อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รอมฎอนเดือนแห่งการใคร่ครวญ




แบบอย่างของบรรพชนยุคก่อน (ชาวสลัฟ) คือ การให้รอมฎอนเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิต ภายหลังรอมฎอนจากไปเป็นเวลา 6 เดือน พวกเขายังคงหมั่นขอดุอาอฺให้การงานที่ปฏิบัติไว้ช่วงรอมฎอนเป้นที่ตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ตะอาลา และอีก 6 เดือนก่อนที่รอมฎอนจะมาถึงพวกเขาต่างขอให้ตนเองได้ใช้ชีวิตในรอมฎอนอีกครั้ง เรียกได้ว่าปีทั้งปีคิดถึงแต่รอมฎอน

เพื่อการใช้ชีวิตอย่างเสถียรและมั่่นคงกับเดือนต่าง ๆ นอกรอมฎอน ใคร่ขอนำเสนอส่วนหนึ่งแห่งบทเรียนที่ได้รับจากเดือนอันทรงเกียรติ ดังนี้

1) ความยำเกรง

หากสัญลักษณ์แห่งรอมฎอน คือ การถือศีลอด, ความยำเกรง (ตักวา) น่าจะเป็นบทเรียนแรกที่เราควรกล่าวถึง เพราะอัลลอฮฺบัญญัติการถือศีลอดมาก็เพื่อให้ผู้ศรัทธาเกิดความยำเกรงต่อพระองค์ ดังโองการที่ว่า

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติสำหรับพวกเจ้าดังเช่นที่ถูกบัญญัติให้กลุ่มชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง" (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 183)

วิธีตรวจสอบคุณภาพองการถือศีลอดและอิบาดะฮฺ (การภักดี) อื่น ๆ ในรอมฎอนว่าเป็นที่ตอบรับ ณ อัลลอฮฺหรือไม่ สามารถดูได้จากความยำเกรงที่เกิดขึ้นในหัวใจนั่นเอง

2) อัลกุรอาน

รอมฎอนคือ ช่วงหนึ่งของเวลาในรอบปีที่ไม่มีใครสามารถเหนี่ยวรั้งช่วงเวลานั้นให้คงอยู่ตลอดไปได้ ถือเป็นการกำหนดของอัลลอฮฺที่ให้มีวันที่เราพบเจอรอมฎอน และมีวันที่รอมฎอนต้องจากเราไป การแสดงออกถึงความรักความคิดถึงที่มีต่อรอมฎอนวิธีหนึ่งคือ การหยิบอัลกุรอานมาอ่าน ท่องจำ ศึกษาเรียนรู้ และนำสู่การปฏิบัติ เพราะอัลกุรอานคือคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาช่วงเดือนรอมฎอนแต่จะไม่จากผู้ศรัทธาไปเช่นการจากไปของรอมฎอน ทว่าจะยังคงอยู่คู่กับมนุษยชาติจวบจนวันสุดท้าย

ดังนั้น ใครคิดถึงรอมฎอนแล้วไม่คิดถึงอัลกุรอาน การคิดถึงนั้นย่อมด้อยค่าลง เพราะที่รอมฎอนประเสริญเนื่องจากเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา

"เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่ อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับ มนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่าง ความจริงกับความเท็จ" (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 185)

3) ทำความดี ต้องมีบัญชา

1 - 2 วันก่อนรอมฎอนท่านนบีห้ามศรัทธาถือศีลอด เช่นเดียวกับที่ห้ามมิให้ถือศีลอดในวันอีดิ้ลฟิตรฺ วันแรกที่เราเสร็จสิ้นจากการถือศีลอดเดือนรอมฎอนนั่นเอง

บทเรียนที่ได้รับตรงนี้คือ อิบาดะฮฺ (ศาสนกิจ) ทุกประกานจำต้องรอคำสั่ง คำบัญชาจากอัลลอฮฺ เราจะปฏิบัติตามอำเภอใจไม่ได้ เราจะคิดเองว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ดีแล้วนำมาปฏิบัติเพื่อถือเป็นการทำความดีต่ออัลลอฮฺไม่ได้เป็นอันขาด ทุกความดีต้องได้รับคำบัญชาจากอัลลอฮฺอาจเป็นคำบัญชาโดยตรงที่ปรากฏในอัลกุรอาน หรือ คำบัญชาที่ผ่านคำพูด การกระทำ และการยอมรับองท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้เช่นกัน

4) ให้อิบาดะฮฺเป็นแกนกลางของชีวิต

ตลอดเดือนรอมฎอนเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ามุสลิมสามารถทำให้การถือศีลอดเป็นกิจกรรมหลักของชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมอื่น ๆ จำเป็นต้องถูกจัดเรียงให้สอดคล้องกับการถือศีลอด

ตารางของมุสลิมช่วงเดือนรอมฎอนต้องเปลี่ยนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเวลารับประทานอาหาร เวลาทำงาน เวลาเล่น เวลาทำธุระส่วนตัว และเวลาอื่น ๆ จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับการถือศึลอดรวมถึงการละหมาดตะรอวีหฺ

เปลี่ยนจากการที่เคยรับประทานอาหาร 3 มื่้อ เช้า เที่ยง เย็น มาเป็นวันละ 2 มื้อ คือ ช่วงละศีลอและอาหารสุโฮร์

เวลานอนอาจต้องนอนดึกขึ้นเพื่อละหมาดตะรอวีหฺฺและตื่นเช้ากว่าเดิมเพื่อรับทานอาหารสุโอร์

เวลาจะนัดกับใครไม่ว่าธุระนั้นหรือผู้นักคนนั้นจะสำคัญขนาดไหนก็ตามแต่ ก็ไม่สามารถนัดตรงกับเวลาละศีลอด ยกเว้นนัดกันไปละศีลอด

เมื่อเราสามารถให้การถือศีลอดซึ่งเป็นอิบาดะฮฺหนึ่งเป็นแกนกลางในการดำเนินชีวิตได้แล้วทำไมเราจะไม่สามารถให้อิบาดะฮฺฺอื่น ๆ เป็นแกนกลางของชีวิตเหมือนการถือศีลอด

นอกเดือนรอมฎอนหากเราไม่สามารถทำให้ทุกอิบาดะฮฺเป็นแกนกลางในชีวิตของเราได้ อย่างน้อยขอให้การละหมาดคือแกนกลาง คือเสาหลักในชีวิตของเราก็เพียงพอ เพราะท่านนบี กล่าวว่า

"เสาของอิสลามนั้นคือการละหมาด" รายงานโดย ติรมีซีย์

จงให้ละหมาด 5 เวลา คือแกนกลางของชีวิต ชนิดที่กิจกรรมใดหรือใครก็ไม่สามารถละเมิดเวลาละหมาดองเราได้ ไม่มีกิจกรรมใดในชีวิตมนุษย์ที่สำคัญกว่าการละหมาดแล้ว เพราะการละหมาดคือสัญลักษณ์แห่งการภักดีที่เด่นชัดที่สุด อัลลอฮฺ กล่าวว่า

"และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์มาเพื่ออื่นใดเว้นแต่เพื่อเคารพภักดี (อิบาดะฮฺ) ต่อข้า" (บทอัชชาริยาต โองการที่ 56)

5) ความสุขที่ได้ละศีลอด ความสุขที่ได้พบพระเจ้า

ท่านนบีสัญญาไว้ว่าสำหรับผู้ถือศีลอดนั้นจะมีความสุข 2 ครั้งด้วยกัน นั่นคือ ความสุขขณะละศีลอด และความสุขขณะที่กลับไปพบพระเจ้า (รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม) ทุกวันในเดือนรอมฎอนเราต่างเตรียมตัวพบกับความสุขแรกด้วยการเลือกซื้ออาหารที่ดีที่สุด เลือกซื้ออาหาร เครื่องดื่มที่เราชอบและอยากรับประทานเพื่อต้อนรับความสุขแห่งการละศีลอดนี้

ไม่ถือเป็นความผิดที่ เราจะเตรียมตัวพบกับความสุขตอนละศีลอด

แต่คงน่าเกลียดหากเราจะละเลยความสุขอีกประการที่ท่านนบีสัญญาไว้ ความสุขในวันที่เราจะได้พบกับพระเจ้าองเรา อัลลอฮฺ ตะอาลา เป็นอีกความสุขหนึ่งที่ไม่มีผู้ถือศีลอดคนใดเคยสัมผัส สิ่งที่ต้องตระเตรียมเพื่อพบกับความสุขนี้คงไม่ใช่การเตรียมอาหาร - เครื่องดื่มที่ดีและหลากชนิด การทำความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺต่างหาก คือ เสบียงชั้นเยี่ยมเพื่อนำกลับไปพบกับอัลลอฮฺ

อัลลอฮฺ ตะอาลา กล่าวว่า

"ดังนั้น ใครที่หวังว่าจะพบกับพระเจ้าของเขา ก็จงปฏิบัติความดี และอย่าได้ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระองค์ในการทำอิบาดะฮฺของเขา" (บทอัล-กะฮฺฟฺ โองการที่ 110)

6) ขอบคุณ และ อดทน

การขอบคุณ และความอดทน คืออีกสองบทเรียนที่เราได้รับจารกการถือศีลอดช่วงเดือนรอมฎอน ผู้ศรัทธาจะใช้ความอดทนขณะที่เขาต้องอดอาหาร และพวกเขาจะขอบคุณต่อผู้ประทานอหารเวลาที่เาละศีลอด ดังนั้น ไม่ว่าจะช่วงเวลาทีี่ผู้ศรัทธาอดอาหารยามกลางวัน หรือ ละศีลอดยามกลางคืน เขาก็จะได้รับความดีทั้งสิ้น ดังที่ท่านนบีบอกว่า

"การงานของผู้ศรัทธานั้นช่างแปลกเสียจริง การงานของเขานั้นดีไปเสียทั้งหมด ซึ่งมันจะไม่เกิดเช่นนี้กับใครนอกจากกับผู้ศรัทธาเท่านั้น หากความสุขมาประสบกับเขา ๆ จะขอบคุณ ความดีก็เป็นของเขา และหากความทุกข์มารประสบกับเขา ๆ จะอดทน ความดีก็เป็นของเขา" รายงานโดยมุสลิม

ชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าจะในหรือนอกรอมฎอนก็มีแค่นี้แหละครับ บางทีก็ได้รับความโปรดปราน บางครั้งก็ถูกทดสอบ การถือศีลอดช่วงรอมฎอนสอนให้เรารู้จักขอบคุณเมื่อได้รับความโปรดปราน และเผชิญกับความทุกข์ยากด้วยการอดทนต่อบททดสอบของพระองค์


..........................................
เขียนโดย : นาอีม วงศ์เสงี่ยม
(จากหนังสือ : รอมฎอนเดือนแห่งการใคร่ครวญ)
อดทน เพื่อสู่ชัยชนะ โพส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น