ย่อละหมาด
คือการย่อละหมาดชนิดที่มีสี่รอกาอัต เช่น ดุห์ริ , อัสริ , และอิชาอฺ เหลือเพียงสองรอกาอัต ดังจะได้อธิบายต่อไป
หลักฐานในการบัญญัติกอสร์ คือ คำดำรัสของอัลเลาะห์ตาอาลาที่ว่า :
"และเมื่อท่านทั้งหลายเดินทางไปใหนหน้าแผ่นดิน จะไม่มีบาปใด ๆ ตกอยู่กับพวกท่าน การที่ท่านทั้งจะย่อละหมาด" ( อันนิซาอฺ : 101)
มุสลิม (686) และผู้อื่น ได้รายงาน จากยะอฺลา บุตร อุมัยยะห์ ได้กล่าวว่า : ฉันได้ถามอุมัร บุตร ค๊อตต๊อบ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ว่า : (ที่อัลกุรอานกล่าวว่า : ) "จะไม่มีบาปใด ๆ ตกอยู่กับพวกท่าน การที่ท่านทั้งหลายจะย่อละหมาด ถ้าหากพวกท่านกลัวว่า พวกผู้ไร้ศรัทธาจะสร้างความปั่นป่วนกับพวกท่าน" และบัดนี้ประชาชนมีความปลอดภัยดีแล้ว? อุมัรตอบว่า ฉันก็แปลกใจเช่นเดียวกับที่ท่านแปลกใจ ฉันได้ถามท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ถึงเรื่องดังกล่าว และท่านก็ตอบว่า : "เป็นซอดาเกาะห์ (ทาน) ที่อัลเลาะห์มอบให้พวกท่านดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงรับซอดาเกาะห์ของพระองค์เถิด"
ฮะดิษนี้ชี้ว่าการย่อละหมาดไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงในกรณีที่กลัวเท่านั้น และเพื่อให้การย่อละหมาดใช้ได้จำเป็นจะต้องรักษาเงื่อนไขต่าง ๆ ต่อไปนี้ :
-ละหมาดนั้นตกหนักอยู่กับตัวเขาขณะเดินทาง , และเขาจะต้องนำละหมาดนั้นมาปฏิบัติในขณะเดินทางอีกด้วย :
ดังนั้นจะไม่เข้าอยู่ในเงื่อนไขดังกล่าว ละหมาดที่เข้าเวลาแล้วก่อนที่จะเดินทาง และเขาได้เดินทางไปก่อนจะทำละหมาดนั้น , ดังนั้นจะไม่ยินยอม ให้ผู้เดินทางย่อละหมาดดังกล่าว เพราะเขายังไม่ได้เป็นผู้เดินทาง ขณะที่ละหมาดนั้นวาญิบเหนือตัวเขาและขณะที่ละหมาดนั้นตกหนักอยู่กับตัวเขา
และไม่เข้าอยู่ในเงื่อนไขดังกล่าวอีกเช่นกัน ละหมาดที่เข้าเวลาแล้วขณะที่เขาเป็นผู้เดินทาง แต่เขาไม่ได้ทำละหมาดนั้น จนกระทั่งกลับสู่ภูมิลำเนาของเขา ก็ไม่ยินยอมให้เขาย่อละหมาดนั้น เพราะขณะที่นำละหมาดนั้นมาปฏิบัติเขาไม่ใช่เป็นผู้เดินทางแล้ว และเพราะการย่อละหมาดนั้นยินยอมให้แก่ผู้ที่เดินทางเท่านั้น
-เขาจะต้องพ้นเขตกำแพงเมืองที่เขาเดินทางออกไป หือพ้นเขตชุมชน ถ้าหากเมืองนั้นไม่มีกำแพง
เพราะถือว่าผู้ที่ยังอยู่ในกำแพงหรืออยุ่ในเขตชมชนไมใช่เป็นผู้เดินทาง หมายความว่า การเดินทางจะเร่มต้นตั้งแต่พ้นเขตดังกล่าว เช่นเดียวกับการสิ้นสุดการเดินทาง เมื่อผู้เดินทางกลับมาถึงเขตดังกล่าว เขาก็จะย่อละหมาดไม่ได้ นอกจากละหมาดที่ตกหนักอยู่กับตัวเขา แต่ต้องกระทำในช่วงนี้
บุคอรี ( 1039) และมุสลิม (690) ได้รายงานจากอะนัส (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ว่า : ฉันได้ละหมาดดุห์ริกับท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่มะดีนะฮ์สี่รอกาอัต และละหมาดอัสริที่ซุ้ลฮุลัยฟะห์สองรอกาอัต" ซุ๊ลฮุลัยฟะห์อยู่นอกเขตชุมชนของมะดีนะห์
สำหรับกรณีที่ผู้เดินทางเขาไม่รู้จะพำนักอยู่ในเมืองนั้นกี่วัน เพื่อทำงานบางอย่างที่เขาก็ไม่รู้ว่าจะทำเสร็จเมื่อไหร่ ให้เขาย่อละหมาดได้ในกรณีแรกจนกว่าเขาจะกลับเข้าเขตชุมชนในถิ่นเดิมของเขา และย่อละหมาดได้ในกรณีที่สองเป็นเวลาสิบแปดวันนอกจากวันที่เขาเดินทางเข้าและเดินทางออก
อบูดาวูด (1229) ได้รายงาน จากอิรอน บุน อุซอยน์ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวว่า : "ข้าพเจ้าได้ออกไปทำสงครามร่วมกับท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และได้มาปรากฏตังพร้อมกับท่นในการเข้าพิชิตมักกะห์ (อัลฟัตฮ์) ท่านได้พำนักที่มักกะห์เป็นเวลาสิบแปดคืน โดยท่านไม่ได้ละหมาดใดนอกจากละหมาดสองรากาอัต" เพราะท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้พำนักในเวลาดังกล่าวนี้ที่มักกะฮ์ในปีที่เข้าพิชิตมักกะฮ์ เพื่อรบกับพวกฮาวาซิน ท่านจึงย่อละหมาด โดยท่านไม่รู้กำหนดเวลาที่จะต้องอยู่ที่มักกะห์ว่าเป็นเวลากี่วัน
-จะต้องไม่ละหมาดตามผู้ที่ไม่ได้เดินทาง
ดังนั้นถ้าหากผู้ที่เดินทางละหมาดตามผู้ไม่ได้เดินทาง เขาก็จำเป็นจะต้องละหมาดให้ครอบสมบูรณ์จะย่อละหมาดไม่ได้
ส่วนในกรณีกลับกัน ไม่มีข้อห้ามที่เขาจะย่อละหมาด คือผู้เดินทางเป็นอิมามนำละหมาดผู้ไม่ได้เดินทาง ยินยอมให้ผู้เดินทางย่อละหมาดได้และสุนัตให้ผู้เดินทางที่เป็นอิหม่าม เมื่อได้สลามในรอกาอัตที่สองแล้ว รีบบอกแก่ผู้ที่ตามโดยกล่าวแก่พวกเขาว่า : "พวกท่านจงละหมาดให้ครบสมบูรณ์เถิด เพราะฉันเป็นคนเดินทาง"
หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือฮะดิษที่อะห์มัด ได้รายงานด้วยสายรายงานที่ซอเฮียะห์ จากอิบนุอับบาส (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ว่าเขาถูกถามว่า : "ทำไมคนเดินทางจึงละหมาดสองรอกาอัต เมื่อละหมาดคนเดียวและสี่รอกาอัตเมื่อละหมาดตามผู้ที่ไม่ได้เดินทาง? เขาตอบว่า : "นั่นคือซุนนะห์"
และได้ปรากฏในฮะดิษ อิมรอน (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ที่ผ่านมาแล้ว และท่านนบีจะกล่าวว่า : "ชาวเมืองเอ๋ย พวกท่านจงละหมาดสี่รอกาอัตเถิด เพราะพวกเราเป็นพวกที่เดินทาง"
الله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น