขอบคุณอัลลอฮฺ) ดังนั้น ทุกคำตัสเบี๊ยะหฺ คือเศาะดาเกาะฮฺ การสั่งใช้ให้ทำความดีคือเศาะดาเกาะฮฺ การห้ามให้ออกห่างความ ชั่วคือเศาะดาเกาะฮฺ และสิ่งที่จะมาทดแทนในเรื่องดังกล่าวก็คือการละหมาดฎุฮา  2 ร่อกะอะฮฺ”

(บันทึกโดยมุสลิม)

หะดีษที่ (2) – ท่านมุอาซฺ อิบนุ ญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า :

كُنْتُ رَدِيْفَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم عَلىَ حِمَارٍ فَقَالَ لِيْ يَا مُعَاذُ أَتَدْرِي مَا حَقُّ الله عَلَى العِبَادِ، وَمَا حَقُّ العِبَادِ عَلَى الله؟ قُلْتُ اللهُ ورسولُـهُ أعلمُ، قال فَإنَّ حَقَّ الله عَلَى العِبَادِ أَنْ يَـعْبُدُوهُ وَلا يُشْرِكُوا بِـهِ شَيْئاً وَحَقُّ العِبَادِ عَلَى الله أَنْ لا يُـعَذِّبَ مَنْ لا يُشْرِكُ بِـهِ شَيْئاً فَقُلْتُ يَا رَسُولَ الله أَفَلا أبشرُ النَّاسَ؟ قال لا تُبَشِّرْهُـمْ فَيَتَّكِلُوْاَ

“ฉันเคยนั่งซ้อนท้ายท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บนหลังลา ท่านนบีได้กล่าวกับฉันว่า : มุอาซฺ ท่านทราบหรือไม่ว่าสิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวนั้นคืออะไร ? และสิทธิของบ่าวที่มีต่อพระองค์คืออะไร ? ฉันตอบว่า : อัลลอฮฺและเราะซูลเท่านั้นที่ทราบดี ท่านเราะซูลก็กล่าวว่า : “สิทธิของอัลลอฮฺที่พึงได้รับ จากบ่าวก็คือพวกเขาจะต้องเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น และอย่าได้ตั้งภาคีเทียบคียง ด้วยสิ่งใดต่อพระองค์เป็นอันขาด ส่วนสิทธิของบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺผู้สูงส่งก็คือ พระองค์จะไม่ ทรงลงโทษผู้ที่ไม่ยึดสิ่งใดเป็นภาคีเทียบเคียงพระองค์” ฉันถามว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ จะไม่ให้ฉัน บอกคนอื่นด้วยหรือ ?” ท่านตอบว่า : อย่าบอกพวกเขา เดี๋ยวพวกเขาจะมอบหมายต่ออัลลอฮฺ (โดยละเลย ไม่เป็นอันทำการงานใด ๆ) ”

(บันทึกโดยบุคอรียฺ : 2856 มุสลิม : 30)

ประเด็นต่างในบทนี้ :

ประการที่หนึ่ง : ข้อคิดในการสร้างญินและมนุษย์

ประการที่สอง : การเคารพภักดีคือการยืนยันให้ความเป็นเอกภาพต่ออัลลอฮฺ ซึ่งมีการโต้เถียงกันในเรื่องนี้ (ระหว่างท่านนบีกับมุชริกมักกะฮฺ)

ประการที่สาม : บุคคลใดไม่ได้นำมาซึ่งการยืนยันให้ความเป็นเอกภาพต่ออัลลอฮฺ เท่ากับว่าเขาไม่ได้เคารพ ภักดีต่ออัลลอฮฺองค์เดียว ดังโองการที่ว่า :

وَلَا أَنْتُمْ عَابِدُونَ مَا أَعْبُدُ

“และพวกท่านก็มิใช่เป็นผู้ที่เคารพภักดีพระเจ้าที่ฉันเคารพภักดี”

(อัลกาฟิรูน : 3)

ประการที่สี่ : ข้อคิดในการส่งบรรดาศาสนฑูต

ประการที่ห้า : การส่งเราะซูลมานั้น เกิดขึ้นในทุกประชาชาติ

ประการที่หก : ศาสนาของบรรดานบีนั้น คือศาสนาเดียวกัน

ประการที่เจ็ด : ประเด็นสำคัญก็คือ การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺนั้น จะไม่เกิดขึ้น นอกจากว่าต้องปฏิเสธทุกสิ่งทุก อย่างที่ถูกเคารพกราบไหว้ ดังโองการที่ว่า :

فَمَنْ يَكْفُرْ بِالطَّاغُوتِ وَيُؤْمِنْ بِاللَّهِ فَقَدِ اسْتَمْسَكَ بِالْعُرْوَةِ الْوُثْقَىَ

“...ฉะนั้นบุคคลใดปฏิเสธต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกเคารพกราบไหว้ และเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺองค์เดียว แน่แท้เขาได้ยึดมั่นห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว...”

(อัลบะกอเราะฮฺ : 256)

ประการที่แปด : อัฏฏอฆูตนั้น คือ ทุกสิ่งที่ถูกเคารพสักการะนอกเหนือจากอัลลอฮฺ

ประการที่เก้า : เรื่องราวที่สำคัญของสามโองการที่ชัดเจนในซูเราะฮฺอันอามบนความเข้าใจของชาวสะลัฟ (ชนยุคสามร้อยปีแรกที่มีอะกีดะฮฺถูกต้อง) มีอยู่สิบประเด็น ประเด็นแรกคือห้ามการตั้งภาคี

ประการที่สิบ : โองการต่าง ๆ ที่ชัดเจนในซูเราะฮฺอัลอิสรออฺนั้น มีอยู่สิบแปดประเด็นด้วยกัน อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงเริ่มต้นโองการนั้นว่า :

لَا تَجْعَلْ مَعَ اللَّهِ إِلَهًا آخَرَ فَتَقْعُدَ مَذْمُومًا مَخْذُولًاَ

“พวกท่านทั้งหลายอย่าทำให้มีพระเจ้าอื่นเทียบเคียงคู่อัลลอฮฺโดยเด็ดขาด มิเช่นนั้นแล้วพวกท่านจะ กลายเป็นผู้ถูกเหยียดหยามถูกทอดทิ้ง”

(อัลอิสรออฺ : 22)

และอีกโองการหนึ่งว่า :

لَا تَجْعَلْ مَعَ اللَّهِ إِلَهًا آخَرَ فَتَقْعُدَ مَذْمُومًا مَخْذُولًاَ

“...พวกท่านทั้งหลายอย่าทำให้มีพระเจ้าอื่นเทียบเคียงคู่อัลลอฮฺโดยเด็ดขาด มิเช่นนั้นแล้วพวกท่านจะ ถูกโยนลงนรกญะฮันนัม โดยเป็นผู้ถูกครหา ผู้ถุกขับไล่”

(อัลอิสรออฺ : 39)

และอัลลอฮฺ ตะอาลาทรงเตือนพวกเราถึงประเด็นที่สำคัญนี้ว่า :

ذَلِكَ مِمَّا أَوْحَى إِلَيْكَ رَبُّكَ مِنَ الْحِكْمَةِ

“นั่นคือส่วนหนึ่งจากที่พระเจ้าของเจ้าทรงประทานข้อคิดให้แก่เจ้า...”

(อัลอิสรออฺ : 39)

ประการที่สิบอ็ด : โองการในซูเราะฮฺอันนิซาอฺ ซึ่งถูกเรียกว่า “โองการของสิทธิต่าง ๆ สิบประการ” อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงเริ่มต้นโองการนั้นว่า  :

وَاعْبُدُوا اللَّهَ وَلَا تُشْرِكُوا بِهِ شَيْئًا وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًاِ

“พวกท่านทั้งหลายจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น และอย่าได้ตั้งภาคีเทียบเคียงด้วยสิ่งใด ต่อพระองค์เป็นอันขาด...”

ประการที่สิบสอง : คำเตือนต่อคำสั่งเสียของท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ขณะที่ท่านจะจากโลกนี้ไป

ประการที่สิบสาม : การรู้จักสิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเราทุกคน

ประการที่สิบสี่ : การรู้จักสิทธิของบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺ ในเมื่อเขาได้ปฏิบัติสิทธิของพระองค์

ประการที่สิบห้า : นี่คือประเด็นที่เศาะฮาบะฮฺส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบ (ในเวลานั้น)

ประการที่สิบหก : อนุญาตให้ปกปิดความรู้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่มุสลิม

ประการที่สิบเจ็ด : ส่งเสริมให้แจ้งข่าวดีแก่มุสลิม ด้วยสิ่งเป็นความปลามปลื้มดีใจแก่เขา

ประการที่สิบแปด : ความกลัวในการมอบหมายต่ออัลลอฮฺ (โดยไม่ทำการงานใด ๆ) ในความเมตตาอันมากมาย ของพระองค์ (ต่อบ่าวที่ไม่ตั้งภาคี โดยไม่ลงโทษพวกเขา)

ประการที่สิบเก้า : คำพูดของผู้ที่ถูกถามในสิ่งที่เขาไม่รู้ โดยตอบว่า :

اللهُ ورسولُـهُ أعلمُ

“อัลลอฮฺและเราะซูลเท่านั้นที่ทรงรู้ดียิ่ง”

ประการที่ยี่สิบ : อนุญาติให้บอกความรู้เจาะจงเฉพาะบางคนได้ทราบ และไม่บอกให้อีกบางคนได้ทราบ

ประการที่ยี่สิบเอ็ด : ความนอบน้อม ถ่อมตนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการขี่ลา และการ ให้ผู้อื่นซ้อนท้าย

ประการที่ยี่สิบสอง : อนุญาติให้ซ้อนท้ายบนพาหนะได้

ประการที่ยี่สิบสาม : ความประเสริฐของมุอาซฺ อิบนุ ญะบัล

ประการที่ยี่สิบสี่ : เรื่องราวที่สำคัญยิ่งในประเด็นนี้

.......................................

 โดย มูฮัมหมัด อิบนุ อับดิลวะฮาบ

แปลโดย วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ

http://www.warasatussunnah.net/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น