ความพยายามในการอิศลาหฺหรือการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมัซฮับ
การยึดติดอยู่กับมัซฮับใดมัซฮับหนึ่งนั้น ไม่ใช่การกระทำที่มาจาคคำสอนของอิสลาม
ดังนั้น บรรดาอุละมาอ์จำนวนหนึ่งจึงได้พยายามที่จะให้มีการแก้ไขปัญหานี้ขึ้น
เช่น อิมามอัน-นะวะวีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) มีชีวิตช่วง ฮ.ศ. 631-676)
ชัยคุล อิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) มีชีวิตช่วง ฮ.ศ. 661-728)
อิมามอิบนุล ก็อยยิม (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) มีชีวิตช่วง ฮ.ศ. 691-751)
อัล-หาฟิซ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) มีชีวิตช่วง ฮ.ศ. 773-852)
ชัยคฺ มุหมัดมัด บิน อับดุลวะฮฺฮาบ (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) มีชีวิตช่วง ฮ.ศ. 1115-1206)
อิมามอัช-เชากานีย์(ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) มีชีวิตช่วง ฮ.ศ. 1173-1250)
บรรดาอุละมาอ์เหล่านี้ได้เรียกร้องอุมมะฮฺอิสลามให้กลับไปสู่แหล่งที่มาของคำสอนศาสนา นั้นคือ อัลกุรอาน และอัหะดิษ มิใช่เพียงแค่สิ่งที่ถูกนำ เสนอในมัสฮับขอกพวกเขาเท่านั้น
อิมามอัน-นะวะวีย์ (ร่อหิมะอุลลอฮฺ) กล่าวว่า
"หลักฐานทีมีอยู่บ่งชี้ว่า คนๆหนึ่งไม่จำเป็นต้องยึดถือมัซฮับใดมัซอับหนึ่ง แต่เขาสามารถที่จะขอคำฟัตวาจาก(อุละมาอ์) คนใดก็ได้ที่เขาต้องการ บนเงื่อนไขของการไม่แสวงหาความสะดวกสบาย" (อัล-มัดค็อล อิลา ดิรอสะติล มะซาฮิบ วัล-มะดาริสิล ฟิกฮิยยะฮฺ, ดร.อุมัร สุลัยมาน อัลอัชก็อร หน้า 217)
ท่านอิบนุล ก้อยยิม (ร่อหิมะฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
"นี้คือบิดอะฮฺที่เลวร้ายที่เกิดกับอุมมะฮฺ บรรดาอิมามไม่เคยกล่างถึงสิ่งนี้ ทั้งๆที่พวกเขามีสถานะที่สูงส่ง และรู้ดียิ่งถึงคำสอนของอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ หากจะบังคับให้มนุษย์เพื่อสิ่งนั้น (ตักลีด และ(เป็น)ความผิดพลาดอันมหันต์(สำหรับ)ผู้ที่กล่าวว่า "จำเป็น(วาญิบ) ต้องยึดถือมัซอับใดมัซอับหนึ่งของอุละมาอ์ และที่ผิดพลาดยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ คนที่กล่าวว่า : จำเป็นต้องยึดถือมัซฮับใดมัซฮับหนึ่งจากมัซอับทั้งสี่" (อิอฺลามุล มุวักกิอีน ส่วนที่ 4 หน้าที่ 333)
แม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาจะยึดถือตามัซฮับ เช่นอิมามอัน-นะวะวีย์ และอัล--หาฟิซ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ที่ยึดถือในมัซฮับชาฟิอียื แต่พวกเขาก็ยังคงอยู่ร่วมกับหลักฐานต่างๆ ที่มาจากแหล่งอ้างอิงสำคัญของศาสนา คืออัลกุรอาน และอัลหะดิษ ในการเสนอทัศนะเสมอ และบ่อยครั้งที่ทัศนะของพวกเขานั้นมีความแตกต่างไปจากทัศนะของอิมามเจ้าของมัซฮับเอง
เช่น ละหมาดเดินทาง สำหรับอิมามชาฟิอีย์ มีความเห็นว่าการละหมาดย่อเป็นสิ่งที่ดีกว่า แต่ส่วนมากของมัซฮับชาฟิอีย์ การอิตมาม คือการละหมาดตามจำนวนร็อกเดิมโดยไม่ย่อละหมาดเป็นสิ่งดีกว่า
การแตะเนื้อต้องตัวมะหฺรอม สำหรับอิมามชาฟิอีย์ การแตะเนื้อต้องตัวมะหฺรอมไม่ทำให้เสียน้ำละหมาดแต่อย่างใด แต่อุลามาชาฟิอียะฮฺบางคน ถือว่าเสียน้ำละหมาด
จำนวนผู้ร่วมละหมาดวันศุกร์ สำหรับอิมามชาฟิอีย์แล้ว จะละหมาดวันศุกร์ได้ต้องมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 40 คน แตตามทัศนะของออิมามอัลมุซะนีย์เป็นอุละมาอ์ในมัซฮับชาฟิอีย์ นั้น เพียง 4 คน ก็ทำละหมาดได้
การค้างแรมที่มุซดะลิฟะฮฺ สำหรับอิมามชาฟิอีย์ ถือเป็นวาญิบของการทำฮัจญ์ แต่สำหรับอบูอับดิรเราะหฺมาน อัชชาฟิอีย์ ถือเป็นรุก่นของการทำฮัจญ์(หนังสืออัล-หาวีย์ อัล-กะบีร ของอิมามอัล-มาวัรดีย์)
พวกเขาเป็นผู้ฟื้นฟู ที่มีเป้าหมายเพื่อการนำประชาชาติอิสลามกลับไปสู่ความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้อง สอดคล้องกับคำสอนของอัลลอฮฺ และรสูลของพระองค์
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า
"แท้จริง อัลลอฮฺจะทรงบังเกิดขึ้นมาในทุกๆหนึ่งร้อยปีบุคคลที่จะมาฟื้นฟูศาสนา" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น