ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا تَزُولُ قَدَمَا عَبْدٍ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عَنْ عُمُرِهِ فِيمَا أَفْنَاهُ، وَعَنْ عِلْمِهِ فِيمَ فَعَلَ، وَعَنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وَفِيمَ أَنْفَقَهُ» (رواه الترمذي رقم 2417)
ความหมาย “ในวันกิยามะฮฺเท้าของบ่าวจะยังไม่ถูกเคลื่อนย้าย จนกว่าเขาจะถูกสอบถามถึงว่า อายุขัยของเขาถูกใช้ให้หมดไปอย่างไร? ความรู้ของเขาได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร? ทรัพย์สินของเขาหามาจากที่ใด? และได้ใช้จ่ายไปในหนทางใด?”
(อัต-ติรมิซีย์ 4/612 หมายเลขหะดีษ 2417)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«نِعْمَتَانِ مَغْبُونٌ فِيهِمَا كَثِيرٌ مِنْ النَّاسِ الصِّحَّةُ وَالْفَرَاغُ» (رواه البخاري رقم 6412)
ความว่า “ความโปรดปราน (นิอฺมะฮฺ) สองประการที่มนุษย์ส่วนมากมักจะขาดทุน(เพราะเผลอเรอ ปล่อยปละละเลย และใช้ไม่คุ้มค่า) กล่าวคือ การมีสุขภาพดีและการมีเวลาว่าง”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 4/175 หมายเลขหะดีษ 6412)
อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَإِذَا مَرُّواْ بِٱللَّغۡوِ مَرُّواْ كِرَامٗا﴾ (الفرقان : 72)
ความหมาย “และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระ พวกเขาผ่านไปอย่างมีเกียรติ”
(อัล-ฟุรกอน 25:72)
และอัลลอฮ ตะอะลา ตรัสอีกว่า
﴿وَٱلَّذِينَ هُمۡ عَنِ ٱللَّغۡوِ مُعۡرِضُونَ﴾ (المؤمنون : 3)
ความหมาย “และบรรดาผู้ซึ่งพวกเขาผินหลังให้จากบรรดาเรื่องไร้สาระ”
(อัล-มุอ์มินูน 23:3)
บันทึกในเศาะฮีหฺของอิมามอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษอับดุลลอฮฺ บิน อัมรู บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า
لَمْ يَكُنْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَاحِشًا وَلاَ مُتَفَحِّشًا، وَقَالَ: «إِنَّ مِنْ خْيَارِكُمْ أَحْسَنَكُمْ أخلاقا» (رواه البخاري رقم 3559، ومسلم رقم 2321)
ความหมาย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยเป็นคนหยาบกระด้างและไม่เคยเป็นคนที่พูดจาหยาบคาย และท่านกล่าวได้ว่า “แท้จริงผู้ที่ดีที่สุดในกลุ่มพวกท่าน คือ ผู้ที่มีจรรยามารยาทดีที่สุด”
(อัล-บุคอรีย์ 2/518 หมายเลขหะดีษ 3559 และมุสลิม 4/181
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น