ทรัพย์สินที่วาญิบ(จำเป็น)ต้องจ่ายซะกาต ได้แก่
1.ซะกาตทองคำ
2.ซะกาตเงินธนบัตร (เงินตรา)
3.ซะกาตเครื่องประดับ
4.ซะกาตสินค้า
5.ซะกาตผลทางการเกษตร และผลไม้
6.ซะกาตปศุสัตว์
7. ซะกาตสิ่งที่ถูกฝังอยู่ในพื้นดิน คือ สิงที่ขุดได้, สิ่งที่ฝังไว้ และสินแร่ใต้พื้นดิน
จำนวน(นิศอบ)ของทองคำ และเงินที่ต้องจ่ายซะกาต
วาญิบที่ต้องจ่ายซะกาตทองคำและเงิน ต้องครอบครองครบรอบปี และต้องครบพิกัด ดังนี้
-พิกัดของทองคำที่ต้องจ่ายซะกาตเมื่อครบจำนวน 20 ดีนารฺ หรือเท่ากับทองคำหนักประมาณ 85 กรัม หรือเท่ากับเงินหนักประมาณ 5.6 บาท
-พิกัดของ(แร่)เงิน ที่ต้องจ่ายซะกาต เมื่อมีครบจำนวน 200 ดิรฺฮัม หรือเท่ากับเงินหนักประมาณ 595 กรัม หรือเท่ากับเงินหนักประมาณ 39.6 บาท
โดยคิดคำนวณจ่ายวะกาต 2.5 % จากน้ำหนักทอง หรือน้ำหนักเงิน
ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
“เมื่อท่านครอบครอง(แร่เงิน) จำนวน 200 ดิรฺฮัม และครบรอบปี ในจำนวน (เงิน) นั้น จะต้องจ่าย(ซะกาต) 5 ดิรฺฮัม, และไม่ต้องจ่ายสิ่งใด (หมายถึงไม่ต้องจ่ายซะกาตทองคำ) จนกว่าท่านจะครอบครองทองคำจำนวน 20 ดีนารฺ ซึ่งหากท่านครอบครองทองคำ 20 ดีนารฺ พร้อมกับครบรอบปี เช่นนี้จะต้องจ่าย(ซะกาต) ครึ่งดีนารฺ และหากมีจำนวนมากกว่านั้นก็ให้คำนวณตามจำนวน(ที่เพิ่ม)นั้น”(บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 1575 หะดิษเศาะเฮียะฮฺ)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น