ทรรศนะอิมามชาฟีอีที่บอกว่า
المحدثات من الأمور ضربان: ما أحدث يخالف كتاباً أو سنة أو أثراً أو إجماعاً، فهذه بدعة ضلالة.وما أحدث من الخير لا خلاف لواحد من هذا، فهذه محدثة غير مذمومة.قد قال عمر في قيام رمضان: "نعمت البدعة هذه".
บรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มี 2 ประเภทคือ
หนึ่ง – สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ ที่ขัดแย้งกับ อัลกุรอ่าน,อัสสุนนะฮ,หรือ อัลอะษัร หรือ อัลอิจญมาอฺ และนี้คือ บิดอะฮที่ลุ่มหลง
สอง – สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ จาก การกระทำที่ดี ที่ไม่ขัดแย้งกับ ประการหนึ่งประการใด จากนี้ มันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่ไม่ถูกตำหนิ และแท้จริง อุมัร ได้กล่าวในเรื่องการละหมาดตะรอเวียะว่า “" นี่แหละ คือบิดอะฮฺที่ดี” – บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ – ดู มะนากิบอัชชาฟิอี เล่ม 1 หน้า 469
ปราชญ์อย่างท่านอิบนุรอญับอธิบายแบบ
ومراد الشافعي رضي الله عنه ما ذكرناه من قبل أن أصل البدعة المذمومة ما ليس لها أصل في الشريعة ترجع إليه وهي البدعة في إطلاق الشرع وأما البدعة المحمودة فما وافق السنة يعني ما كان لها أصل من السنة ترجع إليه وإنما هي بدعة لغة لا شرعا لموافقتها السنة .
และจุดมุ่งหมายของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น