อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การรักษาเอกภาพของผู้ศรัทธา ด้วยการละทิ้งสิ่งที่เป็นมุสตะฮับบางประการ


รายงานจากอิมามชาฟิอีย์ (ร่อหมมะฮุลลอฮฺ) เล่าว่า
"เมื่อเดินทางไปยังอิรัก ท่านได้ยึดปฏิบัติตามมัซฮับของอิมามอบูฮะนีฟะฮฺ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) ในสุนนะฮฺต่างๆ เพื่อรักษาความรู้สึกของคนทั่วไปที่นั้น
เช่น การที่ท่านเคยละหมาดใกล้กับหลุมศพของอิมามอบูฮะนีฟะฮ์ โดยไม่กุนูต (ซึ่งการกุนูตในทัศนะของท่านถือเป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮ์ คือสุนนะฮ์ที่ส่งเสริมให้ทำอย่างมาก)

มีคนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านตอบว่า : จะให้ฉันขัดแย้งกับท่าน (หมายถึงอิมามอบูฮะนีฟะฮ์) ขณะที่ฉันอยู่ต่อหน้าท่านอย่างนั้นหรือ?"

และอิมามชาฟิอีย์กล่าวเช่นกันว่า
"บางที่เราอาจเปลี่ยนมายึดมัซฮับของชาวอิรัก (คือมัซฮับฮะนะฟี) ก็ได้" 
(อะดะบุลอิคติลาฟ ของ ดร.ฏอฮา อัลอิลวานีย์ หน้า 117 จากหนังสือ "ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลบาลิเฆาะฮ์ หน้า 335)

จากการปฏิบัติของท่านอิมามชาฟิอีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) บอกถึงความจำเป็นในการรักษาเอกภาพ และความเป็นหนึ่งของผู้ศรัทธา แม้อาจต้องละทิ้งสุนนะฮฺภายนอกบางประการตามทัศนะของท่านไป

ซึงในภาพรวมของข้อขัดแย้งเหล่านั้น เป็นเพียงบัญญัติที่อยู่ในระดับสุนนะฮฺ มุสตะฮับ (ส่งเสริมให้กระทำ) และมักรูฮ์ หาได้อยู่ในระดับวาญิบหรือหะรอม

อันได้แก่ ความขัดแย้งเกียวกับการการอ่านบิสมิลลาฮ์เสียงดัง เสียงค่อย การ
กล่าวอามีนเสียงดังเสียงค่อย การอาซาน การอิกอมะฮ์ การกุนูตในละหมาดศุบฮฺ การให้สลามในละหมาด การยกมือและการกอดอก การทำฮัจญ์แบบตะมัตตุอ์ แบบอิฟรอด และแบบกิรอน เป็นต้น

หากมีความแย้งกันในอิบาดะฮ์เหล่านี้ จนนำไปสู่การความวุ่นวาย เกิดการทะเลาะวิวาทกัน ก็จะเกิดความเสียหายหลายประการที่ล้วนทำให้อัลลอฮฺ รสูลของพระองค์ และเหล่าผู้ศรัทธาไม่พอใจ (ดังที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) ได้กล่าวเอาไว้)

การที่สมาชิกของประชาชาติอิสลามมีจิตใจที่สนิทสนมกลมเกลียวกันในศาสนาถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่าการได้ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมุสตะฮับบางประการ หากการละทิ้งสิ่งที่เป็นมุสตะฮับบางประการแล้วทำให้จิตใจผู้ศรัทธามีความกลมเกลียวกัน ถือเป็นการกระทำที่ดีกว่า
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮา) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า"อาอิชะฮฺ หากกลุ่มชนของเธอไม่ได้เพิ่งผ่านยุคสมัยฮิลียะฮฺแล้ว แน่นอนฉันจะรื้อกะบะฮฺแล้วสร้างมันให้ติดกับแผ่นดิน และจะให้มีประตูหนึ่งที่สำหรับคนเข้าและอีกประตูสำหรับคนนอก" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ เลขที่ 1586  และมุสลิม เลขที่ 1333/402)

แต่หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟัรฎูหรือวาญิบ ในฐานะนักวิชาการก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง พร้อมอธิบายฮุกุมของศาสนาที่มาจากอัลกุรอาน สุนนะฮฺ และการวินิจฉัยของบรรดานักวิชาการ  ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งคลัด โดยใช้ฮิกมะฮ์ วิทยปัญญา การรู้จักนำความรู้มาใช้อย่างถูกกาละเทศะ และความอ่อนโยนเพื่อรักษาความรู้สึกของผู้ศรัทธา โดยเฉพาะหากเป็นเรื่องเกี่ยวกับรากฐานของศาสนา ดังที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เองนั้น วันพิชิตมักกะฮ์ ท่านได้จัดการกับสัญญาลักษณ์แห่งการเคารพบูชารูปปั้น รูปเคารพทุกตัวทั้งที่อยู่ในและนอกมักกะฮ์ โดยท่านไม่สนใจว่าความรู้สึกของใครเป็นไร เพราะการขจัดรูปปั้นเหล่านั้น ย่อมหมายถึงการมีอยู่ของอิสลาม  และการคงอยู่ของรูปปั้น ก็หมายถึงการมีอยู่ของญาฮิลียะฮฺ


ชัยค์ฮุมัยดีย์ เล่าว่า
"ขณะที่ผมถูกมอบอะมานะฮฺให้ดูแลการอบรมหลายแห่งในเอเชียกลาง ก่อนเดินทางได้มีการประชุมระหว่างพี่น้องที่จะลงพื้นที่ ผมได้มอบคำแนะนำบางประการกับพวกเขาว่าอย่าให้มีใครจุดเด็นความขัดแย้งกับในเรื่องอะกีดะฮฺ และอย่าพุดเรื่องที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับสุนนะฮต่างๆ ของการละหมาด ให้ยึดปฏิบัติตามมัซอับของชาวเมืองนั้นๆ
เช่น ให้กล่าวบิสมิลลาฮ์เสียงดังในประเทศที่ชาวบ้านปฏิบัติตามมัซฮับชาฟิอียื ไม่กล่าวอามีนเสียงดังในประเทศที่ชาวบ้านปฏบิติตามมัซฮับฮะนะฟีย์ พี่น้องส่วนใหญ่ที่ลงพื้นที่ได้ปฏิบัติตามนั้น ปรากฏว่าดังกล่าวเป็นสาเหตุให้การอบรมประสบความสำเร็จ

ผู้ปกครองบางคนในคาเกสสถานไม่ยอมให้ลุกหลานตนเข้าร่วมอบรมในตอนแรก เพราะกลัวความขัดแย้งเรื่องของมัซฮับที่ต่างกันทว่าเมื่อพวกเขาเห็นผู้ดุแลการอบรมอ่านบิสมิลละฮฺเสียงดัง ก็รีบนำเอาลูกหลานมาเข้าร่วมอบรมทันที ผุูดูแลอบรมคนนั้นได้เป็นอิมามนำละหมาดวันศุกร์โดยพวกเขาไม่รู้สึกอึดอัดที่ได้ละหมาดตามเลย

ตอนที่ผมเดินไปประเทศอินโดนิเซีย เมื่อปีฮ.ศ.1411 ผมได้อ่านบิสมิลลาฮ์เสียงดัง ปรากฏว่าผู้ร่วมละหมาดได้รับประโยชน์จากคุฏบะฮฺมาก อัลฮัมดุลิลลาฮ์"


والله أعلم بالصواب




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น