อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับศิลอด6วันเดือนเชาวาล


การถือศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล เป็นศิลอดตะเตาวั๊วะอฺ หรือสมัครใจ ที่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ส่งเสริมหรือชอบ(มุสตะหับ) ที่จะให้ถือศิลอด

ประเด็นบางประการที่มุสลิมบางท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่่อนอยู่เกี่ยวกับการถือศิลอด 6 วันเดือนเชาวาล อันได้แก่

1. มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การถือศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล เท่ากับถือศิลอด 1 ปี

ตามหลักฐานหะดิษระบุว่า “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นได้ถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาล เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งถือศีลอดหนึ่งปี"

จากหะดิษ


عَنْ أَبِي أَيُّوبَ الأَنْصَارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّهُ حَدَّثَهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ». (مسلم رقم 1984)

ความว่า จากท่านอบู อัยยูบ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า "ได้ฟังท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นได้ถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาล เขาจะได้รับผลบุญประหนึ่งถือศีลอดหนึ่งปี”  (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดย มุสลิม อบูดาวูด , อัตติรมีซีย์ , อันนาะซะอีย์ และอิบนิมาญะฮฺ)

นักวิชากการได้อธิบายว่า หมายถึง การถือศีลอด 1 วันเท่ากับถือศีลอด 10 วัน หากการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนมี 30 วันก็เท่ากับว่า เขาถือศีลอด 300 วัน (หรือประมาณ 10 เดือน) จากนั้นเขาถือศีลอดติดต่ออีก 6 วันในเดือนเชาวาล ก็เท่ากับว่าเขาถือศีลอด 60 วัน (หรือประมาณ 2 เดือน) ผลสรุปเท่ากับ 1 ปีพอดี (กล่าวคือ 300+60= 360 วัน = 1 ปี)

ไม่ใช่ ถือศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล เท่ากับ 1 ปี โดยไม่ได้รวมกับศิลอด 1 เดือน รอมาฎอน แต่อย่างใด


ซึ่งการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและตามด้วยการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาล อัลลอฮฺจะทรงให้ผลบุญเสมือนถือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี

ทั้งยังมีหลักฐานหะดิษ ได้ขยายความ ของผลบุญ ของศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล ไว้ดังนี้

รายงานจากท่านเซาบาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ซึ่งเป็นคนรับใช้ของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม
เล่าว่า
"ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  กล่าวว่า "ผู้ใดถือศิลอด 6 วันหลังจากอีดิลฟิฏริ ก็เท่ากับเขาถือศิลอดตลอดทั้งปี ผู้ใดที่กระทำความดีหนึ่ง เขาจะได้รับภาคผลเป็น 10 เท่าทวีคูณ" (บันทึกหะดิษโดย อิบนิมาญะฮฺ)

รายงานจากท่านเซาบาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ
เล่าว่า
"ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "อัลลอฮฺ ทรงทำให้ภาคผลของการทำความดีหนึ่ง เพิ่มเป็นสิบเท่าทวีคูณ ดังนั้น(การถือศิลอด) เดือนรอมาฎอน ก็ประหนึ่ง (การถือสิลอด) สิบเดือน และการถือสิอด 6 วัน หลังจากอีดิลฟฏริ ก็ประหนึ่ง  (การถือศิลอด)ครบตลอดทั้งปี" (บันทึกหะดิษโดย อันนาซาอี และจากเศาะเฮียะฮฺของอิบนิ คุซัยมะฮฺ และเศาะเฮียะฮฺของอัล-บานีย์)
เหล่าอุละมาอ์ได้ให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการทำความดีจะถูกคูณด้วยสิบ การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนหนึ่งเดือนจะเท่ากับสิบเดือน การถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาลจะเท่ากับหกสิบวันหรือสองเดือนที่เหลือ ดังนั้นก็จะเป็นการถือศีลอดครบหนึ่งปีอย่างสมบูรณ์ (ดู บทอธิบายของอิมาม อัน-นะวะวีย์ ต่อเศาะฮีหฺมุสลิม 8:56)

2. มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การถือศิลอด 6 วัน เดือนเชาวาล ต้องศิลอดวันแรกถัดจากวันอีดิลฟิตรี หากไม่ศิลอดอดในวันแรกนั้น การถือศิลอดนั้นก็ใช้ไม่ได้ และการถือศิลอดต้องต่อเนื่องจนครบ 6 วัน 

ความจริงแล้ว ศาสนาไม่ได้ระบุไว้ว่า ต้องถือศิลอด 6 วันแรกเดือนเชาวาลถัดจากวันอีดิลฟิตรี และต้องต่อเนื่องแต่อย่างใด ศาสนาระบุเพียงว่า ให้ถือศลอด 6 วันเดือนเชาวาล เท่านั้น นั้นคือ ให้ถือศิลอดวันไหนก็ได้ ยกเว้นวันอีด ที่อยู่ในเดือนเชาวาล

ส่วนการถือศิลอด ติดต่อกัน หรือไม่ติดต่อกันนั้น นักวิชากการได้มีความเห็นต่างกันดังนี้

อิมามอะหฺมัด มีความเห็นว่า การถือศิลอด เดือนเชาวาลนั้น จะถือติดต่อกันทั้ง 6 วันเลย หรือไม่ติดต่อกันก็ได้ วิธีหนึ่งนั้นไม่ได้ดีไปกว่าอีกวิธีหนึ่ง

สำหรับมัซฮับานะฟียะฮฺ และชาฟีอี นั้น ที่ดีแล้วควรถือติดต่อกันเลยทั้ง 6 วัน หลังจากวันอีดไปเลย

ในทัศนะของนักวิชาการอีหม่ามมาลิกี เห็นว่าการถือศีลอดหลังจากวันอีดเลยหรือว่าสิบวันหลังจากวันอีดนั้นเป็นมักโระฮฺ เนืองจากท่านนบีไม่ได้กำหนดวันใดวันหนึ่งในการถือศีลอดของเดือนเชาวาล จึงไม่จำเป็นต้องถือให้ติดต่อกัน พวกเขาจึงส่งเสริมให้ถือหลังจากนั้น

นอกจากนี้ยังมีทัศนะของนักวิชาการ ว่าถือศีลอดหกวันติดต่อกัน แต่ไม่ถือศีลอดทันทีหลังวันอีด

ท่านอิมาม  อัน-นะวะวีย์ได้กล่าวว่า “เหล่าสหายของเราเห็นว่า ทางที่ดีที่สุดคือให้ถือศีลอดติดต่อกันหกวันโดยเริ่มทันทีหลังวันอีด แต่หากแยกวันหรือไม่ถือศีลอดทันทีในช่วงต้นเดือนก็ยังได้ผลบุญเช่นเดียวกัน เพราะได้บรรลุตามความหมายในหะดีษที่ว่าให้ถือศีลอลหกวันในเดือนเชาวาล(หลังจากเราะมะฎอน)” (อ้างแล้ว)

ดังนั้น การถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลสามารถปฏิบัติได้อย่างเปิดกว้าง สำหรับทัศนะของอิมามชาฟีอี ที่ดีควรถือติดต่อกันทันที่หลังวันอีด ไม่ได้ระบุว่าต้องติดต่อกันหลังวันอีดแต่อย่างใด

 3. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเมื่อศิลอด 6 วันเดือนเชาวาลแล้วต้องจัดฉลองวันรายอหกอีก

ด้วยเหตุนี้กระมัง ที่มีการกำหนดให้ถือศิลอดหลังจากวันอีดทันทีและติดต่อกัน ก็เพื่อให้มีการออกรายอแนพร้อมๆกัน

อันแท้จริง วันอีดในอิสลามนั้น มีเพียง 2 วัน เท่านั้น คืออีดิลฟิตรี และอีดิลอัฎฮา


عَنْ أَنَسِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَدِمَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ فِيهِمَا، فَقَالَ : «مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ؟» قَالُوا :كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِنَّ اللهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا : يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ». (أبو داود رقم 959، صحيح سنن أبي داود رقم1004: صحيح)

ความว่า จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า
 "ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เดินทางมาสู่มะดีนะฮฺ ชาวมะดีนะฮฺสมัยนั้นมีสองวันที่พวกเขาละเล่นรื่นเริงกัน ท่านจึงได้ถามว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไร?” พวกเขาตอบว่า “พวกเราเคยรื่นเริงกันมาในสองวันนี้ตั้งแต่สมัยเก่าก่อน” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่าทั้ง 2 วันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา”  (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

วันรายอแน (หก) จึงไม่มีในอิสลาม การจัดวันรายอแน จึงเป็นการประดิษฐ์งานในศาสนาขึ้นมาใหม่

รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิญัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
 "บุคคลใดปฏิบัติ(อะมัล ไม่รวมถึงเรื่องดุนยา) ในสิ่งที่เราไม่ได้ปฏิบัติ การปฏิบัตินั้นดังกล่าวถูกปฏิเสธสิ้น"(บันทึกหะดิษโดยมุสลิม เศาะเฮียะฮ์มุสลิม หะดิษเลขที่ 1701)

 والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น