อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ละหมาดตัสบีสฺที่มีความขัดแย้งของนักวิชาการ



กรณีที่มุสลิมในบางพื้นที่ของจังหวัดชายแดนใต้ ได้มีการจัดวันรื่นเริง เนื่องจากการเสร็จสิ้น การถือศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล ที่เรียกว่ารายอแน(หก) หรือรายอกุโบร์ ซึงการเฉลิมฉลองวันรายาอแนนี้ ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาศอหาบะฮฺ ตลอดชาวสลัฟทั้งมวลก็ตาม ได้มีคำถามว่า เมื่อไม่แบบอย่างจากท่านรสูล แล้วพวกเขานำแบบอย่างมาจากไหน เขาละหมาดวันรายอแนอย่างไร นี้คือคำถาม แต่ปรากฏว่าละหมาดที่พวกเขาร่วมกันละหมาดนั้นไม่ใช่ละหมาดวันรายอ เหมือนเช่นละหมาดอีดิลฟิตรี หรืออีดิลอัฎฮา แต่พวกเขาร่วมกันละหมาดตัสบีหฺ (ทั้งมีการร่วมกันละหมาดอัตตัสบีหฺในคืนสุดท้ายของเดือนร่อมะฎอนเพื่อรอการประกาศการดูเดือนด้วย ) คำถามต่อมาว่า แล้วละหมาดตัสบีหฺ ที่พวกเขาเจาะจงรว่มกันละหมาดในวันรายอแนนี้ คือละหมาดอะไร ละหมาดอย่างไร ละหมาดตอนไหน?...

ละหมาดตัสบีหฺ คือละหมาดอะไร? 

ละหมาดตัสบีหฺ ก็คือการละหมาดสุนนะฮฺประเภทหนึ่ง

ที่เรียกว่า ละหมาดตัสบีหฺ อันเนื่องจากมีการกล่าวคำตัสบีหฺมากมายในละหมาด ซึ่งในร็อกอะฮฺหนึ่ง มีการการกล่าว ประโยคว่า "سبحان الله والحمد لله ولا إله إلا الله والله أكبر " ทั้งสิ้นจำนวน 75 ครั้ง 4 ร็อกอะฮฺ 300 ครั้งพอดี

วิธีละหมาดตัสบีหฺ

ละหมาดตัสบีหฺมี 4 ร็อกอะฮฺ

โดยอ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺทุกๆ ร็อกอะฮฺ, ภายหลังที่เราเสร็จจากการอ่านสูเราะฮฺในร็อกอะฮฺแรกให้ผู้ละหมาดอยู่ในสภาพยืนแล้วกล่าวประโยคว่า

"سبحان الله والحمد لله ولا إله إلا الله والله أكبر "

จำนวน 15 ครั้ง

จากนั้นให้รุกูอฺ ขณะรุกูอฺให้กล่าวประโยคข้างต้น 10 ครั้ง

จากนั้นก็ให้เงยจากรุกูอฺแล้วก็กล่าวประโยคข้างต้นอีก 10 ครั้ง

ต่อมาก็ให้สุญูด ขณะสุญูดก็ให้กล่าวประโยคข้างต้นอีก 10 ครั้ง

ครั้นเงยจากสุญูดในสภาพที่นั่งก็ให้กล่าวอีก 10 ครั้ง

 แล้วก็ให้ก้มสุญูดอีกแล้วอ่านประโยคข้างต้น 10 ครั้ง

แล้วเงยจากสุญูดในสภาพที่นั่งก็ให้กล่าวประโยคข้างต้นอีก 10 ครั้ง ดั่งกล่าวถือว่าหนึ่งร็อกอะฮฺ

และในหนึ่งร็อกอะฮฺการกล่าวประโยคข้างต้นจะนับได้ 75 ครั้ง

โดยให้กระทำเช่นนั้นทั้ง 4 ร็อกอะฮฺ.


เวลาของละหมาดตัสบีหฺ

การละหมาดอัตตัสบีหฺ ไม่ได้ถูกกำหนดเวลาเป็นการเฉพาะ และตามที่ระบุในหะดิษให้กระทำวันละ 1 ครั้ง และหากไม่มีความสามารถก็ให้กระทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และหากไม่มีความสามารถก็ให้กระทำเดือนละ 1 ครั้ง และหากไม่มีความสามารถก็ให้กระทำปีละ 1 ครั้ง และหากไม่มีความสามารถก็ให้กระทำสัก 1 ครั้งในชีวิต
สายรายงานหะดิษเกี่ยวกับละหมาดตัสบีหฺ ที่รายงานโดยท่านอิบนุอับบาส ซึ่งถือเป็นสายรายงานที่ว่าดีที่สุด
บทหะดีษความว่า:

‏حَدَّثَنَا ‏ ‏عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ بِشْرِ بْنِ الْحَكَمِ النَّيْسَابُورِيُّ ‏ ‏حَدَّثَنَا ‏ ‏مُوسَى بْنُ عَبْدِ الْعَزِيزِ ‏ ‏حَدَّثَنَا ‏ ‏الْحَكَمُ بْنُ أَبَانَ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏عِكْرِمَةَ ‏ ‏عَنْ ‏ ‏ابْنِ عَبَّاس ٍ‏أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏قَالَ ‏ ‏لِلْعَبَّاسِ بْنِ عَبْدِ الْمُطَّلِبِ ‏ ‏يَا ‏ ‏عَبَّاسُ ‏ ‏يَا عَمَّاهُ أَلَا أُعْطِيكَ أَلَا أَمْنَحُكَ أَلَا ‏ ‏أَحْبُوكَ ‏ ‏أَلَا أَفْعَلُ بِكَ عَشْرَ خِصَالٍ إِذَا أَنْتَ فَعَلْتَ ذَلِكَ غَفَرَ اللَّهُ لَكَ ذَنْبَكَ أَوَّلَهُ وَآخِرَهُ قَدِيمَهُ وَحَدِيثَهُ خَطَأَهُ وَعَمْدَهُ صَغِيرَهُ وَكَبِيرَهُ سِرَّهُ وَعَلَانِيَتَهُ عَشْرَ خِصَالٍ أَنْ ‏ ‏تُصَلِّيَ أَرْبَعَ رَكَعَاتٍ تَقْرَأُ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ ‏ ‏فَاتِحَةَ الْكِتَابِ ‏ ‏وَسُورَةً فَإِذَا فَرَغْتَ مِنْ الْقِرَاءَةِ فِي أَوَّلِ رَكْعَةٍ وَأَنْتَ قَائِمٌ قُلْتَ سُبْحَانَ اللَّهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ وَلَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَاللَّهُ أَكْبَرُ خَمْسَ عَشْرَةَ مَرَّةً ثُمَّ تَرْكَعُ فَتَقُولُهَا وَأَنْتَ رَاكِعٌ عَشْرًا ثُمَّ تَرْفَعُ رَأْسَكَ مِنْ الرُّكُوعِ فَتَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ تَهْوِي سَاجِدًا فَتَقُولُهَا وَأَنْتَ سَاجِدٌ عَشْرًا ثُمَّ تَرْفَعُ رَأْسَكَ مِنْ السُّجُودِ فَتَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ تَسْجُدُ فَتَقُولُهَا عَشْرًا ثُمَّ تَرْفَعُ رَأْسَكَ فَتَقُولُهَا عَشْرًا فَذَلِكَ خَمْسٌ وَسَبْعُونَ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ تَفْعَلُ ذَلِكَ فِي أَرْبَعِ رَكَعَاتٍ إِنْ اسْتَطَعْتَ أَنْ تُصَلِّيَهَا فِي كُلِّ يَوْمٍ مَرَّةً فَافْعَلْ فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي كُلِّ جُمُعَةٍ مَرَّةً فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي كُلِّ شَهْرٍ مَرَّةً فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي كُلِّ سَنَةٍ مَرَّةً فَإِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَفِي عُمُرِكَ مَرَّةً
“ได้เล่าให้เราทราบโดยอับดุรเราะห์มาน บิน บิชร์ บิน อัลฮะกัม อันนัยซาบูรีย์ ได้เล่าให้ทราบโดย มูซา บิน อับดุลอะซีซ ได้เล่าให้ทราบโดย อัลฮะกัม บิน อะบาน จาก อิกริมะฮ์ จากท่านอิบนุอับบาส ว่า “แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านอัลอับบาส บิน อับดิลมุฏฏอลิบ ว่า โอ้ ท่านอับบาส โอ้ น้าชายของฉัน ท่านพึงทราบเถิด ฉันจะมอบเป็นกำนัลแก่ท่าน? ท่านพึงทราบเถิด ท่านจะกระทำเพื่อ (เป็นความดีงามแก่) ท่าน? กับ 10 ประการ เมื่อท่านได้กระทำสิ่งดังกล่าว อัลลอฮฺก็จะอภัยโทษแก่ท่านซึ่ง (1)บาปแรกและ (2)บาปสุดท้าย (3)บาปที่ล่วงผ่านมาแล้วและ (4)บาปที่เพิ่งเกิดขึ้น (5)บาปที่ผิดพลาดและ (6)บาปที่เจตนา (7)เป็นบาปเล็กและ (8)บาปใหญ่ (9)เป็นบาปซ่อนเร้นและ (10)บาปที่เปิดเผย คือให้ท่านทำการละหมาดสี่ร็อกอะฮ์ ซึ่งในร็อกอะฮ์แรกให้ท่านอ่านอัลฟาติฮะฮ์และหนึ่งซูเราะฮ์ เมื่อเสร็จจากการอ่านในร็อกอะฮ์แรกในสภาพที่ท่านยืนอยู่นั้น ก็ให้ท่านกล่าว ‘ซุบหานัลลอฮฺ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัร’ จงกล่าวมัน 15 ครั้ง หลังจากนั้นให้ท่านทำการโค้งรุกูอฺแล้วทำการกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านเงยศีรษะจากรุกูอฺ ก็ให้ท่านกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านก้มลงสุญูด ก็ให้ท่านกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านเงยศีรษะจากสุญูด ก็ให้ท่านกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นให้ท่านทำการสุญูดแล้วกล่าวมัน 10 ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อท่านเงยศีรษะจากสุญูด ก็ให้กล่าวมัน 10 ครั้ง ดังกล่าวก็เป็น 75 ครั้งในทุกๆ ร็อกอะฮ์ โดยให้ท่านกระทำสิ่งดังกล่าวใน 4 ร่อกะอัต ดังนั้นหากท่านมีความสามารถที่จะละหมาดมันทุกวัน ก็จงกระทำเถิด และหากท่านไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้ท่านกระทำในทุกๆ วันศุกร์สักหนึ่งครั้ง และหากท่านไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้กระทำทุกๆ หนึ่งเดือนสักหนึ่งครั้ง และหากท่านไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้กระทำทุกๆ หนึ่งปีสักหนึ่งครั้ง และหากท่านไม่มีความสามารถ ก็ให้กระทำสักครั้งหนึ่งในชีวิตของท่าน”


ความขัดแย้งของนักวิชาการในการให้น้ำหนักหะดิษเกี่ยวกับละหมาดตัสบีหฺ

หะดิษเกี่ยวกับละหมาดตัสเบีหฺ บรรดานักวิชาการมีทัศนะว่าด้วยหะดีษที่รายงานเกี่ยวกับการละหมาดตัสบีหฺแตกต่างกัน

ฝ่ายหนึ่ง มีทัศนะว่าหะดีษเกี่ยวกับละหมาดตัสบีหฺอยู่ในขั้นหะดีษหะสัน ซึ่งถือว่านำมาเป็นหลักฐานได้ หนึ่งในทัศนะนั้นคือ เชคนาศิรุดดีน อัลบานีย์

อีกฝ่ายหนึ่ง มีทัศนะว่า ละหมาดตัสบีหฺถือว่าไม่มี เพราะสายงานหะดีษขาดตอน (มุงเกาะฏีอฺ) นั่นเอง หนึ่งในทัศนะนั้นคือ เชคบินบาซ (رحمه الله)

ทัศนะที่ว่าหะดิษที่รายงานว่าละหมาดตัสบีหฺ เป็นหะดิษฎออิฟ ซึ่งเป็นสายรายงานจากท่านอิบนุอับบาส ดังนี้

(1) عبد الله بن عباس
| (2) عكرمة
| | (3) حكم بن أبان
| | | (4) موسى بن عبد العزيز
| | | | (5) عبد الرحمن بن بشر
| | | | | (6) أحمد بن محمد
| | | | | | (7) أحمد بن محمد
| | | | | | | (8) الكتاب: الإرشاد في معرفة علماء الحديث لأبي يعلى الخليلي [الحكم: إسناده حسن رجاله ثقات عدا موسى بن عبد العزيز اليماني وهو صدوق سيء الحفظ]

ผู้รายงานคนหนึ่งในสายรายงาน ชื่อ มูซา บิน อับดุลอะซีซ อัลยะมานีย์ เป็นบุคคลที่มีสัจจะ ความจำไม่ดี

ท่านอิหม่ามมุสลิม ได้กล่าวว่า
لاَ يُرْوَى فِيْ هَذَا الْحَدِيْثِ إِسْنَادٌ أَحْسَنُ مِنْ هَذَا يَعْنِي إِسْنَادَ حَدِيْثِ عِكْرِمَةَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ
“เกี่ยวหะดีษ (ละหมาดอัตตัสบีหฺ) นี้ไม่มีสายรายงานใดที่ดีที่สุดยิ่งไปกว่าสายรายงานของอิกริมะฮ์จากท่านอิบนุอับบาส"

เชคอิบนุอุษัยมีน กล่าวว่า

وأما صلاة التسبيح فالصواب أنها ليست بسنة بل هي بدعة، والحديث الذي ذكرت عنها في سؤالك غير صحيح، قال الإمام أحمد – رحمه الله -‏لا تعجبني صلاة التسبيح، قيل لم‏؟‏ قال‏ ليس فيها شيء يصح، ونفض يده كالمنكر، وقال النووي‏حديثها ضعيف، وفيها تغيير لنظم الصلاة المعروفة، وقال العقيلي‏ ليس فيها حديث يثبت، وقال أبو بكر ابن العربي‏ ليس فيها حديث صحيح ولا حسن

"และสำหรับการละหมาดตัสเบียะนั้น ที่ถูกต้อง มันไม่ใช่สุนนะฮ แต่ทว่า มันเป็นบิดอะฮ และหะดิษที่ท่านได้ระบุในคำถามของท่าน นั้น ไม่เศาะเฮียะ อิหม่ามอะหมัด ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้กล่าวว่า "การละหมาดตัสเบียะ ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าภูมิใจ " มีผู้ถามว่า "ทำไมหรือ? ท่านกล่าวว่า "ในนั้นไม่มีหะดิษเศาะเฮียะเลย และท่านได้สะบัดมือของท่าน เหมือนกับว่า มันเป็นสิ่งต้องห้าม และอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า หะดิษของมัน เฎาะอีฟ และในนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบการละหมาดที่เป็นที่รู้กัน และอัลอุกอยลีย์กล่าวว่า ในมัน(ละหมาดตัสเบียะ) ไม่มีหะดิษที่มั่นคง และอบูบักร อิบนุอะเราบีย์ กล่าวว่า " ในมัน ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะ และไม่มีหะดิษหะซัน"
(ฟะตะวา อิบนุอุษัยมีน เล่ม 14)

ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้กล่าวไว้ในชัรหุลมุหัซซับว่า

وفي هذا الاستحباب نظر ; لأن حديثها ضعيف , وفيها تغيير لنظم الصلاة المعروف , فينبغي ألا يفعل بغير حديث , وليس حديثها بثابت
และในการอ้างว่ามันเป็นสุนัตนี้ในทัศนะของข้าพเจ้า ต้องพิจารณา เพราะว่า หะดิษของมันอ่อน และในนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการละหมาดที่เป็นที่รู้จักกัน ดังนั้นจึงไม่สมควรปฏิบัติ ด้วยอื่นจากหะดิษ และหะดิษของมันนั้น ไม่แน่นอน - (ดู ชัรหุมุหัซซับ เล่ม 3 หน้า 547)

และท่านได้กล่าวไว้อีกว่า
وقد قال العقيلي : ليس في صلاة التسبيح حديث يثبت , وكذا ذكر أبو بكر بن العربي وآخرون , أنه ليس فيه حديث صحيح ولا حسن
และแท้จริง อัลอุกัยลีย์ กล่าวว่า "ในละหมาดตัสเบียะนั้น ไม่มีหะดิษที่แน่นอน และในทำนองเดียวกัน อบูบักร บิน อัลอัรบีย์และบรรดาคนอื่นๆ ระบุว่า ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะและหะดิษหะซันในมัน(ในเรื่องละหมาดตัสเบียะ" - ชัรหุมุหัซซับ เล่ม 3 หน้า 547

ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ ซึ่งเป็นนักวิชาการสายชาฟิอีกล่าวไว้ว่า

يستحب صلاة التسبيح ؛ للحديث الوارد فيها ، وفي هذا الاستحباب نظر ; لأن حديثها ضعيف , وفيها تغيير لنظم الصلاة المعروف , فينبغي ألا يفعل بغير حديث , وليس حديثها بثابت , وهو ما رواه ابن عباس رضي الله عنهما

(เจ้าของหนังสือ อัลมุหัซซับกล่าวว่า) "ชอบให้ละหมาดตัสเบียะ เพราะมีหะดิษราย
ในมัน
ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า " และในกรณีบอกว่าชอบให้ทำ(มุสตะหับบะฮ)นี้ ต้องพิจารณา เพราะแท้จริงมันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ และในมัน(การละหมาดตัสเบียะ) เป็นการเปลียนแปลงรูปแบบการละหมาดที่เป็นที่รู้กัน ดังนั้น จึงควรจะไม่ปฏิบัติ โดยไม่มีหะดิษมาสนับสนุน และหะดิษของมัน(ของการละหมาดตัสเบียะ) ไม่แน่นอน คือ หะดิษที่รายงานโดย อิบนุอับบาส (ร.ฎ) ........จนจบหะดิษ

- ดู อัลมัจญมัวะ ชัรหุลมุหัซซับ เล่ม ๓ หน้า ๕๔๗- ๕ถ๘

ليس في صلاة التسبيح حديث يثبت... والحق أن طرقه كلها ضعيفة، وإن كان حديث ابن عباس يقرب من شرط الحسن
ในการละหมาดตัสเบียะนั้น ไม่มีหะดิษที่มั่นคง และที่ถูกต้องนั้น สายรายงานของมันทั้งหมด เฎาะอีฟ แม้ปรากฏว่า หะดิษอิบนุอับบาส จะใกล้เคียงกับเงื่อนไขของหะดิษหะซัน(หะดิษที่อยู่ในระดับดี)ก็ตาม - ดู ตัลคีศุลหะบีร เล่ม 2 หน้า 482)





والله أعلم بالصواب













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น