"การละหมาด ถ้าละหมาดคนเดียว ใส่อ้าดาอัน หลักร่อก้าอาติน ถ้าเป็นอิมามหรือมะมูม ก็ใส่อิมามัน หรือมะมูมัน หลังร่อก้าอาติน ถ้าเป็นละหมาด ก็ฎอ (ชดใช้) ก็ใส่ก็ฎออัน หลังร่อก้าอ้าติน"
การวางระเบียบปฏิบัติเช่นนี้กลายเป็นบัญญัติเสริมในการละหมาดที่ไม่อาจปฏิเสธได้
และผู้นิยมกล่าวคำเหนียต ยังได้วางกฎเกณฑ์ของเหนียตไว้ว่า ต้องมี กอศ็อด, และตะอ์ยีน แล้วนำมากล่าวเป็นถ่อยคำ ซึ่งมันก็คือตะลัฟฟุซ หรือการกล่าวคำเหนียต ที่ถูกเรียก "อุศ็อลี" โดยมีองค์ประกอบดังนี้
กอศ็อด คือการมุ่งหรือตั้งเจตนา เป็นที่มาของคำกล่าวว่า "อุศ็อลลี"
ตะอ์ร๊อต หรือ ตะอัดรุ๊ด คือการระบถว่าละหมาดที่ทำเป็นฟัรฎูหรือสุนนะฮฺ
ตะอ์ยีน คือการเจาะจงว่าเป็นละหมาดอะไร เวลาไหน
กฎเกณฑ์ดังกล่าว เป็นที่มาของการเรียบเรียงถ้อยคำเหนียต
กฎเหณฑ์เหล่านี้ เป็นเงื่อนไขที่ไม่มีที่มาหรือวางไว้จากอัลกุรอาน และคำสอนของรสูล หรือบรรดาชนสลัฟ เว้นแต่หลักฐานการเหนียต ที่ว่า "ทุกการงานขึ้นอยู่กับการเหนียตหรือเจตนา"
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮา) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ทำไมหรือบรรดาผู้คนถึงได้วางเงื่อนไขหลากหลาย ที่ไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ผู้ใดที่วางเงื่อนไขใดๆ ทีไม่มีในคัมภีร์ของอัลลออ์ มันโมฆะ ถึงแม้ว่าจะวางไว้สักร้อยเงื่อนไขก็ตาม เงื่อนไขของอัลลอ์สมควรกว่าและมั่นคงกว่า" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 2010 เป็นหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺ)
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ทุกเงื่อนไขทีไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง มันไม่ถุกตอบรับ ถึงแม้พวกเขาจะวางเงื่อนไขสักร้อยครั้งก็ตาม" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด เลขทีี่ 24339)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น