อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ชีวประวัติหะซัน บันดุง





ในปีคศ.1958 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ชาวมุสลิมทั้งในอินโดนิเซียและมาเลเซีย ต่างได้รับข่าวอันหนึ่งด้วยความสลดใจ ซึ่งเป็นข่าวการจากไปของอุละมาอฺที่มีชื่อท่านหนึ่ง โดยจะไม่มีวันกลับมาอีก

เป็นอุละมาอฺที่มีความคิดก้าวหน้า เป็นนักวิจารณ์ที่มีความคมคาย เป็นนักเขียนเเละนัดพูดที่ไม่มีใครเทียบได้ นั่นคือ "หะซัน บิน อะหฺมัด"หรือ "เอ.หะซัน"หรือ "หะซัน บันดุง"หรือ "หะซัน บางีล"

ท่านผู้นี้ เกิดที่สิงคโปร์ ปี1877 พ่อของท่านคือ"อะหฺมัด"เป็นนักเขียนเเละนักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อในสมัยนั้น ซึ่งได้ออกหนังสือหลายเล่ม แม่ชื่อ "ฮาญะฮฺ มัซนะฮฺ" เชื้อสายอินเดีย เกิดที่สุราบายา แล้วย้ายไปอยู่ที่สิงคโปร์ และให้กำเนิด หะซัน ที่นั่น
เข้าศึกษาศาสนาเเละภาษาต่างฯตั้งแต่ยังเล็ก ฉะนั้น!จึงไม่แปลกเลยถ้าท่านผู้นี้สมารถพูดเเละเขียนทั้งภาษาอาหรับ,ตามิล,ดัชท์และอังกฤษ นอกเหนือจากภาษามาลายู-อินโดนิเซีย

ถึงแม้ว่าท่านผู้นี้ไม่เคยเข้านั่งเรียนในมหาวิทยาลัย แต่ด้วยความรอบรู้ของท่าน โดยเฉพาะในวิชาหะดีษ ด้วยไหวพริบในด้านการโต้ตอบเพื่อป้องกันหลักการ ด้วยความสละสลวยในภาษาที่ท่านเขียนและด้วยความคล่องแคล่วในด้านการพูดจาของท่าน ทำให้นิสิตนักศึกษา และครูอาจารย์ ยอมเป็นศิษย์ของท่านจำนวนมากมาย

สมัยหนุ่มท่านเป็นคนไม่เลือกงาน เคยยึดอาชีพด้วยการเป็นลูกจ้างในร้านขายหนังสือ เปิดร้านขายของเล็กฯน้อยฯ เปิดร้านรับปะยางรถยนต์ ตลอดจนเป็นครูสอนศาสนาเเละภาษา เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์รายวันในสิงคโปร์ และในนิตยสารของอินโดนิเซีย

เมื่ออายุได้ 23 ปีเป็นคนเข้มเเข็งคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวัน "อุตูซัน มลายู"(ขณะนั้นออกในสิงคโปร์) ข้อเขียนของท่านในหนังสือพิมพ์นี้ บ่อยครั้งที่ทำให้สังคมของสิงคโปร์สั่นสะเทือน อันใดที่ท่านเห็นว่าขัดกับหลักการศาสนา ท่านจะเขียนลงในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยตรงไปตรงมาและไม่รู้จักกับคำว่า ท้อถอย ลดหย่อนหรือผ่อนผันแม้แต่น้อย และไม่คำนึงถึงผลที่จะติดตามมาภายหลัง ซึ่งในที่สุด ทำให้สังคมสิงคโปร์เกิดปฏิกิริยาขึ้นมา แต่ในด้านการขีดเขียนนับว่าท่านผู้นี้มี"พร"อยู่อย่างหนึ่งคือ แม้ท่านจะเขียนอย่างรุนแรง แต่กฏหมายของบ้านเมืองไม่สามารถจะเล่นงานท่านได้

ปี 1921 "เอ. หะซัน" ย้ายไปอยู่ที่เมืองสุบารายา ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเเม่ พร้อมฯกับพ่อแม่ของท่าน ท่านก็เอาความประพฤติของท่านแบบที่สิงคโปร์นั่นเองไปใช้ในสุบารายา โดยท่านไม่รู้ว่าพวกดัชท์(ฮอลันดา)ในสมัยนั้นได้สร้างกับดักไว้ล้อมรอบท่าน

อันเนื่องจากความว่องไว เอาจริงเอาจัง ผสมกับความรอบรู้ของท่าน ทำให้ท่านผู้นี้ได้รู้จักกับบุคคลสำคัญฯใน"ชะรีกัต อิสลาม"อย่างรวดเร็ว เช่น หาจญ์อุมัรฺ สะอีด,โจกโรอะมีโนโต,หาจญ์อะฆุสสาลิม และอื่นฯ
ครั้งแรกที่ท่านพบกับ กิยาย วะฮาบ แห่ง"นะฮฺเฎาะตุล-อุละมาอฺ"นั้น กิยาย วะฮาบ ได้พูดถึง"เรื่อง"ตัสกีน"กับ"ตะฮฺลีส" วะฮาบได้อธิบายว่า เรื่องนี้ "คณะใหม่"กับ"คณะเก่า" มีความเห็นแตกต่างกัน แต่ในทัศนะของท่านเองนั้นท่านว่า การอ่านตัลกีนและตะฮฺลีลเป็นสุนัต(ทำแล้วได้บุญ ถ้าไม่ทำก็ไม่เป็นไร)

ขณะนั้น เอ.หะซัน ยังมีความคิดเเบบโบราณอยู่(ถือตามแนวความคิดของ อบู หะนีฟะฮฺ) หลังจากได้ฟังคำพูดของ กิยาย วะฮาบดังกล่าวเเล้ว ท่านจึงได้ค้นคว้าตำราต่างฯอย่างเอาจริงเอาจัง เป็นเวลานานพอสมควร แต่ไม่พบหลักฐานเลยว่า การอ่านตัลกีนกับตะฮฺลีลเป็นซุนนะฮฺ ท่าจึงออกความเห็นว่าในเรื่องนี้"ฝ่ายคณะใหม่"เป็นฝ่ายถูก เอ.หะซันเคยกล่าวว่า ที่ทำให้ท่านเป็นคณะใหม่นี้ ก็เพราะคำอธิบายของ กิยาย วะฮาบในเรื่องตัลกีนและตะฮฺลีล นี้เเหละ
"แต่เสียดายจังเลย" เอ.หะซันได้เขียนในหนังสือของท่านเล่มหนึ่ง"ที่-จนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าก็ยังไม่สามารถดึงกิยาย วะฮาบ ให้เข้ามาสังกัดเป็นคนคณะใหม่ได้"

เพราะท่านอยากจะเปิดกิจการเกี่ยวกับการทอผ้า ท่านจึงไปศึกษาที่ กาดีรี (ในชวาตะวันออก)อยู่พักหนึ่ง และศึกษาต่อที่บันดุง จนได้รับปริญา ณ.ที่นั้น แหละท่านได้พบกับบุคคลสำคัญฯของสมาคม "เปอร์ซาตุวันอิสลาม"(เปอร์ซิส)บันดุง ขณะที่ท่านไปถึงที่นั่นเป็นปี 1921 หลังจากสมาคมดังกล่าวได้ดำเนินงานมาแล้ว 1 ปี

ผู้นำของ"เปอร์ซิส" รู้สึกยินดีที่ได้รู้จักกับคนอย่าง เอ.หะซัน พวกท่านเหล่านั้นจึงได้เชิญให้ เอ.หะซัน อยู่ที่บันดุงและให้เป็นอาจารย์ประจำ"เปอร์ซิส"

ปี 1928 ท่านเริ่มแปลและอธิบายอัล-กรุอาน ที่ชื่อว่า "อัล-ฟุรฺกอน"โดยพิมพ์ออกมาเป็นส่วนฯ(ญุซอฺ) และท่านขายเอง รายได้จากการขายตัฟซิรฺนี้ ทำให้ท่านสามารถอยู่ที่นั่นได้

ในตอนนั้นเองท่านได้รู้จักกับซูการ์โน เพราะบังเอิญ ซูการ์โนก็ไปพิมพ์นิตยสาร "ประชาปริทัศน์"(บีกิรัน ระอฺยัต) ของท่านที่โรงพิมพ์"เอโคโนมิ"ซึ่ง"อัล-ฟุรกอน" ก็พิมพ์อยู่ที่นั่นด้วย หลังจากนั้นทั้งสองท่านได้พบกันบ่อยฯ จนซูการ์โนสนใจในศาสนา และยอมรับว่า เอ.หะซันเป็นอาจารย์ของท่าน ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองท่านนี้ ได้ดำเนินอย่างแน่นเเฟ้นเรื่อยมา แม้ซูการ์โนได้ถูกเนรเทศไปอยู่ อินเดะฮฺ ซูการ์โนก็ยังเขียนจดหมายถามปัญหาศาสนาถึง เอ.หะซัน อยู่เสมอ(ต่อมาจดหมายต่างฯ ที่ซูการ์โนเขียนถึง เอ.หะซัน ได้ถูกรวบรวมพิมพ์ให้เป็นเล่ม โดยมีชื่อว่า "จดหมาย(ถาม)เกี่ยวกับอิสลามจากอินเดะฮฺ"(Surat Islam Dari Indeh)

ในสมัยนั้น ไม่มีอุละมาอฺคนไหนที่กล้าโต้(วาที)ปัญหาเกี่ยวกับศาสนาเป็นทางการต่อหน้าสาธารณะชนเหมือนกับ เอ.หะซัน ที่ท่านทำอย่างนี้มิใช่เพื่อ "อยากดัง" แต่เพื่อจะต่อต้านและกอบกู้อิสลามต่างหาก ท่านพร้อมเสมอที่จะโต้กับฝ่ายไหนก็ตามที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ว่าพวกหัวโบราณ พวกคริสเตียน อะหฺมะดียะฮฺ ฯลฯ ในการโต้วาทีนั้น ไม่เคยปรากฏเลยว่าท่านเคยเเพ้ใคร

การโต้วาทีที่สำคัญฯมีหลายครั้งด้วยกัน เช่น
1.การโต้กับฝ่ายคริสเตียน โดยมีบาดหลวง Elisink,Dierenhuis และศาสตราจารย์ Schoemaker เป็นตัวเเทนฝ่ายคริสเตียน จากการโต้ครั้งนี้ ทำให้ ศาสตราจารย์ Schoemaker เข้ารับอิสลาม

ตอนหนึ่งในการโต้วาทีครั้งนั้น มีดังนี้

เอ.หะซัน : เริ่มบันทึกคัมภีร์ไบเบิลเมื่อไหร่ ?

Elisink : ประมาณ 28 ปีหลังจากพระเยซูขึ้นสวรรค์

เอ.หะซัน : หมายความว่า ในระหว่าง 28 ปีนั้น คัมภีร์ไบเบิลยังไม่มี ?

Elisink : ใช่! ไม่มี

เอ.หะซัน : เอ้า !แล้วเขาบันทึกกันได้อย่างไร ?

Elisink : ได้รับการดลใจ จากพระเจ้า

เอ.หะซัน : ท่านมีข้อพิสูจน์อย่างไร ถ้าการดลใจที่ท่านว่านั้น มาจากซาตาน ?

Elisink : เรื่องนี้ขอตอบในอาทิตย์หน้า

2.โต้กับพวกก็อดยานีที่บันดุงและที่ญาการ์ตา ซึ่งในที่สุด เมาลานา อับดุรฺ ร็อซซ๊าก สารภาพว่า เขาผิดจริงและขอเตาบะฮฺตัว ออกจากก็อยานี

3.โต้กับพวกไม่นับถือพระเจ้าที่ญาร์การ์ตา ซึ่งมีสุราดัล เป็นตัวแทนฝ่ายไม่นับถือพระเจ้า และที่มาลังโดยมี หะซันผู้นำฝ่ายไม่นับถือพระเจ้าเป็นผู้แทน ในที่สุดหะซันผู้นี้ คุกเข่าขอสารภาพบาป และยอมรับอิสลามใหม่

4.กับกิยาย วะฮาบ แ่ห่งนะฮฺเฎาะตุล-อุละมาอฺ ที่บันดุง ในเรื่อง "ตักลีด"
และยังมีอีกหลายครั้งที่เขาจัดให้โต้วาที โดยมีฝ่าย เอ.หะซัน ไปคนเดียวก็มี โดยอีกฝ่ายหนึ่งขอตัวก็บ่อยครั้งเช่นกัน

ในชีวิตของท่าน ท่านได้รับความสำเร็จหลายอย่าง เช่น
1.ในฐานะอาจารย์ ท่านได้รับความสำเร็จในการดัดแปลงโรงเรียนศาสนาเเบบเก่า มาเป็นระบบใหม่ทั้งใน บันดุง และบางีล จากโรงเรียนของท่านดังกล่าวนี้แหละทำให้เกิดมีนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ผู้นำและบุคคลสำคัญของมุสลิมนับเป็นพันฯคน คนหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ "มุฮัมมัด นาศิรฺ"ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีอินโดนิเซีย ขณะนั้นเป็นประธานสมาคมเพื่อเผยแพร่อิสลามแห่งอินโดนิเซีย(Dewan Da'wah Islam Indonisia) และเเม้แต่ซูการ์โนก็ยอมรับว่า เอ.หะซันเป็นอาจารย์ของท่าน

2.ในฐานะนักเขียน ท่านได้ผลิตหนังสือหลายเล่ม ทั้งนิตยสารเเละหนังสือเล่ม นิตยสารที่เเพร่หลายทั่วอินโดนิเซียและมาเลเซียก็คือ "เปิมเบลา อิสลาม" "อัล-ลิซาน" และ "ครีทิก"
นิตยสารดังกล่าว เป็นการเปิดประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการสื่อมวลชนของมุสลิม ที่เป็นหนังสือเล่ม ที่พอจะระบุชื่อในที่นี้ก็คือ อัต-เตาฮีด,เปองาญารัน เศาะลาฮฺ,อันนุบุวะฮฺ,อุศูลุล-ฟิกฮฺ,คำแปล "บุลูฆุลมุรอม" อัล-ฮิดายะฮฺ,อัล-หุกม์,อัล-มุคตารฺ,อิสลามเเละชาตินิยม,เกียรติความเป็นพระเจ้าของพระเยซู,ก.ข.ค.การเมือง,สตรีมุสลิม,ปทานุกรมอินโดนิเซีย-ฮินดี,อิสลามคืออะไร?,มุฮัมมัดเป็นรอซูลจริงหรือ?ริสาละฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ,ริสาละฮฺ มิอฺรอจญ์,ตัลกีน,สุอาล-ญะวาบ,ตัฟซีรฺ อัล-ฟุรฺกอน,พระเจ้ามีจริงหรือ?,First Step Before Learning English,Spceial Dictionary ฯลฯ

3.ในฐานะผู้พิมพ์ ท่านได้ซื้อกิจการโรงพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งท่านเคยทำงานในด้านนี้นับตั้งแต่ยังหนุ่ม คือ เคยเป็นผู้ตรวจอักษร(Proof)เคยเป็นช่างแท่นเเละช่างเรียง นอกจากนี้ ยังมีร้านขายหนังสือที่มีระเบียบและโรงเรียนศาสนาที่ใหญ่โต

ตอนปลายชีวิตของท่าน ท่านเป็นที่ปรึกษาของ "มะชูมิ"ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น
ท่านได้จากไปนานเเล้ว แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีอุละมาอฺคนใดที่พอจะมาแทนที่ของท่านได้ ถึงอย่างไรก็ตามลูกศิษย์ของท่านมีอยู่มากมายที่ได้ดำเนินงานเผยแพร่อิสลามตามเเบบซุนนะฮฺ ทั้งในอินโดนิเซียเเละมาเลเซีย

ทางภาคใต้ของเราซึ่งสมัยก่อน ผู้คนเกลียดชื่อ หะซัน บันดุง ยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด แต่ต่อมาโรงเรียนศาสนาบางแห่งได้เอาตัฟซีรฺ "อัล-ฟุรฺกอน"และตำราต่างฯของท่านผู้นี้เข้ามาเป็นหลักสูตรของโรงเรียน

..............................
โดย : อะหมัด อะมีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น