อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ละหมาดตามแบบอย่างนบี

การละหมาดตามซุนนะฮ์


การละหมาดเป็นอิบาดะฮ์ และการอิบาดะฮ์ทุกประเภทต้องเป็นไปตามรูปแบบและลักษณะวิธีเฉพาะที่ศาสนา ได้บัญญัติไว้เท่านั้น ห้ามเพิ่มเติมหรือตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเรื่องการละหมาดโดยเด็ดขาด เพราะถือเป็น การก้าวก่ายและอุตริในศาสนา (บิดอะฮ์) และเป็นการขัดต่อคำสั่งของท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ฉะนั้นผู้ละหมาดต้องรักษารูปแบบที่มีรายงานจากท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไว้เท่านั้น ท่านมาลิกอิบนุลหุวัยริษ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวกำชับถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

وَصَلُّوْا كَمَا رَأَيْتُمُونِيْ أُصَلِّيْ

"และพวก ท่านจงละหมาดตามที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด ”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)

และการละหมาดใดที่ปฏิบัติผิดเพี้ยนแตกต่างหรือไม่ตรงตามรูปแบบและลักษณะวิธีการละหมาดของท่าน รอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วถือว่าใช้ไม่ได้ (ไม่เซาะฮ์) ไม่ได้รับการพิจารณาตอบรับจากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และเป็นความผิดอีกต่างหากด้วย ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานไว้ว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

“ผู้ใดกระทำการใดที่ไม่เป็นไปตามคำสั่งใช้ของเรา( หมายถึง ไม่ตรงตามศาสนาบัญญัติของเรา ) การงาน นั้นย่อมถูกปฏิเสธ”
(บันทึกโดยมุสลิม)

والله أعلم بالصواب
..................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น