อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทำความเข้าใจกรณีศาลสูงซาอุดิอาระเบียประกาศดูจันทร์เสี้ยวเมื่อถือศิลอดเพียง28วัน



ตามที่ศาลสูงแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียได้ประกาศให้ติดตามผลการดูดวงจันทร์หรือหิล้าลในคืนถัดจากวันที่ 28 ของการถือศิลอดในเดือนรอมาฎอน ทั้งที่ยังถือศิลอดไม่ครบ 29 วัน ตามบทบัญญัติศาสนาที่ให้ดูจันทร์เสี้ยวออกบวชเมื่อถือศิลอดครบ 29 วัน ของการถือศิลอด และทั้งที่ประเทศซาอุดิอาระเบียมีการเริ่มถือศิลอดในวันแรกพร้อมกับประเทศไทย

รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ (เสียชีวิต ฮ.ศ. 57) เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“พวกท่านทั้งหลายจงถือศิลอดเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว และพวกท่านจงเลิกถือศิลอด (กำหนดให้เป็นวันอีด) เมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว ดังนั้น หากมีเมฆหมอกปกคลุมเหนือพวกท่าน (ไม่วสามารถมองเห็นจันทร์เสี้ยว) พวกท่านจงนับเดือนชะอฺบานให้ครบ 30 วัน” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ เลขที่ 1810 มุสลิม เลขที่ 1081)

จึงเป็นที่ครหาของมุสลิมทั่วทุกสารทิศ ว่าการประกาศให้สังเกตการณ์ดูจันทร์เสี้ยวของประเทศซาอุฯในครั้งนี้ มันช่างผิดเพี้ยน ไม่เป็นไปตามแบบฉบับของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และเหล่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน ตลอดบรรดาชสลัฟ และคอลัฟที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา

>>>เหตุผลที่ศาลสูงแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียได้ประกาศให้ติดตามผลการดูดวงจันทร์หรือหิล้าลในคืนถัดจากวันที่ 28 ของการถือศิลอดในเดือนรอมาฎอน

อันเนื่องจากการดูจันทร์เสี้ยวเข้าบวชในคืนที่ 30 ของเดือนชะบาน ที่ผ่านมา ที่ไม่มีการเห็นจันทร์เสี้ยว ศาลสูงแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียเห็นว่า การดูจันทร์เสี้ยวครั้งนั้นอาจไม่ชัดเจน อาจเกิดพลาดพลั่ง ในการดูจันทร์เสี้ยวครั้งนี้ และอาจเข้าบวชล่าช้าก็เป็นได้ เพื่อให้ความชัดเจน และแน่ใจว่า วันที่ดูจันทร์เสี้ยวออกบวชนั้นถูกต้องแน่นอนแล้ว จึงให้มีการสังเกตดูจันทร์เสี้ยวในคืนถัดจากวันที่ 28 ของการถือศิลอดในเดือนรอมาฎอน หากปรากฏว่าเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนนี้ ก็ให้ถือว่ามีการเข้าบวชล่าช้าไป 1 วัน จึงให้วันนี้ เป็นวันออกบวช และเป็นวันอีดิลฟิฏตรี และให้ศิลอดชดใช้ 1 วัน ในวันหลัง แต่ถ้าหากคืนนี้ไม่เห็นจัทร์เสี้ยว ก็ให้ถือว่ามีการเข้าบวชถูกต้องแล้ว และจะมีการดูจันทร์เสี้ยวอีกครั้งในคืนวันถัดจากวันที่ 29 ของการถือศิลอดเดือนรอมาฎอน หากไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในคืนนั้นอีก ก็ให้ถือศิลอด 30 วัน และให้เป็นวันอีดในวันถัดไป โดยไม่ต้องดูจันทร์เสี้ยวอีก

เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับประเทศซา¬ฃอุดิอาระเบียหรือไม่?

การประกาศประกาศให้ติดตามผลการดูดวงจันทร์หรือหิล้าลในคืนถัดจากวันที่ 28 ของการถือศิลอดในเดือนรอมาฎอนของศาลสูงแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เช่นนี้ เคยเกิดขึ้น ในช่วง 30กว่าปีก่อน ในยุคของเชคอับดุลอาซีซ บินอับดุลลอฮฺ บินบาซ

การถือศิลอดเพียง 28 วัน และให้มีการบวชชด 1 วัน ในวันอื่นแทนเนื่องจากมีการเห็นจันทร์ ก่อนบวชครบ 29 เป็นการผิดเพี้ยน หรือเป็นไปตามแบบอย่งสุนนะฮฺหรือไม่

เหตุการการถือศิลอดเพียง 28 วัน แต่มีการเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนถัดมาของวันที่ 28 ของการถือศิลอดเดือนรอมาฎอน เคยเกิดขึ้นในยุคฆอลีฟะฮฺอาลี บิน อบีฏอลิบ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ และท่านได้ประกาศให้มีการออกบวชในวันนั้น และให้มีการถือศิลอดชดอีก 1 วัน ตามรายงานว่า
"ในยุคฆอลีฟะฮฺอาลี อิบนุ อบีฏอลิบนั้น ได้มีการถือศิลอด 28 วัน และมีการเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนถัดมาจากวันที่ 28 ท่านฆอลีฟะฮฺอาลี อิบนุอบีฏอลิบ จึงได้ประการให้ละศิลอดและออกบวชในวันนั้น และมีการชดใช้ศิดอด 1 วัน ในวันอื่นแทน"

จะเห็นได้ว่า การถือศิลอด 28 วัน และให้มีการบวชชดในวันอื่นแทนเนื่องจากมีการเห็นจันทร์เสี้ยว ก่อนบวชครบ 29 วันนั้น เป็นสุนนะฮฺ(แบบอย่าง)ของบรรดาศอหาบะฮ์ ไม่ได้เกิดจากการคิดสูตรขึ้นเอง หรือมีความผิดเพี้ยนแต่อย่างใด

หลักสำคัญของการเข้าบวช-ออกบวช คือการเห็นจันทร์เสี้ยว ถึงแม้ว่าจะมีการถือศิลอดไม่ครบ 29 วัน แต่มีการเห็นจันทร์เสี้ยวเสียก่อน ก็ต้องออกบวช และให้มีการศิลอดชดให้ครบ 29 วัน ในวันหลัง

การที่ศาลสูงแห่งราชอาณาจักรซา¬อุดิอาระเบียได้ประกาศให้ติดตามผลการดูดวงจันทร์หรือหิล้าลในคืนถัดจากวันที่ 28 ของการถือศิลอดในเดือนรอมาฎอน นั้นก็เพื่อความแน่ใจ ความชัดเจน ว่าได้มีการเข้าบวชตรงกับการขึ้นของจันทร์เสี้ยว เป็นการให้สังเกตการณ์ เผื่อว่ามีการเห็นจันทร์เสี้ยวในคืนถัดวันที่ 28 ของการถือศิลอดรอมาฎอนเท่านั้น และยังถือหลักการเข้าบวช-ออกบวช โดยการดูจันทร์เสี้ยว ในคืนถัดจากวันที่ 29 ของการถือศิลอดรอมาฎอนตามบทบัญญัติศาสนาที่ปฏิบัติกันของมุสลิมทั่วทุกมุมโลกเหมือนเดิมทุกประการ


มุสลิมในประเทศไทย จะออกบวช ตามที่ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียเห็นจันทร์เสี้ยวหรือไม่?

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า หลักของการเข้าบวช-ออกบวช ขึ้นอยู่กับการเห็นจันทร์เสี้ยว ส่วนกรณีที่ถือว่ามีการเห็นจันทร์เสี้ยวนั้น ขึ้นอยู่ว่าผู้นั้นจะตามทัศนะใด

ซึ่งการถือว่าเห็นจันทร์เสี้ยว นั้นแบ่งออกเป็น 2 ทัศนะ 

ทัศนะหนึ่ง คือเอาพื้นที่อาณาเขตของเมือง หรือประเทศเป็นหลัก ไม่ต้องตามการเห็นจันทร์เสี้ยวของเมือง หรือประเทศอื่น ผู้ที่ตามทัศนะนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สังกัดอยู่ในมัซับชาฟีอีย์

อีกทัศนะหนึ่ง คือ เมื่อมุสลิมคนใด ไม่ว่าอยู่มุมใดของโลกเห็นจันทร์เสี้ยว ถือว่าการเห็นจันทร์เสี้ยวนั้น เป็นการเห็นของประชาชาติมุสลิมทั้งหมด เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงถือศิลอดเมื่อมีการเห็นจันทร์เสี้ยว” “พวกท่านทั้งหลาย” จึงหมายความว่า บุคคลใดก็ตามที่เป็นประชาชาติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม โดยไม่จำกัดว่าผู้นั้นอยู่ในเมือง หรือประเทศใด เหมือนดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านจงละหมาดเหมือนที่ฉันละหมาด” ผู้ที่ตามทัศนะนี้ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในสังกัดมัซฉฮับฮัมบาลี

ดังนั้นหากบุคคลใดถือตามทัศนะที่ว่า เมื่อมุสลิมคนใด ไม่ว่าอยู่มุมใดของโลกเห็นจันทร์เสี้ยว ถือว่าการเห็นจันทร์เสี้ยวนั้น เป็นการเห็นของประชาชาติมุสลิมทั้งหมด เขาก็สามารถตามการเห็นจันทร์ของประเทศอื่นอย่างประเทศซาอุดิอาระเบีย , อียิปต์ หรือแม้ในประเทศไทย หากจุฬาราชมนตรีประกาศว่าเห็นจันทร์เสี้ยว ก็มีการเข้าบวช-ออกบวชตามที่จุฬาราชมนตรีประการทันที ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องตามประเทศซาอุดิอาระเบียเสมอไป ฉะนั้นผู้ที่กล่าวว่า ผู้ที่ตามการดูจันทร์เสี้ยวเฉพาะประเทศซาอุดิอาระเบียนั้น เป็นการเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างยิ่ง

والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น