อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฮุกุมละหมาดญะมาอะฮฺสำหรับสตรี


ฮุกุมของการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดนั้นเป็นสิ่งที่วายิบในขณะที่ คำอธิบายของปัญหาดังกล่าวมองเผินๆเหมือนกับว่าการละหมาดญามาอะฮฺ นั้นเกือบจะเป็นสิ่งที่วายิบ สำหรับมุสลิมทุกคน ทั้งหญิงและชาย ทั้งที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเนื่องจากในนั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นข้อยกเว้นและสิ่งที่เป็น ข้อปฏิบัติเฉพาะในบรรดาสิ่งที่เป็นข้อปฏิบัติเฉพาะของมันนั้นไม่ได้เป็นการวายิบ สำหรับสตรีในการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดซึ่งสอดคล้องกับอิจญมะอฺ ของบรรดาอุลามะอฺแม้ว่าสตรีสามารถจะไปร่วมละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเป็นการวายิบสำหรับพวกเธอ

ดั่งที่อบูมุหัมมัด บิน ฮัมซฺ   กล่าวว่า
“สำหรับสตรีฮุมกุมของการไป ละหมาดญะมาอะฮฺ ที่มัสยิดนั้นไม่เป็นการวายิบสำหรับพวกเธอ ซึ่งในเรื่องนี้ไม่มีความแตกต่างในทัศนะของบรรดาอุลามะอฺ (ดูใน อัลมุหัลลา ๔:๑๙๖) 

ในทางกลับกันเป็นที่ส่งเสริมให้สตรีละหมาดที่บ้านของพวกเธอเนื่องจากความ ประเสริฐของของการละหมาดที่บ้านของพวกเธอ มากกว่าเมื่อเทียบกับ การที่พวกเธอไปละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิด ท่านนบีกล่าวแก่หญิงนาง หนึ่งความว่า
“จงละหมาดในห้องของเธอดีกว่าละหมาด ในบ้านของเธอ และจงละหมาดในบ้านของเธอ ดีกว่าละหมาด ในมัสยิดของพวกเธอ” (หะดิษรายงานโดยคุซัยมะฮฺ) 

หะดิษดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ขัดแย้งกับหะดิษที่กล่าวความว่า
“การละหมาดที่ มัสยิดของฉัน (มัสยิดนะบะวีย์) ประเสริฐกว่าการละหมาดในมัสยิดอื่นถึง ๑,๐๐๐ เท่า” (หะดิษรายงานโดยมุสลิม)


ชีคอัลอัลบานีย์กล่าวว่า
“หะดิษนี้ไม่ได้ปฏิเสธว่าการละหมาดของพวก เธอ (บรรดาสตรี) ที่บ้านของพวกเธอนั้นประเสริฐกว่าสำหรับพวกเธอ และเช่นเดียวกันที่ไม่ได้ปฏิเสธว่าการละหมาดซุนนะฮฺที่บ้านของผู้ชาย นั้นประเสริฐ กว่าการละหมาดซุนนะฮฺที่มัสยิด แต่ถ้าหากเขา (ผู้ชาย) ละหมาดฟัรฎูในมัสยิดหนึ่งในสามมัสยิด (คือที่มักกะฮฺ มาดีนะฮฺ และอัล อักซอ) ดังนั้นพวกเขาจะได้รับความประเสริฐมากกว่าเมื่อเทียบกับการ ละหมาดในมัสยิดอื่นๆ เช่นเดียวกันนี้สำหรับบรรดาสตรี” (ดูในญิลบาบ อัลมัรอะฮฺ อัลมุสลิมะฮฺ : ๑๕๖)ในหะดิษอื่นท่านนบี   กล่าวความว่า “ท่านอย่าได้ห้ามสตรีของพวกท่าน เมื่อเธอ จะออกไปยังมัสยิดและบ้านของพวกเธอนั้นดียิ่งกว่าสำหรับ พวกเธอ (หะดิษรายงานโดยคุซัยมะฮฺ)


อิมาม อัชเชากานีย์   อธิบายประโยค
“บ้านของพวกเธอนั้นดียิ่งกว่า สำหรับพวกเธอ” ว่า “การละหมาดของพวกเธอที่บ้านของ พวกเธอนั้น ดียิ่งกว่าการที่พวกเธอออกไปละหมาดที่มัสยิด หากว่าพวกเธอได้รู้ (แน่นอนว่าพวกเธอจะไม่ขออนุญาตเพื่อออกไปละหมาดที่มัสยิด) แต่เนื่องจากพวกเธอไม่รู้เรื่องดังกล่าว ดังนั้นพวกเธอ (ศอหาบิยะฮฺหรือ สาวกที่เป็นสตรี) ได้ขออนุญาตออกไปยังมัสยิดด้วย เชื่อมั่นว่าจะ ได้รับผลบุญมากกว่าละหมาดที่บ้านของพวกเธอ (ดูในนะอิลุล อุษัร 3:131)


จากรายงานดังกล่าวข้างต้นบรรดาอุลามะอฺได้ฮูกุมว่าการละหมาดของ สตรีในบ้านของเธอนั้นดีกว่าการละหมาดที่มัสยิด แม้กระนั้นก็ตามอาจ จะเกิดบางคำถามผุดขึ้นในสมองของเราว่า “อันไหนจะดีกว่าการที่สตรี ละหมาดที่บ้านของเธอระหว่างละหมาดเป็นญะมาอะฮฺกับละหมาดคนเดียว” และการละหมาดญามาะฮฺของพวกเธอจะทำให้เธอได้รับดั่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ   กล่าวไว้ (นั่นคือดีกว่า ๒๗ เท่า)?  เพื่อที่จะตอบคำถามนี้เราควรมาดู คำอธิบายหะดิษ (ชาเราะฮฺหะดิษ)

“ละหมาดญะมาอะฮฺดีกว่าละหมาดคนเดียวถึง ๒๕ (ในรายงานอื่นว่า ๒๗) เท่า” หรือว่าหะดิษดังกล่าวมีลักษณะทั่วไปครอบคลุมทั้งชายและ หญิง?

ชีคอัลอัลบานีย์ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับหะดิษของอาอิชะฮฺและอุมมุลสะลามะฮฺซึ่งได้เป็นอิมามนำละหมาดบรรดาสตรี ดังคำกล่าวต่อไปนี้ว่า
 “อาซัร (คำพูดของศอหาบิยะฮฺ) ดังกล่าวเป็นสิ่งดี ที่ควรปฏิบัติ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับคำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮฺ   โดยทั่วไปแล้วบรรดาสตรีนั้นเหมือนกับผู้ชาย ซึ่งความเท่าเทียมกันนี้ ในแง่ของการละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ ไม่ใช่การได้รับผลบุญที่ดีกว่า ๒๕ หรือ ๒๗ เท่า”

จากข้อสังเกตดังกล่าวนั้นเป็นที่ชัดเจนว่าผลบุญ ๒๕ หรือ ๒๗ เท่านั้น สำหรับการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดเท่านั้น

 ดังคำกล่าวของอิบนุ ระยับ ที่ว่า
“แน่นอนว่าสิ่งที่ชัดเจนยิ่งก็คือระดับผลบุญ ที่กล่าวถึงนั้น เฉพาะ(การละหมาด) ญะมาอะฮฺที่มัสยิด” (ดูในฟัตฮุล บารี ๒:๑๕๙)

 เรื่องนี้วางพื้นฐานอยู่บนหะดิษนบีที่กล่าวว่า
 “ละหมาดคนเดียวกับ ละหมาดญะมาอะฮฺ ได้เพิ่มพูนเท่าตัวจากการละหมาด ของเขาที่บ้าน และที่ตลาดถึง ๒๕ เท่า”

เรื่องนี้เขาจะได้เมื่อ เขา อาบน้ำ ละหมาด อย่างสมบูรณ์หลังจากนั้นออกไปยังมัสยิดและเขาไม่ได้ออกไปเว้นแต่เพื่อออกไปละหมาดเท่านั้น ดังนั้นเขาจะไม่ก้าวไปหนึ่งก้าวเว้นแต่จะได้รับการยกขึ้นหนึ่งขั้นและถูกลบออกไปจากนั้นหนึ่งความผิด และเมื่อเขาละหมาดบรรดามลาอิกะฮฺจะขอดุอาให้เขาตราบที่เขายังอยู่ ณ ที่ๆเขาละหมาดด้วยการดุอาว่า
“โอ้ อัลลอฮฺ ได้ทรงโปรดศอลาวาต เหนือมัน เมตตาแก่เขาตราบเท่าที่ผู้หนึ่ง ในระหว่างพวกเขาอยู่ในสภาพ ที่กำลังละหมาด นานเท่ากับการรอคอยเพื่อละหมาด” (รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม)

 ด้วยเหตุนี้การละหมาด ญะมาอะฮฺของสตรีที่บ้าน ของพวกเธอจึงไม่เข้าเงื่อนไขความประเสริฐดังกล่าว (ยี่สิบห้าหรือ ยี่สิบเจ็ดเท่า) แต่พวกเธอจะได้รับความประเสริฐด้วยตัวมันเอง แม้ว่าเธอจะละหมาดด้วยการละหมาดที่เป็นญะมาอะฮฺหรือไม่ก็ตาม เรื่องนี้มีความประเสริฐยิ่งกว่าการละหมาดของพวกเธอที่มัสยิด วัลลอฮฺฮูอะอฺลัมบิศศอวาต (อัลลอฮฺเท่านั้นที่รู้ดียิ่ง หวังว่านี่เป็นสิ่ง ที่ถูกต้อง)

............................
โดยอาจารย์อาลัม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น