อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ 7 ข้อของการมอบหมายตัวต่ออัลลอฮฺ



1.การมอบหมายเป็นสัญญานของการเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง
อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
".และแด่อัลลอฮฺนั้นพวกเจ้าจงมอบหมายเถิด หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา.”
(อัลมาอิดะฮฺ : 23)

2.การมอบหมายทำให้มีความรู้สึกพอเพียงในสิ่งที่ตนมีอยู่
อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
“.และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา.”
(อัฎเฎาะล๊าก : 3)

3.การมอบหมายจะเป็นคนรักของอัลลอฮฺ
อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
“.ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด
แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย.”
(อาลิอิมรอน : 159)

4.การมอบหมายเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของผู้ที่อดทน อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
“บรรดาผู้อดทน และพวกเขามอบความไว้วางใจต่อพระเจ้าของพวกเขา”
(อันนะหฺลฺ : 42)

5.การมอบหมายเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ
ดังที่พระองค์ทรงช่วยเหลือนบีอิมรอฮีม
เนื่องจากการมอบหมายตัวต่ออัลอฮฺของท่าน
อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
“.เรา(อัลลอฮฺ)กล่าวว่า ไฟเอ๋ย !
จงเย็นลง และให้ความปลอดภัยแก่อิบรอฮีมเถิด.”
(อัลอัมบิยาอฺ: 59)

6.การมอบหมายทำให้จิตใจสงบ เพราะการมอบหมายตัวต่ออัลลอฮฺ
นั้น เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนิดหนึ่ง
อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
“.พึงทราบเถิด!
ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ.”
(อัรเราะฮฺด : 28)

7.การมอบหมายจะนำซึ่งปัจจัยยังชีพอย่างมากมายจากอัลลอฮฺ
ท่านนบีได้กล่าวว่า
“.หากพวกท่านมอบหมายตัวต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง
แน่นอนพระองค์จะประทานปัจจัยยังชีพให้พวกท่าน
เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพให้กับนก
โดยที่มันบินออกไปในตอนเช้าในสภาพที่ท้องว่าง
และกลับมาในตอนเย็นในสภาพที่ท้องอิ่ม.”
(หะดีษศอหี้ห บันทึกโดยติรมีซีย์ หะดีษที่ 2344)

............................................
จาก : หนังสือเรียนซานาวีย์
แปลและเรียบเรียงโดย : มูฮำหมัดกามัล อัลฟัจรีย์
อินชาอัลลอฮฺ น่ะคนดี

มีน รักบ้านเรา โพส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น