อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จงอย่าตายเว้นแต่ในสภาพที่อิหม่าน



قال الله تعالى:

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلا تَمُوتُنَّ
إِلَّا وَأَنْتُمْ مُسْلِمُونَ

سورة آل عمران آية:102

ความว่า : โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงตักวายำเกรงอัลลอฮอย่างแท้จริงเถิด และจงอย่าได้ตายเป็นอันขาด
เว้นเสียจากในสภาพที่นอบน้อมเท่านั้น

เมื่อมุสลิมได้ยินโองการที่บอกว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا โอ้บรรดาผู้มีอิหม่านทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น เมื่อโองการของอัลลอฮได้ถูกอ่าน ผู้มีอิหม่านทั้งหลายจงสดับรับฟัง อัลลอฮทรงบอกว่า พวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลลอฮอย่างจริงจังเถิด และอัลลอฮบอกต่อว่า เจ้าอย่าได้ตายจนกว่าเจ้าเป็นมุสลิม นอบน้อมอย่างแท้จริง

ความตายนั้นอัลลอฮกำหนดไว้แล้ว แต่ในอายะฮฺนี้หมายถึงว่า ถ้าจะตาย ขอให้ตายในสภาพที่มีอิหม่าน เพราะเราไม่รู้เลยว่าจะตายเมื่อใด ตายอย่างไร ตายที่ไหน

ท่านนบีซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเคยสั่งเสียแก่ท่านมุอ๊าซ
รอฏิยัลลอฮุอันฮุว่า
اتق الله حيثما كنت، وأتبع السيئة الحسنة تمحها ، وخالق الناس بخلق حسن ) رواه الترمذي وقال: حديث حسن .
เจ้าพึงยำเกรงต่ออัลลอฮเถิด ไม่ว่าท่านอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม
และจงคบค้าสมาคมกับเพื่อนมนุษย์ด้วยจรรยามารยาทอันดีงาม

และท่านยังได้สั่งเสียแก่อบีซะอี๊ดอัลคุฏรีย์ รอฏิยัลลอฮุอันฮุว่า
أوصيك بتقوى الله
ฉันขอสั่งเสียแก่ท่านให้มีความยำเกรงต่ออัลลอฮเถิด

ประเด็นสำคัญ คือว่า
เราจะเข้าถึงการตักวา อย่างแท้จริงได้อย่างไหร่???

ท่านอาลี บินอาบีย์ตอลิบ ได้กล่าว หากผู้ใดมี สี่คุณลักษณะดั่ง
ต่อไปนี้ นั้นคือ สัญลักษณ์ของผู้ที่มีความยำเกรงอย่างแท้จริง

ประการแรก คือ
الخــــــــوف من الجليـــــــل
มีความเกรงกลัวต่อผู้ทรงสูงส่ง มีความหวั่นในการที่จะถูกลงโทษหากฝ่าฝืน มีการหวังในการตอบแทนรางวัลของพระองค์

ประการที่สอง
العـــــــــمــل بالتـــنــزيــــــــل
ปฏิบัติตามต่อทุกสิ่งที่ถูกประทานลงมา จากอัลลอฮ นั่นคือ
อัลกุรอาน และ อัลฮะดิษ

ประการที่สาม
القــــنـــــاعة بالقــــليــــــــــل
ความพึงพอเพียงในสิ่งที่ให้มาถึงแม้ว่าจะน้อยนิดก็ตาม

ความมากน้อยของสิ่งที่เรียกว่าริซกี หรือว่าปัจจัยต่างๆนั้น อัลลอฮทรงกำหนดมาหมดแล้ว ตั้งแต่เรายังอยู่ในครรภ์มารดาของเรา แต่ละคนจะได้ไม่เท่ากัน แล้วแต่ความประสงค์ของผู้ทรงสร้าง และเราอย่าได้น้อยเนื้อต่ำใจไปเลย
เพราะสิ่งเหล่านั้นคือบทสอบของพระองค์ทั้งสิ้น จะมากจะน้อย ขอให้เรา ไม่หลงไปกับสิ่งเหล่านั้น

ประการที่สี่
الإســـــــــتعداد ليوم الرحيـــــــل
การเตรียมตัวที่กลับไปหาอัลลอฮ

จาก สี่ประการที่ท่านอาลีย์ได้ให้แนวทางสู่การตักวาที่แท้จริงนั้น
เรามีแล้วหรือยัง? และที่สำคัญที่สุดคือ การเตรียมตัวที่จะกลับไปหาอัลลอฮ เราได้เตรียมอะไรไว้บ้างแล้ว การเดินทางที่ยาวไกลและอีกแสนไกล ไปสู่สถานที่ ที่เราจะอยู่อย่างถาวร และแน่นอนที่สุด เสบียงที่ดีที่สุดของการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่นี้ คือ การตักวาต่ออัลลอฮดั่งที่อัลลอฮบอกไว้ว่า
وتزوّدوا فإنّ خيرالزاد التقوى
เจ้าจงเตรียมเสบียงเถิด แท้จริง เสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือการยำเกรงต่ออัลลอฮ


والله أعلم بالصواب

..............................

Roihan Nur SyahadahWe Love Al-Quran

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น