อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เศาะฮีหฺ คุณค่าของการละหมาด


...................................................

****คุณค่าของการอาบน้ำ (สุนนะฮฺ) วันศุกร์ การฟังคุฏบะฮฺ และการละหมาดวันศุกร์****

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดที่ได้อาบน้ำ (สุนนะฮฺ) แล้วไปร่วมละหมาดวันศุกร์ จากนั้นเขาได้ละหมาด (สุนนะฮฺ) มากเท่าที่สามารถ เสร็จแล้วเขาก็สงบนิ่งฟังคุฏบะฮฺจนกระทั่งจบคุฏบะฮฺ แล้วเขาได้ละหมาด (วันศุกร์) พร้อมกับอิมาม เช่นนี้บาปของเขาผู้นั้นที่ได้กระทำระหว่างวันศุกร์นั้นกับอีกวันศุกร์หนึ่ง และเกิดไปอีกสามวันจะได้รับการอภัยโทษ" (บันทึุกโดยมุสลิม หมายเลข 857)

****คุณค่าของการละหมาดสุนนะฮฺก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู****

จากท่านหญิงอุมมุหะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านเราะสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

"ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่ทำการละหมาดสุนนะฮฺทุก ๆ วัน ๆ ละ สิบสองร็อกกะอะฮฺที่นอกจากนอกเหนือจากละหมาดฟัรฎู นอกจากอัลลอฮิจะทรงสร้างบ้านสำหรับเขาในสวนสวรรค์ หรือนอกจากเขาจะถูกสร้างวิมานให้ในสวนสวรรค์" อุมมุหะบีบะฮฺได้กล่าวว่า ซึ่งฉันก็ไม่ละเลยที่จะละหมาดสุนนะฮฺนี้นับจากวันนั้นเป็นต้นมา" (บันทึุกมุสลิม หมายเลข 728)

****คุณค่าของการละหมาดฎูฮาและความประเสริฐของช่วงเวลาดังกล่าว****

จากท่านอบูซัร เราะฎิยัลลัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"เมื่อยามเช้ามาถึง กระดูกทุก ๆ ส่วนของมนุษย์ล้วนมีหน้าที่ต้องทำเศาะดะเกาะฮฺ (บริจาคทาน) ทุกการกล่าวตัสบีหฺฺ (1) ก็เป็นการบริจาคทาน ทุกการกล่าวตะหฺมีด (2) ก็เป็นการบริจาคทาน ทุกการกลาวตะฮฺลีล (3) ก็เป็นการบริจาคทาน ทุกการกล่าวตักบีรฺ (4) ก็เป็นการบริจาคทาน การสั่งใช้ในสิ่งที่ดีก็เป็นการบริจาคทาน และการห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ดีก็ฌป็นการบริจาคทาน และถือเป็นการเพียงพอแล้วในสิ่งดังกล่้าวด้วยการละหมาดสุนนะฮฺฎูฮาสองร็อกกะอะฮฺ (5)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 720)

จากท่านชัยดฺ บินอิัรฺก็อม เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"การละหมาดของอัล-เอาวาบีน (6) คือช่วงที่ลูกอูฐรู้สึกร้อนเท้า (7)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 748)

จากท่านอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ผู้ใดละหมาดฎุฮา 4 ร็อกกะอะฮฺ และละหมาดก่อนซุฮริ อีก 4 ร็อกกะอะฮฺ จะมีบ้านที่ถูกสร้างให้แก่เขาในสวนสวรรค์" (บันทึกโดยอัฎ-เฎาะบะรอนีย์ ใน "อัล-มุอฺฌัม อัล-เอาสัฎ" หมายเลข 4753 และชัยค์อัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเป็นหะดีษที่หะสัน ใน "สิลลสิละฮฺ อัล-อะหาดีษ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ" หมายเลข 2349)

****คุณค่าของการสุญูดที่ยาวนานและบ่อย****

จากท่านเราะบีอะฮฺ บินกะอฺบ์ อัล-อัสละมีย์ เราะฎิยัลลอฮุอัันฮุ เล่าว่า

"ครั้งหนึ่งฉันได้นอนพักแรมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ฉันได้เตรียมน้ำเพื่อให้ท่านเราะสุลุลลอฮฺ ได้อาบน้ำละหมาดและถ่ายทุกข์ ท่านเราะสุลุุลลอฮฺ ได้กล่าวแก่ฉันว่า จงขอมาซิ ฉันก็ได้กล่าวว่า ฉันขอได้อยู่เคียงข้างท่านในสวนสวรรค์ ท่านเราะสุลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า นอกจากนั้นท่านต้องการอะไรอีก ? ฉันตอบว่า มีเพียงแค่นี้ ท่านเราะสุลลุลลอฮิจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น จงช่วยฉันทำให้ท่านสุญูดต่ออัลลอฮฺอย่างมากมายเถิด (8)" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 489)

จากท่านเษาบาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสุลุลลอฮิ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

"ท่านจงสุญูดให้มาก ๆ แท้จริงแล้ว ท่านจะไม่สุญูดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งครั้งเว้นแต่พระองค์จะทรงยกระดับของท่านด้วยการสุญูดดังกล่าวให้สูงขึ้นหนึ่งระดับ และพระองค์จะทรงอภัยความผิดด้วยการสุญูดดังกล่าวหนึ่งความผิด" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 488)

**************
(1) ตัสบีหฺ คือ การกล่าว "สุบหานัลลอฮฺ" มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ
(2) ตะหฺมีด คือ การกล่าว "อัลฮัมดุลิลลาอฺ" การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
(3) ตะฮฺลีล คือ การกล่าว "ลาอีลาฮะอิลลัลลอฮฺ" ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ
(4) ตักบีรฺ คือ การกล่าว "อัลลอฮุอักบัรฺ" อัลลอฮฺทรงยิ่งใหญ่ที่สุด
(5) ถือเป็นการเพียงพอแล้วที่การละหมาดฎุฮา เป็นสิ่งที่ทำให้กระดูกทุก ๆ ส่วนของมนุษย์ได้ทำหน้าที่บริจาคทานของวันนั้น
(6) อัล-เอาวาบิน หมายถึง ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว ซึ่งสาเหตุที่การละหมาดฎุฮา ถูกเรียกว่าการละหมาดของผู้กลับเนื้อกลับตัว ก็เนื่องจากว่า ไม่มีผู้ใดที่จะรักษาละหมาดนี้ได้ นอกจากผู้ที่พยายามกลับเนื้อกลับตัวไปหาอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ
(7) ช่วงสาย ๆ
(8) กล่าวคือ การที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัียฮิวะซัลลัม ในสวนสวรรค์นั้นก็ด้วยกับการที่เป็นผู้ที่มีความใกลิชิดกับอัลลอฮฺให้ได้มากที่สุด ยิ่้งใกล้ชิดกับอัลลอฮฺมาก ก็ยิ่งไ้ด้ใกลิชิดกับท่านนบีมาก ดังนั้นท่านนบีจึงให้เศาะหาบะฮฺท่านนั้นเปิดโอกาสให้แก่ท่านนบีในการอบรมสั่งสอนและปรีบปรุงตัวของเขาให้เป็นผู้ที่ทำการสุญูดต่ออัลลอฮฺให้ได้มากที่สุด


.........................................................
อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะคุลฮัก : เรียบเรียง
(จากหนังสือ : เศาะฮีหฺ คุณค่าของอามั๊ล)
อกทน เพื่อชัยชนะ โพส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น