คำว่า “วะลีมะฮฺ” มาจากคำว่า “อัลวะลัม”
มีความหมายว่า “รวม”
เนื่องจากเจ้าบ่าวและเจ้าสาวได้มารวมกัน คือเป็นงานที่มีอาหารเลี้ยงโดยเฉพาะ
หรืออาหารทุกอย่างที่ได้ทำขึ้นเพื่อเลี้ยงแขกหรือเชิญมา
สำหรับข้อชี้ขาดในเรื่องงานวะลีมะฮฺ
นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า งานวะลีมะฮฺ เป็นสุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺ
(เน้นให้กระทำ)
ทานรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ได้กล่าวแก่ท่านอับดิรเราะฮิมาน บุตรของโอ๊ฟ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม) ว่า
“จงจัดงานวะลีมะฮฺ แม้จะเป็นแกะเพียงตัวเดียวก็ตาม”
รายงานจากท่านอนัส (ร่อฎัยัลลอฮุอันฮุม) เล่าว่า
“ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ไม่เคยจัดงานวะลีมะฮฺ ด้วยสิ่งใดจากภรรยา,ลูกสาวของท่าน อย่างเช่น การจัดงานให้ซัยหนับ คือจัดงานด้วยแกะตัวหนึ่ง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
รายงานจากท่านบุร็อยดะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม) เล่าว่า
“เมื่อท่านอะลี(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม)
ได้หมั้นกับท่านหญิงฟาติมะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุมา) ท่านรสูลุลลอฮฺ
(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า
:ความจริงจำเป็นสำหรับการแต่งงานนั้นต้องมีงานวะลีมะฮฺ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด ท่านอัลฮาฟิซกล่าวว่า สายรายงานที่ไม่มีปัญหาอะไร)
เวลาจัดงานวะลีมะฮฺ
คือวันที่มีการอะกัดนิกะฮฺ หรือถัดจากนั้นไป
หรือส่งตัวอยู่กับเจ้าบ่าว หรือวันถัดไปจากนั้น
ถือเป็นเรื่องอะลุ้มอล่วยตามความสะดวกหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ได้เชิญผู้คนมางานหลังจากที่ส่งตัวซัยหนับเข้าหอให้เจ้าบ่าวแล้ว” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์)
การตอบรับผู้เชิญงานวะลีมะฮฺ
การตอบรับผู้เชิญมาร่วมงานแต่งงาน
(วะลีมะตุลอัรซฺ) นั้นถือเป็นวาญิบ(จำเป็น) แก่ผู้เชิญ
ถือเป็นการให้ความสำคัญต่องาน สร้างความปลื้มปิติให้แก่ผู้เชิญ และเป็นความดีแก่ตัวเอง
รายงานจากท่านอบีอุร็อยเราะฮฺ
(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ)เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ได้กล่าวว่า
“เมื่อคนใดในหมู่พวกเจ้าได้ถูกเชิญไปงานวะลีมะฮฺ เขาจงไปเถิด”
รายงานจากท่านอบีอุร็อยเราะฮฺ
(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ)เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ได้กล่าวว่า
“และผู้ใดละทิ้งคำเชิญ ความจริงเขาได่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรสูลของพระองค์แล้ว”
รายงานจากท่านอบีอุร็อยเราะฮฺ
(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ)เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ได้กล่าวว่า
“ถ้าฉันถูกเชิญไปรับประทานขาแกะ ฉันก็ตอบรับอย่างแน่นอน และถ้าหากฉันได้รับมอบซี่โครงแก่ฉันก็จะรับอย่างแน่นอน”
(หะดิษทั้งสาม บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์)
การเชิญที่จะเป็นวาญิบนั้นต้องเป็นการเชิญเฉพาะเจาะจงผู้ถูกเชิญ
หากเป็นการเชิญโดยทั่วไป ไม่เจาะจงคนใดคนหนึ่ง เช่นกล่าวว่าผู้คนทั้งหลาย
การตอบรับก็ไม่จำเป็น และไม่ถือเป็นวาญิบ
นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า “การตอบรับของผู้เชิญนั้นเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ”
นักวิชาบางท่านกกล่าวว่า “การตอบรับเป็นมุสตะฮับบะฮฺ
(ที่ส่งเสริม)
นักวิชาการมัซฮับชาฟิอีย์ บางท่าน ถือว่า “การตอบรับคำเชิญนั้นจำเป็นโดยไม่มีเงื่อนไข
ท่านอิบนุหัซมิน “ในหะดิษนั้นบ่งบอกไปถึงการตอบรับคำเชิญในทุกกรณีไม่ว่าเชิญมางานแต่งงานหรืออื่นๆ”
และยังถือเป็นน่าเกลียดที่เชิญเฉพาะคนรวย
ไม่เชิญคนจนไปงานวะลีมะฮฺ
รายงานจากท่านอบีอุร็อยเราะฮฺ
(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ)เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ได้กล่าวว่า
“อาหารงานวะลีมะฮฺที่เลวที่สุด คือ อาหารที่ห้ามคนที่จะมา แต่ไปเชิญคนที่ไม่อยากมา และผู้ใดไม่ตอบรับการเชิญ (คือ ไม่ไปงาน) แน่นอนเข้าได้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และรสูลของพระองค์” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์)
รายงานจากท่านอบีอุร็อยเราะฮฺ
(ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ)เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
ได้กล่าวว่า
“อาหารที่ชั่วคืออาหารในงานวะลีมะฮฺที่คนร่ำรวยถูกเชิญ แต่คนจนไม่ถูกเชิญ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)
และเงื่อนไขที่จำเป็นในการตอบรับคำเชิญนั้น
ท่านอัลฮาฟิซ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ฟัตฮุ้ลบารี” ว่าเงื่อนไขในการวาญิบในการตอบรับคำเชิญ มีดังนี้
-ผู้เชิญชวนนั้นจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
เป็นผู้มีอิสระ มีสติสัมปชัญญะ
-จะต้องไม่เลือกเชิญเฉพาะคนรวย ไม่เชิญคนจน
-ไม่แสดงออกที่จะรักใคร และเกลียดใคร
-ผู้เชิญต้องเป็นคนมุสลิม
-ต้องเป็นงานวันแรก
-ไม่เจาะจงว่าต้องก่อนคนอื่น
-จะต้องไม่มีสิ่งที่เป็นอันตราย
หรือเสื่อมเสียที่จะมางาน เช่น มีสิงที่ศาสนาห้าม (ได้แก่
มีการขับร้องเพลงคาราโอเกะ เสียงเพลงประกอบเสียงดนตรี การเต้นรื่นเริง
อย่างร็องแง็ง มีสิงมึนเมา หรือการพนัน เป็นต้น)
-ไม่มีอุปสรรค์ที่จะมา
ท่านอัลบัฆวี กล่าวว่า “ผู้ใดที่มีอุปสรรค
หรือปรากฏว่าหนทางอยู่ห่างไกล มาลำบาก ก้ไม่มีบาปอันใดที่จะไม่มา
แต่ปัจจุบันการเชิญงานวะลีมะฮฺของชุมชนมุสลิม
ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือตามแบบฉบับอิสลาม แต่ได้นำแบบอย่างมาจากกลุ่มชนต่างศาสนิกหรือประเพณีที่สืบทอดกันมา
หากมีการเชิญเพียงด้วยวาจาไม่มีการ์ดเชิญ ก็ไม่ไปตามที่เชิญ เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน
หรือหากผู้เป็นบ่าว หรือญาติที่ไม่ใช่ผู้เป็นพ่อหรือแม่ หรือญาติที่น่าเชื้อถือมารับเชิญ ก็จะไม่ไปงานวะลีมะฮฺนั้น ถือว่าไม่ใช่ผู้ใหญ่ในครอบครัวมารับเชิญ
หรือหากงานวะลีมะฮฺก่อนของผู้ถูกรับเชิญ ผู้เชิญไม่ได้มา ก็จะไม่ตอบรับการเชิญ
ที่เป็นเช่นนี้ ก็อันเนื่องมาจากพวกเขามองว่า การเชิญงานวะลีมะฮฺ คือธุรกิจ การหารายได้ ต้องมีกำไร
การเชิญชวนไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่รู้จัก ยิ่งแจกการ์ดเชิญแขกมาก และผู้ที่รับเชิญเป็นคนมีฐานะทางการเงิน หรือตำแหน่ง ก็ยิ่งมีกำไรมาก
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่จะถูกรับเชิญก็จะบ่ายเบี่ยง และรู้สึกเอื่อมระอา เพราะการถูกรับเชิญต้องเสียเงิน ทั้งที่บางครั้งไม่ใช่คนรู้จักกัน และถูกรับเชิญหลายงานติดต่อกัน จนหมุนเงินไม่ทัน
ส่วนการที่จัดงานวะลีมะฮฺ โดยไม่ต้องจ่ายเงิน พวกเขาเข้าใจว่า ต้องเชิญโต๊ะลาแบ(ลาใบ) มากินบุญและมีพิธีกรรมต่างๆ และมองว่าเป็นการไม่ให้เกียรติผู้เป็นบ่าวหรือผู้เป็นสาว ซึ่งถือเป็นครั้งเดียวในชีวิตของพวกเขา ทั้งที่การเชิญงานวะลีมะฮฺตามแบบอิสลามนั้นคือการมาร่วมแสดงความปิติยินดีแก่คู่บ่าวสาวและครอบครัว การร่วมรับประทานอาหารที่เรียบง่าย ส่วนการให้เงิน การมอบสิ่งของ แก่คู่บ่าวสาวนั้น ถือเป็นของกำนัล ฮาดียะฮฺ เป็นการสมัครใจของผู้ให้
หากเรากลับไปยึดตามแบบสุนนะฮฺ และนำสุนนะฮฺนบีมาใช้แล้ว การจัดงานวะลีมะฮฺจะต้องเรียบง่ายไม่ฟุ่มเฟือยและการตอบรับเชิญงานวะลีมะฮฺคงไม่มีใครปฏิเสธ
หากมีการเชิญเพียงด้วยวาจาไม่มีการ์ดเชิญ ก็ไม่ไปตามที่เชิญ เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน
หรือหากผู้เป็นบ่าว หรือญาติที่ไม่ใช่ผู้เป็นพ่อหรือแม่ หรือญาติที่น่าเชื้อถือมารับเชิญ ก็จะไม่ไปงานวะลีมะฮฺนั้น ถือว่าไม่ใช่ผู้ใหญ่ในครอบครัวมารับเชิญ
หรือหากงานวะลีมะฮฺก่อนของผู้ถูกรับเชิญ ผู้เชิญไม่ได้มา ก็จะไม่ตอบรับการเชิญ
ที่เป็นเช่นนี้ ก็อันเนื่องมาจากพวกเขามองว่า การเชิญงานวะลีมะฮฺ คือธุรกิจ การหารายได้ ต้องมีกำไร
การเชิญชวนไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่รู้จัก ยิ่งแจกการ์ดเชิญแขกมาก และผู้ที่รับเชิญเป็นคนมีฐานะทางการเงิน หรือตำแหน่ง ก็ยิ่งมีกำไรมาก
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่จะถูกรับเชิญก็จะบ่ายเบี่ยง และรู้สึกเอื่อมระอา เพราะการถูกรับเชิญต้องเสียเงิน ทั้งที่บางครั้งไม่ใช่คนรู้จักกัน และถูกรับเชิญหลายงานติดต่อกัน จนหมุนเงินไม่ทัน
ส่วนการที่จัดงานวะลีมะฮฺ โดยไม่ต้องจ่ายเงิน พวกเขาเข้าใจว่า ต้องเชิญโต๊ะลาแบ(ลาใบ) มากินบุญและมีพิธีกรรมต่างๆ และมองว่าเป็นการไม่ให้เกียรติผู้เป็นบ่าวหรือผู้เป็นสาว ซึ่งถือเป็นครั้งเดียวในชีวิตของพวกเขา ทั้งที่การเชิญงานวะลีมะฮฺตามแบบอิสลามนั้นคือการมาร่วมแสดงความปิติยินดีแก่คู่บ่าวสาวและครอบครัว การร่วมรับประทานอาหารที่เรียบง่าย ส่วนการให้เงิน การมอบสิ่งของ แก่คู่บ่าวสาวนั้น ถือเป็นของกำนัล ฮาดียะฮฺ เป็นการสมัครใจของผู้ให้
หากเรากลับไปยึดตามแบบสุนนะฮฺ และนำสุนนะฮฺนบีมาใช้แล้ว การจัดงานวะลีมะฮฺจะต้องเรียบง่ายไม่ฟุ่มเฟือยและการตอบรับเชิญงานวะลีมะฮฺคงไม่มีใครปฏิเสธ
รายงานจากท่านอนัส (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม) เล่าว่า
“ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้แต่งงาน และเข้าร่วมหอกับภรรยา มารดาของฉัน คืออุมมุสะลีม ได้ปรุงเฮส หรือกุสกฺ (อินทผลัมคุกกับเนย) และฉันได้จัดมันใส่ภาชนะ เพื้อเลี้ยงแขก โดยนางกล่าวว่า : โอ้น้องชาย จงนำมันไปที่ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ฉันก็นำมันไป ท่านกล่าวว่า : วางมันลงเถิด แล้วท่านก้กล่าวว่า : ไปเชิญคนนั้น คนนี้มา และเชิญคนที่ท่านพบเขาด้วย แล้วแนก็ไปเชิญคนที่ท่านระบุชื่อ และคนที่ฉันพบมา” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)
والله أعلم بالصواب
แสวงหาสัจธรรมจากอิสลาม: งานวะลีมะฮฺ >>>>> Download Now
ตอบลบ>>>>> Download Full
แสวงหาสัจธรรมจากอิสลาม: งานวะลีมะฮฺ >>>>> Download LINK
>>>>> Download Now
แสวงหาสัจธรรมจากอิสลาม: งานวะลีมะฮฺ >>>>> Download Full
>>>>> Download LINK