สิ่งคลุมเครือ หรือสิ่งที่ไม่ชัดเจนสำหรับผู้ไม่รู้ ไม่ได้เป็นที่รู้กันในสังคมกว้างขวางว่าสถานะเป็นเช่นไร ซึ่งสิ่งดังกล่าวหากจะมองจากมุมหนึ่งดูว่าน่าเป็นที่อนุมัติ แต่หากมองจากอีกมุมหนึ่งดูว่าน่าจะต้องห้าม ทำให้เกิดมุมมองที่ขัดแย้งกันขึ้นมา และมองจากภายนอกแล้วดูคลุมเครือ เช่น หนังของสัตว์ที่ห้ามรับประทาน สวมใส่ได้หรือไม่ เครื่องดื่มที่เกิดจากการหมักผลไม้ดื่มได้หรือไม่ นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน ในสถานะของสิ่งคลุมเครือ ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่ามีสถานะต้องห้าม ส่วนหนึ่งว่าอยู่ในข่ายสิ่งอนุมัติ และอีกส่วนหนึ่งว่าสิ่งคลุมเครือนั้นยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าอนุมัติ หรือต้องห้าม จนกว่าจะต้องพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน
จงละทิ้งในสิ่งคลุมเครือ
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"จงละสิ่งที่สงสัยไปทำสิ่งที่แน่ใจ" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรมีซีย์ และอันนะซาอีย์)
สิ่งคลุมเครือ นักวิชาการแบ่งเป็ด 3 ลักษณะ คือ
1. คือสิ่งที่แน่ใจว่าต้องห้าม แต่สงสัยว่าความต้องห้ามของมันหมดไปหรือยัง เช่นเราแน่ใจว่าผู้หญิงคนหนึ่งเป็นภรรยาผู้อื่น แต่สงสัยว่าเธอหย่าจากสามีหรือไม่ ให้ถือเอาส่วนที่แน่ใจเป็นพื้นฐานไว้ก่อน คือเธอเป็นภรรยาผู้อื่นจนกว่าจะแน่ใจว่าการหย่านั้นเกิดขึ้นจริงและพ้นอิดดะฮ์แล้วเท่านั้น
2. คือสิ่งที่แน่ใจว่าอนุมัติ แต่สงสัยว่ามีบางอย่างมาทำให้มันเป็นที่ต้องห้ามแล้วหรือไม่
เช่น สามีสงสัยว่าหย่าภรรยาไปแล้วหรือยัง เมื่อเป็นสามีภรรยากัน ย่อมแน่ใจว่าเธอเป็นที่อนุมัติสำหรับเขา เมื่อสงสัยว่าหย่านางแล้วหรือยัง ให้ถือว่าเธอยังเป็นภรรยาและเป็นผู้ที่ศาสนาอนุมัติให้
หากมีน้ำละหมาดอยู่แล้ว แต่สงสัยว่าเสียหรือไม่ ให้ถือว่ามีน้ำละหมาด
หากแน่ใจว่าไม่มีน้ำละหมาด แต่สงสัยสัยว่าอาบแล้วหรือยัง ให้ถือว่ายัง
3. คือสิ่งที่ไม่รู้มาก่อนเลยว่าอนุมัติหรือต้องห้าม เป็นไปได้ทั้งสองทาง ให้เลือกที่รัดกุมกว่า
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ดังนั้น ผู้ใดระวังตนเรื่องคลุมเครือ เขาย่อมทำให้ศาสนาและศักดิ์ศรีของเขาพ้นมลทิน ส่วนผู้ใดที่ถลำเข้าไปสู่สิ่งคลุมเครือก็เท่ากับเขาถลำสู่สิ่งต้องห้าม" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
الله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น