อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การห้ามใช้นามสกุลของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พ่อของตน




ในสมัยนบีนั้นลูกๆ ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงต้องอ้างสกุลพ่อของตัวเอง ด้วยการอ้างชื่อพ่อของตนต่อท้ายชื่อ เช่น

ฟาติมะฮฺ บุตรสาวของมุหัมมัด หรือ หะสัน บุตรของอะลีย์ เป็นต้น

ฉะนั้นศาสนาจึงไม่อนุญาตให้บุคคลใดไม่ว่าชายหรือหญิงอ้างผู้อื่นเป็นพ่อด้วยการต่อชื่อบุคคลอื่นแทนพ่อของตนเอง ดังหลักฐานจากหะดีษข้างต้น

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า

« مَنِ ادَّعَى إِلَى غَيْرِ أَبِيهِ وَهُوَ يَعْلَمُ فَالْجَنَّةُ عَلَيْهِ حَرَامٌ »

"บุคคลใดก็ตามที่อ้างบุคคลอื่นจากพ่อของเขา (ว่าเป็นพ่อของตน) ทั้งๆ ที่เขารู้ดีว่า (นั่นไม่ใช่พ่อของตน) เช่นนี้สวนสวรรค์จึงเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา" (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยบุคอรีย์ ลำดับหะดีษที่ 4326)


สำหรับ ในเมืองไทยเราไม่ใช่คำว่า "บุตรของ" เหมือนอาหรับ แต่ใช้นามสกุลของพ่อแทน ดังนั้นหุก่มก็เช่นเดียวกันกับการใช้คำว่า "บุตรของ" เพราะเป็นการอ้างอิงถึงพ่อของตนเอง

ฉะนั้นแล้ว หากมุสลิมะฮฺท่านใดแต่งงานก็ไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลเป็นนามสกุลของสามี (เหมือนคนต่างศาสนิก) เพราะการที่มุสลิมะฮฺท่านนั้นเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามี เท่ากับว่าได้เปลี่ยนสกุลที่อ้างอิงถึงพ่อแท้ๆของนาง ไปสู่การใช้นามสกุลของบิดาของสามี ซึ่งศาสนาถือว่าไม่อนุญาต นางต้องอ้างถึงสกุลพ่อของนางเท่านั้น

ทั้ง กฎหมายไทยปัจจุบันก็มิได้บังคับว่าต้องเปลี่ยนนามสกุลมาเป็นนามสกุลของสามี

والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น