1.อัลกุรอาน
2.อัสสุนนะฮฺ
3.อิจญ์มาอ์ (มติเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอ์)
4.กิยาส (การเทียบสิ่งหนึ่งที่ไม่มีหลักฐานระบุถึงหุกุ่มของมัน กับสิ่งหนึ่งที่มีหลักฐานระบุหุก่มชัดเจน โดยที่ทั้งสองนั้นมีองค์ประกอบที่เหมือนกัน)
5.อิสติหฺสาน (การพิจาณาเห็นชอบด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยปัญญาเป็นบรรทัดฐาน)
6.อุรฟฺ (หลักจารีต)
7.ทัศนะของเศาะหาบะฮฺ
8.ชะรีอะฮฺก่อนสมัยท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) (ชัรอฺ มัน ก็อบละนา)
แหล่งอ้างของมัซฮับมาลิกีย์
1.อัลกุรอาน
2.อัสสุนนะฮฺ
3.อิจญ์มาอ์
4.กิยาส
5.มะศอลิหฺ มุรสะละฮฺ
6.การปฏิบัติของชาวมะดีนะฮฺ (อะมัล อะฮฺลุล มะดีนะฮฺ)
แหล่งอ้างของมัซฮับชาฟิอีย์
1.อัลกุรอาน
2.อัสสุนนะฮฺ
3.อิจญ์มาอ์
4.กิยาส
แหล่งอ้างของมัซฮับหัมบาลีย์
1.นุศูฮฺ หมายถึง อัลกุรอาน และรายงานที่ถูกต้องจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)
2.ฟัตวา ศอหาบะฮฺ เมื่อท่านพบเจอฟัตวาของศอหาบะฮฺ และไม่พบการโต้แย้งใดๆ ท่านก็จะใช้มันเป็นหลักฐาน และจะไม่แปรเปลี่ยนไปยังคำกล่าวของผู้อื่น
3.หากมีความขัดแย้งระหว่างศอหาบะฮฺ ท่านก็จะเลือกเอาทัศนะที่ใกล้เคียงกับอัลกุรอาน และอัสสุนนะฮฺมากที่สุด
4.ใช้หะดิษมุรสัลและหะดิษเฎาะอิฟ ท่านลำดับสิ่งนี้ก่อนกิยาส แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจในประเด็นนี้ คือ หะดิษเฎาะอิฟที่ท่านหมายถึงนั้น ในสมัยของท่าน มันเป็นหนึ่งในประเภทหะดิษที่ถูกยอมรับ(มักบูล) หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า หะดิษหะซัน เพราะในสมัยของท่านนั้น ยังไม่มีการแบ่งประเภทหะดิษเศาะเฮียะฮฺและหะซัน
5. กิยาส สิ่งนี้จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อไม่พบสิ่งต่างๆ ก่อนหน้านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น