ท่านได้เพชิญหน้ากับกองทัพของพวกตาตาร์ ซึ่งนำโดยฆอซาน (หรือชื่อหลังเข้ารับอิสลามว่า มะหฺมูด) ท่านพร้อมกับผู้ศรัทธาอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมถอยหนี ตัดสินใจนำคณะเข้าพบฆอซานเพื่อเจรจาสงบศึก คณะเจรจานำโดยอิบนฺ ตัยมียะฮฺได้พบฆอซานที่นะบักอยู่ใกล้ดามัสกัส
ท่าวกล่าวแก่ฆอซานว่า
"ท่านบอกว่าท่านเป็นมุสลิม ท่านมีมุอัซซิน กอฎี อิมาม ชัยคฺมากับท่านด้วย แต่ท่านกลับบุกรุกพวกเราเพื่ออะไรกันหรือ? ในขณะที่บิดาและฮูลากู ปู่ของท่านนั้นไม่ใช่ผู้ศรัทธา แต่พวกเขาก็ไม่โจมตีแผ่นดินมุสลิม พวกเขาสัญญาว่าจะไม่รุกรานและพวกเขาก็รักษาสัญญา ส่วนท่านสัญญา แต่กลับผิดสัญญา"
ผลของการเจรจาในครั้งนี้ปรากฏว่าฆอซานยอมที่จะไม่เข้ายึดครองดามัสกัส
อีกครั้งหนึ่ง ในปี ฮ.ศ.702 อิบนุ ตัยมียะฮฺก้เข้าร่วมญีฮาดในสงครามต่อสู้กับพวกดาตาร์ ในที่สุดชัยชนะเป็นของฝ่ายมุสลิม
ช่วงชีวิตของอิบนฺ ตัยมียะฮฺ ทานได้ประสบกับภัยลัทธินอกรีตที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ที่มาของความเชื่อผสมผสานระหว่างหลักการของพวกบูชาไฟ และหลักคิดแบบเพลโต ซึ่งมันสามารถหลอกลวงประชาชนคนทั่วไปให้หลงผิด
ชื่อเสียงของท่านโด่งดังขึ้นเรื่อย จนเป็นเป้าโจมตีของผู้อิจฉาริษยา ประกอบกับท่าทีของท่านไม่ยอมปรานีประนอมกับบรรดาผู้ประดิษสิ่งอุตริกรรมในศาสนาขึ้นมาใหม่ ทำให้ท่านเพิ่มศัตรูมากขึ้นด้วย ท่านถูกจับขังหลายครั้ง
ครั้งแรก ในปี ฮ.ศ.705 ถูกจองจำอยู่ในอิยิปต์ เป็นเวลา 16 เดือน
ครั้งที่ 2 ถุกคุมขังอยู่ในเรือนจำที่อเล็กซานเดรีย เป็นเวลา 8 เดือน
และอีก 2 ครั้ง ในดามัสกัส
ด้วยถูกข้อหาเกี่ยวกับการฟัตวาศาสนาของท่านล้วนๆ ได้แก่ การที่ท่านฟัตวาที่ห้ามเจาะจงเดินทางไปเยี่ยมหลุ่มฝังศพของคนดีเป็นการเฉพาะ
และผลสุดท้ายท่านถูกห้ามไม่ให้ใช้กระดาษและน้ำหมึกเด็ดขาด ท่านจำต้องเขียนด้วยถ่าน จนสิ้นลมหายใจในเรือนจำ ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน
แต่นั้น กลับแปลกที่เราไม่พบแม้สักละอองแห่งความท้อแท้สิ้นหวังปรากฏอยู่ในปากคำของชัยคุลอิสลามเลย
แต่เรื่องที่เราจะได้ยินท่านพูดถึงอยู่เสมอ คือ "ความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ" ที่ท่านได้รับจากพระองค์ในช่วงเวลาต่างๆของชีวิต
โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้เราเป็นอย่างชัยคุลอิสลาม แม้เพียงเศษเสี้ยวหนึ่งด้วยเถิด อามีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น