คือ 1.สิ่งที่ขุดได้ หรือขุมทรัพย์
2.สิ่งถูกฝังไว้ คือ ทรัพย์ของหาย เป็นทรัพย์ที่ถูกฝังในที่ดินครอบครอง หรือกรรมสิทธิ์ และของเก็บตก คือทรัพย์สินที่ถูกฝังในพื้นดินที่เป็นดินสาธารณะ
3.สินแร่ใต้พื้นดิน ได้แก่ สินแร่ที่เป็นของแข็ง สามารถหลอมเหลวจนตัวเป็นก้อนได้ เช่น ทองคำ เงิน ดีบุก สินแร่ที่เป็นของแข็ง แต่ไม่หลอมเหลว เช่นกำมะถัน ดินสอพอง และสินแร่ที่เป็นของเหลว เช่นน้ำมันดิบ เป็นต้น
การจ่ายทรัพย์สินที่ถูกฝังในพื้นดิน ให้จ่ายซะกาต เศษหนึ่งส่วนห้า (1/5) ของทรัพย์นั้น โดยไม่มีเงื่อนไขของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ต้องพิจาณาว่าครบนิศอบ(พิกัดทองคำ) แต่อย่างใด
ท่ารสูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“และในขุนทรัพย์จ่าย(วะกาต)เศษหนึ่งส่วนห้า” (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 65 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)กรณีที่ทรัพย์ซึ่งขุดพบบรริเวณที่ดินครอบครอง หรือกรรมสิทธิ์ หากรู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของบุคคลใดก็ต้องส่งมอบให้เจ้าของ หรือทายาทของเขา
ส่วนกรณีที่ไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ทรัพย์นั้นจะเสมือนของตกหล่นหาย จำต้องประกาศหาเจ้าของเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่ถ้าไม่พบว่าผู้ใดอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นตกเป็นของผู้พบทรัพย์นั้น
ท่ารสูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“ทรัพย์ที่ตกหล่นตามท้องถนน และในหมู่บ้านทั่วไปนั้น ต้องประกาศ(หาเจ้าของทรัพย์) 1 ปี ดังนั้นหากเจ้าของ(ทรัพย์) มารับก็จงมอบให้แก่เขา แต่ถ้าหากเจ้าของไม่มารับ ทรัพย์นั้นก็เป็นของท่าน (ผู้เก็บทรัพย์นั้น) และทรัพย์ใดที่ตกหล่นบริเวณสถานที่รกร้าง ทรัพย์นั้นเป็นขุนทรัพย์ซึ่งต้องจ่ายเศษหนึ่งส่วนห้านั้นเอง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวู๊ด เลขที่ 1712 เป็นหะดิษหะซัน)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น