قَالَ صَاحِبُ الشَّامِلِ وَغَيْرُهُ : وَأَمَّا إِصْلاَحُ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا وَجَمْعُ النَّاسِ عَلَيْهِ فَلَمْ يُنْقَلْ فِيْهِ شَىْءٌ وَهُوَ بِدْعَةٌ غَيْرُ مُسْتَحَبَّةٍ
“ท่านเจ้าของหนังสือ “อัช-ชามิล” (มีชื่อว่า อบูนัศรฺ, มะห์มูด บิน อัล-ฟัฎล์ อัล-อิศบะฮานีย์, มีชื่อรองว่า อิบนุ ศ็อบบาค เป็นชาวเมืองอิศฟาฮาน, สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 512) และนักวิชาการท่านอื่นๆกล่าวว่า … อนึ่ง การที่ครอบครัวผู้ตายได้จัดปรุงอาหารขึ้น และเชิญชวนผู้คนให้มาร่วมรับประทานกัน พฤติกรรมนี้ ไม่เคยปรากฏมีรายงานหลักฐานมาแต่ประการใด, ดังนั้น มันจึงเป็นบิดอะฮ์ที่ไม่ชอบตามหลักการศาสนา”
***ท่านเช็ค อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ได้กล่าวในหนังสือ “ตุ๊ห์ฟะตุ้ล มุห์ตาจญ์” ว่า
وَمَا اعْتِيْدَ مِنْ جَعْلِ أَهْلِ الْمَيِّتِ طَعَامًا لِيَدْعُواالنَّاسَ إِلَيْهِ بِدْعَةٌ مَكْرُوْهَةٌ كَإِجَابَتِهِمْ لِذَلِكَ
“สิ่งซึ่งปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว อันได้แก่การที่ครอบครัวผู้ตายปรุงอาหารขึ้นมา เพื่อเชิญให้ผู้คนมาร่วมรับประทานนั้น มันคือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ เช่นเดียวกับการตอบรับคำเชิญชวนไปร่วมในงานเลี้ยงนี้ (ก็เป็นบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจเช่นเดียวกัน)
(จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 146)
***ท่านอะห์มัด บิน ซัยนีย์ ดะห์ลาน อดีตมุฟตีย์ของมัษฮับชาฟิอีย์แห่งนครมักกะฮ์ ได้กล่าวตอบเมื่อมีผู้ถามปัญหาเรื่องการเลี้ยงอาหารบ้านผู้ตายว่า
نَعَمْ، مَايَفْعَلُهُ النَّاسُ مِنَ اْلإِجْتِمَاعِ عِنْدَ أَهْلِ الْمَيِّتِ وَصُنْعِ الطَّعَامِ مِنَ الْبِدَعِ الْمُنْكَرَةِ الَّتِىْ يُثَابُ عَلَى مَنْعِهَا وَالِى اْلأَمْرِ
“ใช่, สิ่งซึ่งประชาชนกำลังกระทำกัน อันได้แก่การไปชุมนุมกัน ณ ครอบครัวผู้ตาย และมีการปรุงอาหาร (เพื่อเลี้ยงดูกัน) ถือว่า เป็นหนึ่งจากบิดอะฮ์ต้องห้าม .. ซึ่งผู้นำที่ต่อต้านเรื่องนี้ จะได้รับผลบุญตอบแทน ”(จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 145)
ท่านเช็คอะห์มัด ซัยนีย์ ดะห์ลาน ยังได้กล่าวในการตอบคำถามนี้อีกตอนหนึ่งว่า
وَلاَ شَكَّ أَنَّ مَنْعَ النَّاسِ مِنْ هَذِهِ الْبِدْعَةِ الْمُنْكَرَةِ فِيْهِ إِحْيَاءٌ لِلسُّنَّةِ وَإِمَاتَةٌ لِلْبِدْعَةِ، وَفَتْحٌ لِكَثِيْرٍ مِنْ أَبْوَابِ الْخَيْرِ وَغَلْقٌ لِكَثِيْرٍ مِنْ أَبْوَابِ الشَّرِّ، فَإِنَّ النَّاسَ يَتَكَلَّفُوْنَ كَثِيْرًا يُؤَدِّىْ إِلَى أَنْ يَكُوْنَ ذَلِكَ الصُّنْعُ مُحَرَّمًا
“และไม่มีข้อสงสัยใดๆเลยว่า การห้ามปรามประชาชนจาก (การกระทำ) สิ่งบิดอะฮ์ต้องห้ามอย่างนี้ คือการฟื้นฟูซุนนะฮ์และเป็นการทำลายบิดอะฮ์, และยังเป็นการเปิดประตูแห่งความดีอย่างมากมาย และเป็นการปิดประตูแห่งความชั่วอย่างมากมาย,เพราะว่าประชาชนต่างก็ทุ่มเท(ในเรื่องนี้) กันอย่างหนัก จนการกระทำดังกล่าวอาจนำไปสู่การปฏิบัติที่ต้องห้ามได้”
(จากหนังสือ “อิอานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 2 หน้า 146)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น