อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผู้ที่ได้ถูกกินความหนุ่มของเขา



รายงานท่านอบู ญุซุฟ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัลเคาะรอจฺญ์ของท่าน ว่า
: ครั้งหนึ่ง ท่านอุมัร อิบนุ อัลคอฏฏ็อบ ร่อฎยัลลอฮุอันฮุมา ได้ผ่านไปยังประตูบ้านของชนกลุ่มหนึ่ง

ณ ที่ประตูบ้านนั้นมีชายขอทานคนหนึ่งกำลังขอทานอยู่

ปรากฏว่าเขาเป็นชายชราและตาบอด

ท่านอุมัรฺ จึงได้ตีไปยังท่อนแขนของชายผู้นั้นจากเบื้องหลัง และพลางกล่าวว่า

 ; ท่านมาจากชาวคัมภีร์กลุ่มใด?

ชาววณิพกผู้นั้นตอบว่า : ยะฮูดีย์ (เป็นชาวยิว)

ท่านอุมัรฺ ถามต่อว่า : อะไรที่ทำให้ท่านต้องหันมามีสภาพเช่นสิ่งที่ฉันเห็นอยู่นี้ ? (คือเป็นเหตุที่ทำให้เขาต้องอดทนกับความลำบาก และจำต้องขอทาน)

ชายชราตอบว่า : ฉันกำลังขอเงินค่าส่วย(ญิซยะห์) ปัยจัยยังชีพที่จำเป็นและอายุขัย

เมื่อได้รับคำตอบเช่นนั้น ท่านอุมัร จึงได้นำชายชราผู้นั้นไปยังบ้านของท่าน

 และมอบสิ่งของภายในบ้านของท่านให้แก่ชายผู้นั้นจำนวนหนึ่ง

ต่อมาท่านได้ส่งคนไปแจ้งเจ้าหน้าที่การคลัง (บัยตุ้ลม้าล) ว่า

; ท่านจงดูแลบุคคลผู้นี้ และกลุ่มคนที่เหมือนกับเขา ขอสาบานต่อพระองค์อัลลอฮฺ

เราย่อมไม่ให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลเช่นนี้

หากว่าได้กินความหนุ่มของเขา (เก็บส่วยหรือภาษีในช่วงที่เขายังเป็นหนุ่มฉกรรจ์)

แล้วต่อมาเราได้ทำให้เขาอดสูเมื่อยามชราภาพ

อันที่จริงทรัพย์บริจาคนั้นเป็นสิทธิของผู้ขัดสนและคนยากจน
 และชายผู้นี้เป็นผู้ขัดสนจากชาวคัมภีร์” (จาก “ตัรฺบิยะตุ้ลเอาลาด 1/142)

..........................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น