อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ชื่อเต็มว่า มุหฺยิดดีน อบู ซะการียา ยะหฺยา บิน ชะรอฟ อัล ฮิซามียฺ อัน นะวาวียฺ เกิดปี ค.ศ 1233 ที่หมู่บ้านนะวา
ทางตอนใต้ของเมืองดะมัสกัช ซีเรีย เนื่องจากท่านมาจากหมู่บ้านนะวา ท่านจึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัน นะวาวียฺ(ชาวนะวา)
ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา
อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ไม่ได้มาจากตระกูลผู้รู้เช่นอุละมาอ์จำนวนมาก พ่อของท่านมีสวนแปลงหนึ่ง ซึ่งได้ปลูกพืชมาเป็นอาหารแก่ครอบครัว
ลักษณะสำคัญของครอบครัวนี้ก็คือ ความเคร่งครัดในสิ่งที่ฮะลาล และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะรับประทานในสิ่งที่คลุมเครือ
ในวัยเด็กอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ไม่เหมือนเด็กทั่วไป คือไม่ชอบการละเล่นต่างๆ ดังนั้น ตั้งแต่วัยเด็กท่านชอบค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่าง
เอาจริงเอาจัง ท่านเกลียดกิจกรรมที่ทำให้ท่านห่างจากการท่องจำอัลกุรอาน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พวกเด็กๆในหมู่บ้านบังคับให้ท่านไปเล่น
ปรากฏว่าอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ถึงกับร้องให้ เพราะเสียดายเวลาที่สูญเสียไป จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ท่านสามารถท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มตั้งแต่วัยเด็ก
เมื่อท่านอายุได้ 18 ปี พ่อได้นำท่านไปที่นครดามัสกัช เพื่อให้ท่านได้ศึกษาต่อ ที่นั่นท่านได้แสดงถึงความเป็นเลิศในการศึกษา
ท่านชำนาญในฟิกฮฺ มัซฮับชาฟิอียฺ ท่านสามารถท่องจำหนังสือต่างๆได้จำนวนมาก
สถานที่ศึกษาแห่งแรกในดามัสกัชของท่านคือโรงเรียน ซารอมียะฮฺ จากนั้นก็ศึกษาต่อที่โรงเรียนรอฮาวียะฮฺ ท่านได้ใช้เวลาใน
การฟังบรรยายวันละ 12 ชั่วโมง และเมื่ออายุได้ 24 ปี ท่าได้เริ่มสอนหนังสือที่โรงเรียนฟัชรอฟียะฮฺ ความเป็นเลิศทางวิชาการของท่าน
เป็นที่ยอมรับท่ามกลางนักปราชญ์ทั้งหลาย
บุคลิกภาพ
อิหม่ามอัน นะวาวียฺ เป็นผู้สมถะอย่างยิ่ง ท่านอาศัยอยู่ในห้องพักเล็กๆที่มีหนังสือเต็มห้อง มีว่างเหลือสำหรับนั่งเท่านั้น ท่านได้ใช้เวลา
ทั้งหมดในแต่ละวันกับการหาความรู้และการสอนหนังสือ ท่านนอนหลับเพียงเล็กน้อยและตื่นขึ้นมาหาความรู้ต่อ ท่านเคยมุมานะในการเรียนจนกระทั่งว่า
มีอยู่สองปีที่ท่านไม่ได้ล้มตัวลงนอนหลับ เพียงแต่นั่งหลับเท่านั้น แม้แต่ว่าท่านเดิน ท่านก็ไม่ยอมเสียเวลา จะใช้เวลานี้ท่องจำและทบทวนหนังสือ
ชีวิตของท่านอยู่แบบเรียบง่าย ท่านรับประทานอาหารพื้นๆที่พ่อท่านส่งมาให้จากหมู่บ้านนะวา ท่านไม่ยอมรับประทานอาหารที่ดูมีระดับ
ท่านให้เหตุผลว่า นั่นเป็นอาหารของพวกทรราชย์
ท่านได้ถือศีลอดทุกวัน เว้นวันที่ศาสนาห้าม(ในทรรศนะของอัน นะวาวียฺ สามารถือศีลอดได้ทุกวัน ตราบที่ไม่ไปถือในวันที่ศาสนาห้าม เช่น วันอีด)
ท่านเคยรับค่าตอบแทนในการสอนปีแรก แต่ท่านได้ใช้มันหมดไปกับการซื้อหนังสือ และต่อมาท่านไม่รับค่าตอบแทนอีกเลย
ชีวิตทีสมถะอย่างยิ่งของอิหม่ามอันนะวียฺ นำไปสู่คำถามมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ยากที่ผู้อื่นจะทำได้
สรุปว่านี่เป็นลักษณะพิเศษที่เข้ากับธรรมชาติของท่าน เป็นธรรมชาติของผู้ใฝ่รู้ที่ได้อุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรู้
จุดเด่นของท่านก็คือ การที่ท่านรักหนังสือมาก ท่านได้เก็บสะสมหนังสือดีๆมากมาย รวมทั้งหนังสือหายาก เมื่ออุละมาอ์ที่มีชื่อท่านหนึ่งคือ
ท่านตาญุดดีน อัซ ซุบกียฺ ถูกขอให้ทำการทำการเรียบเรียงหนังสือที่อิหม่ามอัน นะวาวียฺ แต่งไว้ไม่เสร็จ ชื่อหนังสือ “อัล มัจญมูอฺ”
ท่านซุบกียฺ ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ท่านไม่มีหนังสืออ้างอิงเท่ากับที่อิหม่ามอัน นะวาวียฺ มีอยู่
คำถามอีกข้อหนึ่งที่มีต่อชีวิตของอิหม่ามอัน นะวาวียฺก็คือ เหตุใดท่านไม่แต่งงาน มีคำอธิบายมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง
แต่ดูเหมือนว่าคำอธิบายที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ท่านปราศจากความต้องการความสุขในโลกนี้เช่นคนอื่นๆ ชีวิตของท่านปรารถนาแต่เพียง
การแสงหาความรู้และการถ่ายทอดมันให้แก่อุมมะฮฺอิสลามเท่านั้น
ความจริง ครั้งหนึ่งท่านเคยสอนเรื่องแต่งงานว่าเป็นซุนนะฮฺอันยิ่งใหญ่ และท่านบอกว่าบางทีนี่เป็นเพียงซุนนะฮฺที่ท่านไม่สามารถทำได้
ท่านให้เหตุผลว่า “ฉันกลัวว่า ฉันอาจทำตามซุนนะฮฺหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันฉันต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ต้องห้ามอื่นๆ” นั่นคือสิทธิของภรรยา
ผู้ดำเนินตามมัซฮับตามเจตนารมณ์
แม้ว่าอิหม่ามอัน นะวาวียฺ จะสังกัดอยู่กับฟิกฮฺ มัซฮับชาฟิอียฺ แต่ท่านไม่ใช่มุตะอัศศิบ(ผู้คลั่งไคล้มัซฮับ) ดังนั้น จึงพบในงานเขียนของท่าน
ไม่ได้ตามทรรศนะของมัซฮับชาฟิอียฺเสมอไป ดังที่จะพบได้ใหนังสืออัล มัจญมุอฺ และคำอธิบายเศาะฮีฮฺ มุสลิมของท่าน
ท่านอิบนุ อัล อัตตาร ศิษย์คนหนึ่งของอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ได้กล่าวว่า “ท่านเป็นผู้รักษาและท่องจำ(ทรรศนะทางฟิกฮฺของ)มัซฮับชาฟิอียฺ
ทั้งในหลักหลักการ หลักพื้นฐาน และประเด็นรองๆลงมา แต่ท่านยังเป็นผู้มีความรู้ในทรรศนะของเหล่าเศาะฮาบะฮฺและตาบีอีน ท่านมีความรู้
ในสิ่งที่อุละมาอ์เห็นพ้องต้องกันและที่พวกเขาเห็นแตกต่างกัน ด้วยเหตุผลนี้ทั้งหมด ท่านคือผู้ดำเนินตามวิถีทางของอุละมาอ์ยุคแรกของอิสลาม”
ในฟิกฮฺ มัซฮับ ชาฟิอียฺนั้น มีอุละมาอ์ที่โด่งดังในมัซฮับนี้สองท่านที่ถูกเรียกว่า “อัช ชัยคอน” หรือเชคทั้งสอง คืออิหม่ามอัน นะวาวียฺ
และอิหม่ามรอฟิอียฺ ทั้งสองท่านมีการให้ทรรศนะบางอย่างที่แตกต่างกัน ผู้เล่าเรียนทางมัซฮับชาฟิอียฺบางท่านชอบอิหม่ามรอฟิอียฺมากกว่า
เพราะว่าใกล้เคียงกับวิธีคิดทางฟิกฮฺของมัซฮับชาฟิอียฺมากกว่า แต่ก็มีจำนวนมากที่ชอบทรรศนะของอิหม่ามอัน นะวาวียฺ มากกว่า อันเนื่องจาก
ท่านมีความรู้ที่ลึกซึ้งในวิชาฮะดีษมากกว่า
ผู้สร้างสรรค์งานวิชาการ
อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ได้ผลิตงานเขียนออกมาอย่างมากมาย หนึ่งในชุดตำราที่ได้รับความชื่อถือตลอดมาก็คือ คำอธิบาย เศาะฮีฮฺ มุสลิม
ซึ่งถือว่าเป็นคำอธิบายเศาะฮีฮฺมุสลิมอันดับหนึ่ง คู่กับคำอธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียฺ ของอิหม่ามอิบนุ ฮะญัร อัล อัสกอลานียฺ(ชื่อฟัตหุล บารียฺ)
ท่านได้แต่งหนังสือชุดยิ่งใหญ่นี้ในช่วงท้ายๆของชีวิต ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี ท่านยังได้อธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียอีกด้วย แต่ไม่เสร็จ ท่านก็เสียชีวิตเสียก่อน
งานเขียนที่ได้รับความนิยมชิ้นต่อมาของท่านคือ “ริยาฎุศ ศอลีฮีน”(อุทยานของคนดี) เป็นการนำอัลกุรอานและฮะดีษมาจัดหมวดหมู่
เป็นบทๆในเรื่องเกี่ยวกับความดีงามต่างๆ หนังสือชุดนี้ถูกนำไปอธิบายต่อโดยอุละมาอ์รุ่นหลัง ที่น่าสนใจคือคำอธิบายของ “เชค มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล อุษัยมีน”
สำหรับหนังสือฟิกฮฺที่ชื่อ “อัล มัจญมูอฺ” ของท่าน ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง แม้จะเรียบเรียงไม่เสร็จสิ้นก็ตาม หนังสือชุดนี้ถูกถือว่า
เป็นหนังสือสารานุกรมทางฟิกฮฺคู่กับหนังสือ “อัล มุฆนียฺ” ของอิบนุ กุดามะฮฺจากมัซฮับฮัมบะลียฺ ซึ่งหนังสือทั้งสองชุดนี้ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่กับมัซฮับ
ของผู้แต่ง แต่เป้าหมายก็คือการนำเสนอสิ่งที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ
ส่วนที่แพร่หลายมากที่สุดคือ การนำฮะดีษที่ครอบคลุมคำสอนอิสลามทั้งหมดมาลำดับไว้ เรียกว่า “สี่สิบ ฮะดีษ” หรือรู้จักกันในชื่อ
“สี่สิบฮะดีษ นะวาวียฺ”
ผู้กล้าเผชิญหน้ากับผู้ปกครองที่อธรรม
อิหม่านอัน นะวาวียฺ มิได้มีความจริงจังในแง่วิชาการเท่านั้น เมื่อเผชิญกับความอธรรมบนหน้าแผ่นดิน ท่านไม่ยอมเงียบ แต่ได้ยืนขึ้นเพื่อ
หลักการอิสลาม แม้กระทั่งการตักเตือนผู้ปกครองทั้งหลาย วิธีหนึ่งที่ท่านนิยมทำก็คือการส่งจดหมายไปตักเตือนผู้ปกครองเหล่านั้น บางครั้งท่าน
ได้ร่างจดหมายถึงผู้ปกครอง โดยเซ็นร่วมกับอุละมาอ์ท่านอื่นๆจากสำนักฟิกฮฺต่างๆ
ท่านได้คัดค้านความอยุติธรรมของผู้ปกครองหลายๆครั้ง ครั้งหนึ่ง ซุลฏอน(สุลต่าน)ในเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ต้องการให้อุละมาอ์ทุกคน
ออกฟัตวาเก็บทรัพย์สินกับประชาชนเพื่อต่อสู้กับมองโกล แต่ท่านเป็นอุละมาอ์คนเดียวที่ยังไม่ยอมออกฟัตวาให้ สุลต่านจึงให้นำตัวอิหม่ามอัน นะวาวียฺ
มาถามถึงเหตุผล ท่านตอบว่า “ฉันรู้ว่า ท่านเคยเป็นทาสของอมีร บันดุการ์ และท่านไม่เคยมีทรัพย์ใดๆมาก่อนเลย แต่แล้วอัลลอฮฺได้ให้
ความโปรดปรานกับท่าน และท่านได้กลายเป็นผู้ปกครอง ฉันได้ยินมาว่า ท่านมีทาสชายถึงหนึ่งพันคน และแต่ละคนมีสายรัดด้วยทอง
และท่านยังมีทาสหญิงอีกสองพันคน แต่ละคนมีเครื่องประดับที่เป็นทอง หากท่านได้จ่ายมันทั้งหมดและได้ปล่อยทาสชายของท่านด้วยสายรัดผ้าแทน
สายรัดทอง และท่านได้ปล่อยทาสหญิงพร้อมเครื่องนุ่งห่มโดยไม่มีเครื่องประดับเพชรนิลจิลดา แล้วฉันจะฟัตวาให้ท่านสามารถเก็บทรัพย์สิน
จากประชาชนได้”
กรณีนี้ แม้ว่าอิหม่ามอัน นะวะวียฺ จะเห็นด้วยกับการรวบรวมทรัพย์ในการต่อสู้ แต่ท่านเห็นว่าต้องเก็บตามวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น
สุลต่านโกรธแค้นมากและได้ขับไล่ท่านออกจากเมืองดามัสกัช ท่านได้จากไปอยู่หมู่บ้านนะวา เหล่าอะละมาอ์พยายามของให้ท่านกลับมาอีกครั้ง
แต่ท่านปฏิเสธ การคัดค้านใดๆต่อผู้ปกครองที่อธรรมของท่านมีผลกระทบสูงมาก อันเนื่องจากท่านเป็นอุละมาอ์ที่อิสระ ไม่รับเงินเดือนจากใคร
มีวีถีชีวิตที่พอเพียง การคัดค้านของท่านจะได้รับการสนับสนุนจากอุละมาอ์และมวลชนมุสลิมเสมอ
วาระสุดท้าย
ท่านอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ใช้ชีวิตในหมู่บ้านนะวาในช่วงสั้นๆ ท่านก็ล้มป่วยลง และเสียชีวิตในปี 1277 อายุเพียง 43 ปีเท่านั้น เมื่อข่าวการ
เสียชีวิตของท่านไปถึงดามัสกัช ผู้คนต่างพากันร้องให้ต่อการจากไปของอุละมาอ์ผู้อุทิศตัวให้แก่วิชาการ การมีชีวิตที่เรียบง่าย และมีความกล้าหาญ
ในหนังสือคำอธิบาย เศาะฮีฮฺ มุสลิม ของท่าน ท่านได้แสดงถึงความต้องการที่ให้หลุมฝังศพของท่านเป็นไปตามแบบอย่างของท่านนบีฯ
ไม่ให้มีการสร้างความพิเศษใดๆให้แก่ท่าน และศิษย์ของท่านอิบนุ อัตตาร ได้รายงานว่า เป็นความจริงที่ว่า ทุกครั้งที่ผู้คนได้เข้าไปสร้างโดมเหนือ
หลุมฝังศพของท่าน มันก็จะพังลงมา จนถึงทุกวันนี้หลุมฝังศพของท่านก็ยังอยู่ในสภาพธรรมดา
ท่านอิบนุอัฏฏ๊อร ศิษย์ท่านอิมามอันนะวาวีย์ กล่าวว่า
"ในขณะที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ถูกฝัง ครอบครัวของท่านต้องการจะสร้างกุบบะฮ์(โดม)บนสุสาน ดังนั้น ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้มาหาเข้าฝันน้าสาวของท่าน และกล่าวว่า "ท่านน้าสาวจงบอกแก่พี่น้องของฉันและกลุ่มชนด้วยว่า อย่าให้พวกเขากระทำการเยี่ยงนี้ที่พวกเขาได้ตั้งใจทำการปลูกสร้าง เพราะว่าทุกครั้งที่พวกเขาจะสร้างสิ่งใด(บนสุสานของฉันนั้น) มันก็จะพังทลายลงมา"
ดังนั้น พวกเขายังงดกระทำสิ่งดังกล่าว และนำหินมาล้อมรอบสุสาน
ท่านอิบนุฟัฏลุลลอฮ์ กล่าวว่า พี่น้องของอิมามอันนะวาวีย์ คือชัยค์อับดุรเราะห์มาน เล่าให้ฉันฟังว่า "ขณะที่อิมามอันนะวาวีย์ป่วยใกล้เสียชีวต เขาอยากทานแอ๊ปเปิ้ล ดังนั้นจึงนำแอ๊ปเปิ้ลมาให้ แต่เขาทานมันไม่ได้ เมื่อเขาเสียชีวิต สมาชิกในครอบครัวบางส่วนฝันเห็นท่าน และกล่าวถามว่า อะไรบ้างที่อัลเลาะฮ์ทรงปฏิบัติแก่ท่าน? อิมามอันนะวาวีย์ตอบว่า พระองค์ทรงให้เกียรติที่พำนักของฉัน พระองค์ทรงรับการงานของฉัน และสิ่งแรกที่พระองค์ทรงนำมาต้อนรับแขก คือพระองค์ทรงนำแอ๊ปเปิ้ลให้แก่ฉัน"
สานุศิษย์ของท่านบางส่วนเล่าให้ฉันฟังว่า มีชายคนหนึ่งได้มาที่สุสานของท่านอิมามอันนะวาวีย์ และกล่าวว่า ท่านใช่ไหม? ที่ขัดแย้งกับอิมามอัรรอฟิอีย์ และท่านกล่าวว่า "ฉันขอกล่าวว่า...............(คือกล่าวทัศนะที่ค้านกับอิมามอัรรอฟิอีย์ตามการวินิจฉัยของท่านในหนังสืออัลมินฮาจญ์)" โดยเขาทำการชี้มือไปยังสุสานอิมามอันนะวาวีย์ ดังนั้นเมื่อเขายืนขึ้นแมงป่องจึงต่อยเขา"
ฉัน(คืออิมามอัสสะยูฏีย์) ได้เห็นหนังสือ อิมบาอฺอัลฆุมัร ของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุหะญัร รอฮิมะฮุลลอฮ์ ในการนำเสนอประวัติของ อัลญะมาล อัรร๊อยมีย์ ผู้อธิบายหนังสือ อัตตัมบีฮ์ ว่า "เขานั้นชอบพูดจาลดเกียรติชัยค์มั๊วะห์ยุดดีน(คืออิมามอันนะวาวีย์) ดังนั้นในขณะที่เขาได้เสียชีวิต ขณะที่เขาอยู่สถานอาบน้ำมัยยิด มีแมวตัวหนึ่งได้คาบฉกลิ้นของเขาหลุดออกไป ดังนั้นสิ่งดังกล่าวย่อมเป็นอุทาหรณ์แก่มวลมนุษย์" ดู หนังสือ อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์ ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ หน้า 80 - 81
ในหนังสือ อิมบาอฺอัลฆุมัร ของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุหะญัร รอฮิมะฮุลลอฮ์ ระบุถ้อยคำดังนี้ ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า "ท่านอัลญะมาล อันมิสรีย์ ได้กล่าวแก่ฉันว่า อัรรีมีย์นั้นเหยียดหยามอิมามอันนะวาวีย์เป็นอย่างมาก ในขณะปล่อยใกล้ตายนั้น ฉันเห็นลิ้นของเขาล่อออกมาและมีสีดำ ดังนั้นได้มีแมวตัวหนึ่งคาบฉกลิ้นของเขาหลุดออกไป ดังนั้นสิ่งดังกล่าวย่อมเป็นอุทาหรณ์แก่มวลมนุษย์" ดู 3/48
ชีวิตทีสมถะอย่างยิ่งของอิหม่ามอันนะวียฺ นำไปสู่คำถามมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ยากที่ผู้อื่นจะทำได้
สรุปว่านี่เป็นลักษณะพิเศษที่เข้ากับธรรมชาติของท่าน เป็นธรรมชาติของผู้ใฝ่รู้ที่ได้อุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรู้
ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า
ท่านชัยค์ อิบนุ อัลอัฏฏ๊อร กล่าวว่า "ชัยค์ อัศศ่อดูก อบูลกอซิม อัลมิซฺซีย์ - ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในหมู่นักปราชญ์ผู้มีคุณธรรม - ได้บอกเล่าแก่ฉันว่า เขาได้ฝันเห็นว่า ณ หมู่บ้านอัลมิซฺซะฮ์ มีธงมากมาย และกลองได้ถูกตีขึ้น ฉันจึงกล่าวว่า นี้มันอะไรกันหรือ? จึงถูกกล่าวแก่ฉันว่า ค่ำคืนนี้ เป็นคืนที่ยะห์ยา อันนะวาวีย์ ได้ถูกตั้งแต่ให้เป็นหัวหน้า(กุตบ์ - คือวะลียุลลอฮ์ผู้เป็นแกนหลักแห่งโลกในยุคนั้นที่อัลเลาะฮ์ทรงให้การดูแลคุ้มครองเป็นพิเศษ) ดังนั้น ฉันจึงตื่นขึ้นมาจากนอน ทั้งที่ฉันเองไม่เคยรู้จักชัยค์อันนะวาวีย์มาก่อนเลยและไม่เคยได้ยินชื่อเขามาก่อนหน้านี้เลย ฉะนั้น ฉันจึงเข้าไปที่เมืองดิมัชก์ เพราะมีความต้องการบางอย่าง ฉันจึงบอกสิ่งดังกล่าวให้ชายคนหนึ่งทราบ เขาจึงกล่าวว่า เขา(คือชัยค์อันนะวาวีย์) ก็คืออาจารย์แห่งดารุลฮะดิษ ซึ่งในขณะนั้นเขากำลังนั่งอยู่ในนั้น ฉันจึงเข้าไปหา ดังนั้นในขณะที่ชัยค์อันนะวาวีย์มองมาที่ฉัน เขาจึงลุกขึ้นมาทางด้านของฉัน และกล่าวว่า "ท่านจงปกปิดสิ่งที่อยู่พร้อมกับท่าน(จากสิ่งที่ได้ฝันเห็น)และอย่าบอกเล่าให้คนใดฟัง" จากนั้นท่านชัยค์ก็กลับไปนั่งสถานที่เดิม" ดู หนังสือ อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์ ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ หน้า 49 - 50
ชีวิตของท่านอยู่แบบเรียบง่าย ท่านรับประทานอาหารพื้นๆที่พ่อท่านส่งมาให้จากหมู่บ้านนะวา ท่านไม่ยอมรับประทานอาหารที่ดูมีระดับ
ท่านให้เหตุผลว่า นั่นเป็นอาหารของพวกทรราชย์
ท่านอิบนุอัฏฏ๊อร กล่าวว่า ท่านกอฏอ อัลกุฏอฮ์ ญะมาลุดดีน อัซซัรอีย์ ได้เล่าเรื่องราวของอิมามอันนะนาวีย์ให้ฟังว่า "ตอนท่านอันนะวาวีย์ยังหนุ่มมีคนไปหามาหาสู่ท่านบ่อย (เขากล่าวว่า) วันในหนึ่งฉันได้ไปหาท่านอันนะวาวีย์ พบว่าท่านกำลังทาน ค่อซีเราะห์ (แป้งผสมนมในภาชนะที่ตั้งไฟให้ร้อน) ดังนั้น สุไลมาน กล่าวว่า ท่านจงรับประทานเถิด แต่ทว่าท่านอันนะวาวีย์ไม่ค่อยอยากจะรับประทานนัก ฉะนั้นน้องของท่านไปลุกขึ้นและมุ่งไปที่ตลาด นำเนื้อย่างและของหวานมาให้ และกล่าวกับท่านอันนะวาวีย์ว่า ท่านจงรับประทานเถิด แต่ทว่าท่านอันนะวาวีย์ไม่กิน ดังนั้นน้องชายกล่าวว่า โอ้ท่านพี่ สิ่งนี้ฮะรอมกระนั้นหรือ? ท่านอันนะวาวีย์กล่าวว่า ไม่ฮะรอมหรอก แต่มันเป็นอาหารของพวกทรราชย์"
ท่านอิบนุลอัฏฏ๊อร กล่าวว่า "ท่านอิมามอันนะวาวีย์ไม่รับประทานแอ๊บเปิ้ลของเมืองดิมัชก์ ฉันจึงถามถึงสาเหตุดังกล่าว ท่านอันนะวาวีย์กล่าวว่า เมืองดิมัชก์นั้นมีที่ดินวะก๊าฟและที่ดินที่เป็นของผู้ถูกอายัตทรัพย์เยอะ และการดำเนินการต่อแผ่นดินดังกล่าวนั้นไม่อนุญาตนอกจากบนหนทางที่ดี และทำการเกษตรแบบมะซากอฮ์(ในรูปแบบให้บุคคลหนึ่งเข้าไปทำการเพาะปลูกแล้วมาแบ่งปันผลผลิตที่ได้ตามที่ตกลงไว้) ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้นักปราชญ์ก็มีทัศนะที่ขัดแย้งกัน ซึ่งผู้ใดที่อนุญาต ก็จะวางเงื่อนไขว่าต้องทำให้ดีอย่างถูกต้อง แต่ทว่าบรรดาผู้คนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ นอกจากเป็นเพียงส่วนหนึ่ง(ที่ดี)จากหนึ่งพันส่วนที่เป็นผลิตผลให้แก่ผู้ปกครอง ดังนั้นฉันจะสบายใจที่ได้รับประทานสิ่งดังกล่าวได้อย่างไร?"
ท่านอิบนุลอัฏฏ๊อรกล่าวว่า ท่านชัยค์ อัลอารีฟ อัลมุฮักกิก อบู อับดุลฮะลีม มุฮัมมัด อัลอัคมีนีย์ กล่าวแก่ฉันว่า "ท่านชัยค์มั๊วะห์ยุดดีน(อันนะวาวีย์)นั้น ได้ดำเนินตามแนวทางของซอฮาบะฮ์ ซึ่งในยุคสมัยนี้ฉันไม่เคยทราบเลยว่าจะมีบุคคลหนึ่งที่ดำเนินตามแนวทางของซะฮาบะฮ์นอกจากชัยค์มั๊วะห์ยุดดีนอันนะวาวีย์" ดู หนังสือ อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์ ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ หน้า 45 - 47
ท่านได้แต่งหนังสือชุดยิ่งใหญ่นี้ในช่วงท้ายๆของชีวิต ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี ท่านยังได้อธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียอีกด้วย แต่ไม่เสร็จ ท่านก็เสียชีวิตเสียก่อน
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในบทนำหนังสือ อธิบายซอฮิห์อัลบุคอรีย์ ความว่า "สำหรับซอฮิห์อัลอบุคอรีย์นั้น ฉันเริ่มรวบรวมตำราในการอธิบายซอฮิห์บุคอรีย์ ซึ่งมีขนาดปานกลางไม่สั้นจนเกินไปและไม่ยืดยาวคนเกินไป ไม่สั้นจนทำให้บกพร่องและไม่ยาวจนทำให้เบื่อหน่าย และหากแม้นว่าปณิธานไม่อ่อนแอลงและหากบรรดาผู้ปรารถนาในหนังสือแบบยืดยาวมีมาก ฉันก็จะทำการอธิบายซอฮิห์บุคอรีย์ให้ถึงหนึ่งร้อยเล่ม พร้อมกลับห่างไกลการอธิบายแบบกล่าวซ้ำและเพิ่มเติมแบบไร้ประโยชน์"
ดังนั้น หากท่านอิมามอันนะวาวีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ มีอายุยืนยาว ผมคิดว่าตำราของท่านคงล้นดุนยา
ท่านอิบนุลอัฏฏ็อรกล่าวว่า เราบอกเล่าให้ฉันทราบโดยชัยค์อะบุลกอเซ็ม อัลมิซซีย์ - ซึ่งเขาหนึ่งจากผู้มีคุณธรรม - ซึ่ง ณ หมู่บ้านมิซซะฮ์เขาได้ฝันเห็นธงมากมายและกลองก็ถูกตีขึ้น (ท่านอัลฮาฟิซฺอัลมิซซีย์กล่าวว่า) ฉันจึงถามว่า นี้คืออะไรหรือ? ได้ถูกตอบแก่ฉันว่า คือนี้เป็นค่ำคืนที่ยะห์ยาอันนะวาวีย์ได้ถูกตั้งให้เป็นแกนนำ(กุฏบ์) แล้วฉันก็ตื่นขึ้นมาจากการฝันทั้งที่ฉันเองก็ไม่เคยรู้จักและได้ยินท่านชัยค์(อันนะวาวีย์)มาก่อนหน้านี้เลย ดังนั้นฉันจึงเดินทางไปที่ดิมัชก์เพื่อทำธุระบางอย่าง ฉันจึงเล่าเรื่อง(การฝันถึงอิมามนะวาวีย์)ดังกล่าวแก่ชายคนหนึ่ง แล้วเขาก็กล่าวว่า ยะห์ยาอันนะวาวีย์เขาคือชัยค์(ปรมาจารย์)แห่งดารุลฮะดิษ ขณะนี้เขาได้นั่งอยู่ที่นั่น ฉันจึงเข้าไปที่ดารุลฮะดิษ ดังนั้นในขณะที่ท่านอันนะวาวีย์ได้เห็นฉัน เขาจึงลุกขึ้นยืนมาทางฉันและกล่าวว่า "ท่านจงปกปิดสิ่งที่อยู่ ณ ที่ท่าน (คือข่าวคราวเรื่องความฝัน) และท่านอย่าบอกเล่าให้คนใดทราบ" หนังสืออัลมินฮาจญุสศะวีย์ ฟีตัรญะมะฮ์อิมามอันนะวาวีย์ หน้า 49-50 ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์
ยุคหลังจากท่านอิมามอันนะวาวีย์นั้น ท่านอัลฮาฟิซฺ อัลมิซซีย์ ก็ได้เป็นปรมาจารย์แห่งสำหนักดารุลฮะดิษอัลอัชร่อฟีย์ รับช่วงต่อไปจากปราชญ์นักฮะดิษรุ่นพี่ ๆ หลังจากนั้นอีกสองรุ่น ท่านอัลฮาฟิซฺอิบนุกะษีร ก็รับช่วงในเป็นอาจารย์แห่งสำนักดารุลฮะดิษต่อจากนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น