อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัลกุรอ่าน




อัลกุรอ่าน เป็นนามคัมภีร์สูงสุดของศาสนาอิสลามที่ได้ประทานแก่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซอลลัลลอฮุอาลัย
ฮิวะซัลลัม) เป็นช่วงเป็นตอนตามสถานการณ์ จนครบถ้วนอย่างในปัจจุบัน เป็นเวลาทั้งสิ้น 22 ปี แบ่งออกเป็น 30 ส่วน (ญุจอฺ) 114 บท (ซูเราะฮ์) มีโองการ (อายะฮฺ) ทั้งสิ้น 6,000 กว่าโองการ

อัลกุรอ่านมีสำนวนภาษาที่สูงส่ง เป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์ ซึ่งกวีชั้นสูงไม่อาจประพันธ์เทียบเคียงได้ แม้แต่ท่านนบีเองก็ไม่ได้เขียนขึ้นเอง เพราะท่านนบีมีลักษณะเฉพาะที่เขียนไม่เป็นและอ่านไม่ได้ตามที่
อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์ เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่าอัลกุรอ่านเป็นคำดำรัสของอัลเลาะฮ์จริง


ชื่อของอัลกุรอ่านมีนามเรียกกันอีกมากมาย เช่น กะลามุลลอฮฺ อัลบุชรอ อัลฟุรกอน อัลมะญีด และอัลวะหฺยุน เป็นต้น

การประทานอัลกุรอ่านเริ่มขึ้นในเดือนรอมฎอน ตามที่อัลกุรอ่านระบุไว้ว่า
شَهْرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِىٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلْقُرْءَانُ
ความว่า “เดือนรอมฎอน เป็นเดือนแห่งการประทานอัลกุรอ่าน” และยังมีระบุกำหนดชัดอีกว่า “เป็นคืนอัลกอดรฺ” (2 : 185)


إِنَّآ أَنزَلْنَٰهُ فِى لَيْلَةِ ٱلْقَدْرِ

ความว่า “แท้จริงเรา (อัลเลาะฮ์) ได้ประทานอัลกุรอ่านในคืนอัลกอดรฺ” (97 : 1)



วิธีประทานอัลกุรอ่าน มี 2 แนวทาง คือ

การดลใจ เรียกในภาษาอาหรับว่า “วะฮฺยุน เคาะฟีย์” หมายถึง การที่อัลเลาะฮ์ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดเข้าไปในจิตใจของผู้รับ

การส่งผู้นำสารจากอัลเลาะฮ์ คือ มลาอิกะฮ์ชื่อว่าญิบรีล มายังท่านนบี เพื่อบอกโองการจาก อัลเลาะฮ์ เรียกว่า “วะฮฺยุน มัตลู” ดังเช่นที่ท่านนบีได้รับโองการครั้งแรกที่ถ้ำฮิรออฺ ที่ภูเขานูร ณ เมืองมักกะฮ์


ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ เช่น กรณีในคืนอัลเมียะราจ ในเรื่องบัญญัติละหมาด ซึ่งเป็นการรับวะฮฺยู
จากอัลเลาะฮ์โดยตรง



การบันทึกอัลกุรอ่าน แบ่งได้เป็น 3 ยุค ดังนี้

การบันทึกสมัยท่านรอซูล ซึ่งท่านรอซูลเป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น ว่าจะให้ใครบันทึกและจะใช้วิธีอย่างไร เช่น ท่านรอซูลสั่งให้ อบูบะกัรฺ, อุษมาน, อะลี, มุอาวิยะฮฺ, อับบาส, คอลิด, อุบัยดฺ และซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต เป็นต้น โดยบันทึกที่กิ่งอินทผาลัมบ้าง หนังสัตว์บ้าง แผ่นหินบ้าง หรือแม้แต่กระทั่งกระดูกสัตว์ ดังนั้น แผ่นต่าง ๆ จึงมิได้เป็นหมวดหมู่ แล้วแต่ใครจะเก็บรักษาไว้ ไม่ได้รวบรวมเป็นเล่ม

การบันทึกสมัยอบูบะกัรฺ ซึ่งเป็นคอลีฟะฮ์ท่านแรก ในยุคของท่านจำเป็นต้องปราบเสี้ยนหนามของอิสลามมากต่อมากครั้ง การทำศึกสงครามย่อมทำความเสียหายมากมาย ทั้งทรัพย์สิน ผู้คน ที่สำคัญก็คือ ผู้ที่ท่องจำอัลกุรอ่านก็ได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ท่านอุมัรฺเองได้ปรึกษากับท่านอบูบะกัรฺว่า ควรจะได้รีบบันทึกอัลกุรอ่านไว้เป็นเล่ม ๆ ในช่วงแรกอบูบะกัรฺไม่เห็นด้วย แต่ในที่สุดก็ยอมจำนนด้วยเหตุผลของท่านอุมัรฺว่า สักวันหนึ่งจะไม่มีผู้จำอัลกุรอ่านเหลืออยู่ อัลกุรอ่านก็จะไม่คงอยู่ในสภาพเดิม ท่าน
อบูบะกัรฺจึงสิ่งให้ ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต เป็นผู้นำในการรวบรวม โดยรวบรวมจากบันทึกต่าง ๆ ที่ท่านรอซูลเคยสั่งให้ทำไว้ อัลกุรอ่านฉบับนี้เมื่อรวบรวมเสร็จได้เก็บไว้ที่ท่านอบูบะกัรฺ ต่อมาก็เก็บไว้ที่ท่านอุมัรฺ และที่สุดอยู่กับท่านหญิง ฮัฟเซาะฮฺ ต่อมาในยุคของอุษมาน ท่านได้เรียกมาแล้วคัดลอกใหม่

การบันทึกสมัยอุษมาน ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 25 การผันผวนในสำนวนการอ่านทำให้ผิดแผกกันไปมาก ฮุซัยฟะฮ์รู้สึกตกใจว่า ต่อไปจะมีปัญหาจึงได้เรียนเรื่องนี้กับท่านอุษมานเพื่อให้รีบดำเนินการแก้ไข ท่านได้ส่งตัวแทนไปพบกับท่านหญิงฮัฟเซาะฮฺ เพื่อขอมาคัดลอกใหม่ ปรับให้เป็นการอ่านเหมือนกันหมด โดยอุษมานจัดตั้งคณะทำงานขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ซัยดฺ อิบนุ ษาเบ็ต ซึ่งเป็นชาวอันศอรฺ, อับดุลเลาะฮ์ อิบนุ ซูบัยรฺ, สะอีด อิบนุ อัลอาศ และอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ อัลฮาริษ ซึ่งที่สุดก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี กุรอ่านเป็นสำนวนภาษาที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์อ่าน รวมทั้งเรียงบท วรรค ตอน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน



........................
Ref : skthai.org


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น