อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ชีวิตนบีที่สมถะ



มนุษย์ทุกคนหวัง
ความสุขสบาย
จากปัจจัยจำนวนมาก แต่ในความ
เป็นจริงนั้นความสุข
ไม่ได้เกิดจากวัตถุแต่
อย่างใด

ความสุขที่แท้จริงเกิดจาก
ความพอใจมากกว่า ดังที่ท่านนบี
เคยกล่าวไว้ว่า

“คนโชคดี คือ ผู้ที่ได้รับทางนำ
จากอิสลาม มีปัจจัยชีวิตที่พอเพียง
และมีความพึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่"

(บันทึกโดยฏอบรอนี)

ความโชคดีตรงนี้ก็คือ การมีชีวิตที่ดี
ในโลกนี้นั้นก็คือ การมีจิตวิญญาณที่ดี
การมีฐานะที่ไม่ขัดสน
และการมีจิตใจที่มั่นคง
ท่านนบี เองก็ได้รับคำสั่งให้มี
ความพึงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ โดยไม่
ต้องไปเปรียบเทียบ
กับชีวิตอันหรูหราของพวกปฏิเสธศรัท
ธา ที่เกิดมาเพื่อแสวงหา
ความสุขสำราญในโลกนี้เท่านั้น พวก
เขา
จึงมีชีวิตเพื่อการกอบโกยแต่เพียงอย่า
งเดียว อันเนื่องมาจากพวกเขา
ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีโลกหน้า
เพื่อการตอบแทนความดี
หรือชำระโทษผู้กระทำผิด
ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ความว่า
" ﻭَﻻ ﺗَﻤُﺪَّﻥَّ ﻋَﻴْﻨَﻴْﻚَ ﺇِﻟَﻰ ﻣَﺎ ﻣَﺘَّﻌْﻨَﺎ ﺑِﻪِ ﺃَﺯْﻭَﺍﺟًﺎ
ﻣِﻨْﻬُﻢْ ﺯَﻫْﺮَﺓَ ﺍﻟْﺤَﻴَﺎﺓِ ﺍﻟﺪُّﻧْﻴَﺎ ﻟِﻨَﻔْﺘِﻨَﻬُﻢْ ﻓِﻴﻪِ ﻭَﺭِﺯْﻕُ
ﺭَﺑِّﻚَ ﺧَﻴْﺮٌ ﻭَﺃَﺑْﻘَﻰ "

“และเจ้า (มุฮำมัดมุสลิมทุกคน)
อย่าทอดสายตาของเจ้าไปยังสิ่งที่เรา
ได้ให้ความเพลิดเพลิน
แก่บุคคลต่างๆ
(จากกาเฟร) ซึ่งความสุขสำราญ
ในชีวิตดุนยา
เพื่อเราจะได้ทดสอบพวกเขาในการนี้
และการตอบแทนของพระเจ้าของเจ้า
นั้นดียิ่งกว่าและจีรังกว่า ”

(อัลกุรอาน /131)

โองการข้างต้น ให้อะไรแก่เราบ้าง ?
โองการข้างต้น บอกเราว่า

- ไม่ควรดูแต่คนที่มี
ความสมบูรณ์ทุกอย่าง ของชีวิต
ในดุนยา

- การได้รับความรวย
และยศถาบรรดาศักดิ์ ถือ
เป็นการทดสอบจากอัลลอฮฺ ว่า เป็น
ผู้กตัญญูรู้คุณ หรือไม่ ?

-ความจนไม่ใช่ความ
อัปยศของชีวิต

- ปัจจัยของชีวิตดุนยา
เป็นเพียงภาพลวงตา และชั่วคราว

- การตอบแทนจากอัลลอฮฺ ดีกว่า
และคงมั่นนิรันดร์ (สวรรค์)
ความหรูหราของชีวิต จึงไม่
ใช่เป้าหมายของชีวิต
ของมุสลิม

ความร่ำรวย ไม่ใช่
ความมากมายของทรัพย์สิน แต่
ความร่ำรวยในทัศนะอิสลาม คือ
ความมีน้ำใจอันกว้างขวาง
วิถีชีวิตของท่านนบี
เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด โดยเฉพาะ
กับบรรดาผู้ศรัทธา ภาพของ
ความสมถะของท่าน ทั้งๆ ที่
เป็นมหาบุรุษของโลก ตามที่อุมัร อิบนุ
คอตต๊อบได้เล่าเรื่องราวของท่านตอนที่ท่าน
สาบานจะไม่ยุ่งเกี่ยว
กับบรรดาภรรยา ที่เรียกร้องปัจจัย
ในดุนยาจากท่าน และท่าน
ได้ปลีกตัวไปพักใน
ส่วนหนึ่งของมัสยิด
ท่านอุมัร ได้มาเยี่ยมท่านพบว่า
ท่านนบี นอน
อยู่บนเสื่อมีร่องรอยติดสีข้างของท่าน
อุมัรเมินหน้าหนี และอะไรเกิดขึ้น
กับท่าน ?
โอ้ท่านศาสนทูต ท่านเป็น
ผู้ถูกเลือกสรรจากอัลลอฮฺ
จากบรรดาสิ่งที่ถูกสร้าง
จักรพรรดิเปอร์เซียและโรมันมีสภาพ
เป็นอย่างไร ?
ท่านนบี ลุกขึ้นด้วยหน้าแดงกล่ำ
(โกรธ) และกล่าวว่า โอ้ อิบนุคอตต๊อบ
ท่านมีความสงสัยในตัวฉัน
กระนั้นหรือ ?
แล้วท่านได้กล่าวว่า “ชนเหล่านี้
ปรารถนาได้ความดีงาม ในชีวิตดุนยา
โดยเร่งรีบ”

ส่วนในรายงานของมุสลิม
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ได้กล่าวว่า “ท่านพอใจหรือไม่ที่ดุนยา
เป็นของพวกเขา และอาคิเราะฮฺ
เป็นของพวกเรา"

อุมัรตอบว่า “ใช่แล้ว
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ แล้ว

เขากล่าวว่า ฉันของสรรเสริญอัลลอฮฺ

ในความรู้สึกของอุมัร คือ คนระดับนบี
ทำไมต้องมานอนบนเสื่อ
เหมือนคนจนนอน
ทั้งๆ ที่ท่านเป็นมหาบุรุษที่ยิ่ง
ใหญ่ของโลก
ยิ่งใหญ่กว่าจักรพรรดิ
ของเปอร์เซีย
และโรมันเสียอีก
แต่มีสภาพที่แตกต่างๆ
จากจักรพรรดิทั้งสอง คำพูดนี้ที่ทำให้ท่านนบี
โกรธมุอัร ท่านจึงได้ตั้งคำถามว่า
พอใจไหมที่โลกหน้า
เป็นของเรา
โดยที่โลกนี้
เป็นของพวกปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจาก
ผู้ศรัทธาถูกบังเกิดมา
เพื่อโลกหน้า
แต่ก็อย่าลืมหน้าที่
และสิทธิของชีวิตของโลกนี้
ในกรณีที่คล้ายกันนี้ อิบนุ มัสอูดคน
ใกล้ชิดท่านได้เล่าว่า
“ท่านร่อซูล นอนบนเสื่อ
และรอยเสื่อติดที่ผิวหน้า
อิบนุมัสอูด ได้ลูบรอยออก
และกล่าวว่า ข้าสาบานต่ออัลลอฮฺว่า
หากว่าท่านอนุญาต (ให้ฉัน) ปูนั้น”

(บันทึกโดยอัตติรมีซีย์)

ดุนยา คือ ต้นไม้ที่เราพัก
ใต้ร่มเงาของมัน วันหนึ่งเราก็
ต้องเดินทางต่อไป
มันคือการเดินทาง
กลับบ้านเก่า ส่วน
จะไปไหนเดี๋ยวก็รู้เอง…

.........................................
โดย ...อ.อับดุลลอฮฺ มานะ
มูลนิธิ ชี้นำสู่สันติสุข


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น