อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทัศนะที่ว่าใครเห็นจันทร์เสี้ยวถือเป็นการเห็นของประชาชาติทั้งหมด





การดูจันทร์เสี้ยว นั้นแบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ คือ

ทัศนะแรก ประเทศใครประเทศมัน หากประเทศนั้นเห็นจันทร์เสี้ยววันนั้นก็เป็นวันแรกของการถือศิลอด หรือออกอีด และหากไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในคืนนั้นก็ไม่ต้องติดตาม ประเทศอื่นๆอีก อย่างในมัซฮับชาฟีอีย์ในบ้านเรา

ทัศนะที่ 2 ถือว่าบุคคลใดก็ตามที่เห็นจันทร์เสี้ยว ณ ที่แห่งหนึ่งแห่งใด ไม่ว่าการเห็นจันทร์เสี้ยวนั้นจะอยู่ใกล้ หรือไกลก็ตาม ก็เท่ากับว่าเป็นการเห็นของประชาชาติมุสลิมทั้งหมด โดยไม่ต้องกำหนดอาณาเขตในการดูจันทร์แต่ละประเทศ ถึงแม้ประเทศที่เราอาศัยไม่เห็นจัทร์เสี้ยว แต่หากประเทศอื่นเห็น เราก็ต้องถือศิลอด หรือออกอีดในวันนัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ ทั่งในมัซฮับมาลีกี ฮานาฟีย์ ฮับบาลี และส่วนหนึ่งของมัซฮับชาฟีอีย์

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ รายงานว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
صُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَاِنْ غُمِّيَ عَليْكُمُ الشَهْرُ فَعُدُّوا ثَلاَثِيْنَ


“พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอด (เข้ารอมฏอน) เนื่องจากเห็นเดือนเสี้ยว และจงออกจากศีลอด (ออกจากรอมฏอน) เมื่อเห็นเดือนเสี้ยว แต่หากเดือนนั้นถูกบดบังพวกเจ้าจงนับให้ครบ 30 วัน” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษาเลขที่ 1810

ทัศนะที่ว่าใครเห็นจันทร์เสี้ยวถือเป็นการเห็นของประชาชาติทั้งหมด

สำหรับทัศนะที่ไม่ถือเขตประเทศใดเป็นกรอบในการดูจันทร์เสี้ยว หากในประเทศไทยจุฬาราชมนตรีประกาศว่าเห็นดวงจันทร์ในประเทศไทย ก็จะถือว่าวันนั้นเป็นวันเข้าบวช-ออกบวช แต่หากจุฬารัฐมนตรีประกาศว่าไม่เห็นจันทร์เสียวในประเทศไทย ก็ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าประเทศอื่นเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่ อย่างประเทศไทย หากจุฬาราชมนตรี ประกาศว่าคืนถัดจากวันที่ 29 ของเดือนไม่มีใครเห็นจันทร์เสี้ยวในประเทศ ก็ไม่ใช่ว่าจะยืนยันชัดเจนว่าไม่ต้องถือศิลอดหรือออกอีดในวันนั้น ก็ต้องตรวจสอบเมืองหรือประเทศข้างเคียงด้วย ซึ่งเมื่อก่อนการสื่อสารกันในแต่ละพื้นที่นั้นไม่สะดวก จึงไม่สามารถรับทราบได้ว่าประเทศอื่นเขาเห็นจันทร์เสี้ยว หรือไม่ เราก็ปฏิบัติตามความสามารถของเรา นั้นคือ หากเราไม่เห็นจันทร์เสี้ยว เราก็ไม่ต้องเข้า-ออกบวชในวันนั้น แต่ให้เข้าบวช-ออกบวชอีกวันถัดไป เพราะศาสนาให้เราปฏิบัติตามความสามารถ แต่ปัจจุบัน การสื่อสารพัฒนาไปมาก ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถติดต่อกันได้ทุกที่ที่ทุกเวลา ไม่ว่าทางโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น เราก็สามารถทราบผลการดูจันทร์เสี้ยวในประเทศข้างเคียงหรือประเทศต่างๆทั่วโลกได้ อย่างประเทศอินโดนิเซีย เวลาก็ตรงกับประทศไทย เราก็สามารถตรวจสอบผลการดูจันทร์เสี้ยวของประเทศอินโดนิเซียได้ และหากปรากฏว่าประเทศอินโดนิเซียก็ไม่เห็นจันทร์เสี้ยวอีก เราก็ตรวจสอบผลการดูจันทร์เสี้ยวได้ทั่วโลก อย่างประเทศซาอุดิอาระเบีย หรือซีเรีย เวลาช้ากว่าประเทศไทยกว่า ๔ ชั่วโมง ประเทศอียิปต์ เวลาช้ากว่าประเทศไทย ๕ ชั่วโมง ก็ต้องรอดูผลการดูจันทร์เสี้ยวของประทศซาอุดิอาระเบีย หรือซีเรีย อีกสี่ชั่วโมง หรือเวลา ๕ ทุ่ม หากประเทศซาอุอาราเบีย และซีเรียไม่เห็นจันทร์เสี้ยวอีก ก็รอผลการดูจันทร์เสี้ยวของประเทศอียิปต์ ในเวลาเที่ยงคืน หากปรากฏไม่เห็นจันทร์เสี้ยวอีก ก็ต้องรอการดูผลการดูจันทร์เสี้ยวของประเทศอื่นๆอีก จนกว่าจะเห็นดวงจันทร์ หรือจนกว่าจะรุ่งสาง เมื่อถึงรุ่งสางแล้วไม่มีการเห็นจันทร์เสี้ยว ถือว่าวันนั้นไม่ต้องถือศิลอดอีก ถึงแม้จะเห็นจันทร์เสี้ยวหลังจากนั้น เพราะการถือศิลอดฟัรฎูเดือนรอมาฎอนนั้นต้องมีการเหนียตก่อนถึงเวลาถือศิอด นี้คือการดูจันทร์ตามทัศนะที่ว่าใครเห็นดวงจันทร์เสี้ยวเป็นการเห็นจันทร์ของประชาติทั้งหมด

หะดิษทีใช้เป็นหลักฐานทัศนะที่ว่าการดูจันทร์เสี้ยวต้องเฉพาะเมืองน หรือประเทศนั้น

สำหรับทัศนะที่ว่าการดูจันทร์เสี้ยวต้องเฉพาะเมืองนั้น หรือประเทศนั้น เป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนน้อย โดยอาศัยหะดิษที่เรียกว่ากุรอยบ์ ที่รายงานว่าท่านอุมมุลฟัฏล์ บินต่าฮาริส ได้ส่งท่านกุรอยบ์ไปหามุอาวิยะห์ที่แค้วนชาม(ประเทศซีเรีย , อิรัค ,จอร์แดน และเลบานอนในปัจจุบัน) ขณะนั้นเดือนรอมฏอนได้ย่างเข้ามาขณะท่านกุรอยบ์ยังอยู่ที่ชาม โดยเขาเห็นเดือนเสี้ยวข้างขึ้นในคืนวันศุกร์ ต่อมาเขาก็ได้เดินทางกลับนครมะดีนะห์ในตอนปลายเดือนริมาฎอนนั้น ปรากฏว่าที่นครมาดีนะฮฺเห็นจันทร์เสี้ยวในวันเสาร์ เมื่อจะออกบวช ที่นครมะดีนะฮฺ ก็มีการปรึกษากันว่าจะยึดวันไหน เป็นวันศุกร์(ยึดตามเมืองชาม) หรือวันเสาร์(ยึดตามเมืองมาดีนะฮฺ) เป็นวันแรกถือศิดอด เพื่อจะกำหนดวันที่ดูจันทร์เสี้ยวออกบวช ท่านอิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า เมื่อที่นครมะดีนะฮฺเห็นจันทร์เสี้ยววันเสาร์ตอนเข้าบวช ก็ให้ยึดวันนั้นเป็นวันที่ ๑ ของเดือนรอมาฎอน นั้นก็คือเมื่อนับตั้งแต่วันเสาร์เป็นวันที่ ๑ จนถึงวันที่ ๒๙ หลังจากนั้นคืนถัดจากวันที่ ๒๙ ของเอนรอมาฎอนก็จะมีการดูจันทร์เสี้ยว หากไม่เห็นจันทร์เสี้ยวก็ให้ถือวันนั้นเป็นวันที่ ๓๐ ของเดือนรอมาฎอน และวันถัดจากนั้นจึงจะออกบวช และท่านอิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “อย่างนี้แหละที่ท่านรอซูลเคยใช้พวกเรา” 

 ผู้ที่ตามทัศนะเอาเขตเมืองหรือประเทศเป็นหลักในการดูจันทร์เสี้ยว ได้ตีความว่าหะดิษนี้เป็นหลักฐานว่าให้ยึดถือเมืองหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยไม่ต้องยึดถือตามประเทศอื่นที่เห็นจันทร์เสี้ยวที่ไม่ตรงกับเมืองหรือประเทศของตน

แต่หะดิษดังกล่าว ไม่ได้ระบุไว้เลยว่าให้รับผลดูจันทร์ออกบวชเฉพาะในเมืองมาดีนะฮฺ ไม่ให้ดูผลการดูดวงจันทร์ของเมืองชามแต่อย่างใด  เพราะขณะนั้นยังไม่ถึงเวลาการดูจันทร์เสี้ยว ทั้งเมืองมาดีนะฮฺและประเทศชามจึงยังไม่ทราบผลการดูจันทร์ออกบวช ส่วนการดูจันทร์เสี้ยวเข้าบวชนั้น ก็ได้ผ่านมาแล้วจนเกือบสิ้นเดือนรอมาฎอน จึงรู้ว่าเมืองนครมาดีนะฮฺเห็นจันทร์เสียวไม่ตรงกับเมืองชาม หากท่านกุรอยบ์ไม่ได้เดินทางไปเมืองชาม ก็จะไม่ทราบเลยว่าเมืองมาดีนะฮฺกับเมืองชามเห็นจันทร์เสี้ยวไม่ตรงกัน แต่กว่าท่านกุรอยบ์กลับมาเมืองมาดีนะฮฺ ก็เป็นปลายเดือนของเดือนรอมาฎอนไปแล้ว ซึ่งขณะที่ท่านกุรอยบ์ได้เห็นจันทร์เสี้ยวที่เมืองชามในวันศุกร์ก็ไม่สามารถสื่อสารหรือส่งข่าวมายังผู้คนในเมืองมาดีนะฮได้ ผู้คนในมาดีนะฮฺก็ได้เริ่มถือศิลอดในวันเสาร์ตามที่พวกเขาเห็นจันทร์เสี้ยว แต่ไม่ได้หมายความว่าชาวมาดีนะฮฺไม่รับผลการดูจันทร์เสี้ยวในเมืองชาม และการยึดถือเอาวันเสาร์เป็นวันที่หนึ่ง เดือนรอมาฎอน ก็เพื่อให้วันเสาร์ที่ชาวมาดีนะฮฺได้เห็นจันทร์เสี้ยวเป็นวันเริ่มนับให้ครบ 29 วัน ที่พวกเขาถือศิลอดจนครบเดือนแล้ว เพื่อจะดูจันทร์เสี้ยวออกบวชวันไหน เดือนรอฎอนในปีนั้นจะมี 29 วัน หรือ 30 วัน ก็ขึ้นอยู่ของผลการดูจันทร์เสี้ยวในคืนถัดจากวันที่ 29 เดือนรอมาฎฮน หะดิษบทนี้จึงไม่อาจเป็นหลักฐานอ้างอิง ตามทัศนะที่ใช้เขตเมืองหรือประเทศในการรับผลการดูจันทร์เสี้ยวเข้าบวช-ออกบวชแต่อย่างใด

การกำหนดวันเข้าบวช-ออกบวชโดยไม่ดูจันทร์เสี้ยว

และการกำหนดวันเข้าบวช-ออกต้องมีการดูจันทร์เสี้ยว แต่ปรากฏว่าประเทศมาเลเซียอันเป็นประเทศที่มีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่กลับไม่มีการกำหนดดูจันทร์เสี้ยว แต่จะกำหนดวันตามปฏิทิน ประเทศไหนเห็นจันทร์เสี้ยว หรือไม่เห็นก็ตามที ประเทศมาเลเซียก็ถือศิดอดตามที่กำหนดในปฏิทิน ซึ่งขัดกับบทบัญญัติศาสนา ซึ่งท่านรสูลุลลอฮฺ อุลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “อิสลามไม่มีการคำนวณในเรื่องกำหนดเดือน” นั้นเอง



 والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น