ปัญหาท้องก่อนแต่งในสังคมมุสลิมนับวันจะมีจำนวนมากขึ้น เมื่อท้องขึ้นมาแล้วก็แก้ไขด้วยการไปหาอิหม่ามให้รีบจัดการทำพิธีนิกะห์เพื่อให้สังคมได้รับรู้ จะได้ให้ลูกในท้องมีพ่อตามหลักศาสนาตามความเข้าใจของตน พวกเขาอาจจะสามารถปิดบังความชั่วกับสังคมได้แต่พวกเขาไม่สามารถปิดบังความชั่วของเขาทั้งสองจากอัลลอฮ์ ได้
พระองค์อัลลอฮ์ ตรัสว่า
وَاللّهُ يَعْلَمُ مَا تُسِرُّونَ وَمَا تُعْلِنُونَ [16.19]
"และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเจ้าปิดบังและสิ่งที่พวกเจ้าเปิดเผย"(อัลกุรอาน สูเราะฮอัน-นะห์ลฺ 16:19)
ส่วนอิหม่ามก็สงสาร กลัวว่าคนทั้งสองจะอับอาย หรือเกรงใจผู้ปกครองทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จึงจัดพิธีนิกะห์ให้ ทั้งๆที่ อัลลอฮ์ทรงสั่งห้ามไม่ให้สงสารคนที่ประพฤติผิดทางเพศ หรือ ซีนา ดังที่ตรัสไว้เกี่ยวกับการลงโทษชายหญิงที่ผิดประเวณี(ซินา)ว่า
الزَّانِيَةُ وَالزَّانِي فَاجْلِدُوا كُلَّ وَاحِدٍ مِّنْهُمَا مِئَةَ جَلْدَةٍ وَلَا تَأْخُذْكُم بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَلْيَشْهَدْ عَذَابَهُمَا طَائِفَةٌ مِّنَ الْمُؤْمِنِينَ [24.2]
"หญิงมีชู้และชายมีชู้ พวกเจ้าจงโบยแต่ละคนในสองคนนั้นคนละหนึ่งร้อยที่
และอย่าให้ความสงสารยับยั้งการกระทำของพวกเจ้าต่อคนทั้งสองในบัญญัติของอัลลอฮ์เป็นอันขาด หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก
และจงให้กลุ่มหนึ่งของบรรดาผู้ศรัทธาเป็นพยานในการลงโทษเขาทั้งสอง" (อัลกุรอาน สุเราะฮฺอัน-นูรฺ 24:2)
ลูกที่เกิดจากชายหญิงที่เสียกันโดยยังไม่ทำการนิกะหฺ
กรณีชายหญิงที่ได้เสียกันโดยยังมิได้นิกาหฺ (แต่งงาน) กัน จนกระทั่งผู้หญิงตั้งครรภ์ เช่นนี้ลูกที่เกิดมาถือว่าเป็นลูกซินา ไม่ว่าเด็กในครรภ์จะอายุเท่าไหร่ก็ตามไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นอยู่ที่สตรีท่านนั้นตั้งครรภ์ก่อนการนิกาห์ เด็กคนนั้นทางหุก่มศาสนาเรียกว่า "ลูกซินา" ถึงแม้ว่าสามีของนางจะเป็นพ่อของเด็กคนนั้นก็ตาม
หุก่มของหญิงตั้งครรภ์อันเนื่องจากการทำซินา
อิสลามจะไม่ลงโทษผู้กระทำผิดว่าด้วยเรื่องซินาในขณะที่นางตั้งครรภ์ โดยให้นางคลอดบุครเสียก่อน จากนั้นค่อยลงโทษนางตามบทบัญญัติของศาสนา นั้นหมายถึงหญิงทำซินาแล้วเกิดตั้งครรภ์ได้รับการยกเว้นไม่ถูกลงโทษทันที่ เหมือนชายที่ทำซินาหรือหญิงที่ทำซินาแต่ไม่มีการตั้งครรภ์ ดังรายงานหะดิษ ดังนี้
ท่านอิมรอน บุตรของหุศัยน์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"แท้จริงสตรีท่านหนึ่งจาก(เผ่า)ญุฮัยนะฮฺ มาหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งอยู่ในสภาพตั้งครรภ์อันเนื่องจาการทำซินา โดยนางกล่าวว่า : โอ้...นบีของอัลลอฮฺ ฉันทำผิดหุก่มของศาสนา ฉะนั้นท่านจงลงโทษฉัน (ตามบทบัญญัติสาสนา)เถิด ท่านนบีจึงได้เรียกวะลีย์(ผู้ปกครองของนาง) มา แล้วกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงดูแลนางให้ดี เมื่อนางคลอดบุตร ท่านจงนำนางมาหาฉัน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 4529 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)
อิดดะฮฺของหญิงตั้งครรภ์
อิดดะฮฺ หรือช่วงระยะเวลาที่หญิงต้องรอคอยจนกว่าจะครบกำหนดตามที่บทบัญญัติศาสนา จากนั้นนั้นจึงอนุญาตให้นางแต่งงานใหม่ได้ ซึ่งอิดดะฮฺของสามีภรรยามีหย่าภรรยาในขณะที่นางตั้งครรภ์ อิดดะฮฺของนางคือ นางจะต้องคลอดบุตรของนางเสียก่อน
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
وَأُولَاتُ الْأَحْمَالِ أَجَلُهُنَّ أَن يَضَعْنَ حَمْلَهُنَّ ( 4 ) อัฏ-เฏาะลาก - Ayaa 4
"และบรรดาสตรีที่ตั้งครรภ์ กำหนดอิดดะฮฺของพวกนางคือพวกนางคลอดบุตรที่อยู่ในครรภ์ของพวกนาง(เสียก่อน)" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัฏเกาะลากฺ 65 :4)
จากอัลกุรอาน อิดดะฮฺของสตรีตั้งครรภ์นั้น ภายหลังที่นางคลอดบุตรจึงถือว่าหมดอิดดะฮฺ จากนั้นนางจึงสามรถที่จะแต่งงานกับชายใดก็ได้ อิดดะฮฺของหญิงตั้งครรภ์นานกว่าอิดดะฮฺในประเภทอื่น การที่ให้หญิงนั้นคลอดบุตรก่อน เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นว่าทารกผู้นั้นเป็นลูกของสามีเดิม และหญิงตั้งครรภ์นั้นไม่มีหุก่มสำหรับนางในเรื่องการถุกหย่า จนกว่านางจะคลอดเสียก่อน เสมือนกับหุก่มหญิงที่ตั้งครรภ์อันเนื่องจากทำซินา นางจะไม่ถุกลงโทษตามบทบัญญัติสาสนาจนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน
ทารกรับมรดกได้เมื่อคลอดออกมา
ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"เมื่อทารกตกฟาก(ถูกคลอด) ออกมา ทารกผู้นั้นถูกได้รับมรดก" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2922 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)จากหะดิษ ทารกที่อยู่ในครรภ์ เขาจะยังไม่ได้รับมรดกจนกว่าทารกนั้นคลอดออกมาเสียก่อน จะได้รู้ว่าทารกผู้นั้นเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง เพื่อจะได้ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัยพิสูจน์ถึงเพศทารกในครรภ์ก็ตาม ก็นำมาใช้ไม่ได้
หญิงตั้งครรภ์จะนิกะหฺขณะตั้งครรภ์อยู่ได้หรือไม่
เมื่อผู้หญิงที่ทำซินาแล้วเกิดตั้งครรภ์ หรือท้องก่อนแต่งนั้น ชายกับหญิงที่ทำซินากันนั้น บุคคลทั้งสองจะแต่งงานกันได้หรือไม่? กล่าวคือ กรณีที่ผู้ชายที่ทำซินากับผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วผู้หญิงคนนั้นก็ตั้งครรภ์ เช่นนี้นางต้องการแต่งงานกับเขาซึ่งเป็นคนทำซินากับนาง
นักวิชาการให้ทัศนะเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวดังนี้
ทัศนะที่ 1 อนุญาตให้แต่งงานใช้กันได้ เป็นทัศนะของอิมามหะนะฟียะฮฺ และอิมามชาฟิอีย์ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ
แต่อิมามทั้งสอง มีความเห็นต่างกัน คือ อิมามอบูหะนีฟะฮฺห้ามร่วมหลับนอน จนกว่าจะพ้นสภาพอิดดะฮฺ นั้นคือต้องคลอดทารกของนางเสียก่อน
ส่วนอิมามชาฟิอีย์ มีความเห็นว่าถือเป็นที่น่ารังเกียจ (มักรูหฺ) และบรรดาสานุศิษย์ของอิมามชาฟิอีย์ กล่าวว่า ไม่เป็นที่ต้องห้าม
เหตุผลเพราะการตั้งครรภ์ของสตรีไม่ใช่เงื่อนไขการแต่งงาน ฉะนั้นหากสตรีตั้งครรภ์สามารถแต่งงานได้ (ส่วนการทำความผิดในเรื่องซินานั่นอีกประเด็นหนึ่ง) แต่มีเงื่อนไขว่าเจ้าบ่าวจะต้องเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่ทำซินากับนางจนตั้งครรภ์, อนึ่งหากแต่งงานในขณะที่เจ้าสาวตั้งครรภ์ก็มิได้กำหนดอายุครรภ์ไว้
ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า
"เมื่อผู้หญิง ได้ทำผิดประเวณี ก็ไม่จำเป็นที่นางจะต้องมีอิดดะฮ ไม่ว่านางจะไม่ตั้งครรภ์หรือตังครรภ์(จากการซินานั้น)ก็ตาม แล้วถ้านางไม่ได้ตั้งครรภ์(จากการซีนา) ก็อนุญาตแก่ชายชู้และอื่นจากชายชู้ ทำพิธีนิกะห์กับนางได้ แต่ถ้านางตั้งครรภ์ เนื่องจากการซินานั้น ก็เป็นการน่าเกลียด(มักรูฮ) ในการทำพิธีนิกะห์กับนาง ก่อนการคลอดบุตร"
(รายงานจากอบูหะนีฟะฮ, อิหม่ามมาลิก ,อัษเษารีย์, อะหมัด และอิสหาก)
ทัศนะที่ 2 ไม่อนุญาตให้แต่งงานจนกว่าผู้หญิงจะต้องคลอดบุตรเสียก่อน เป็นทัศนะของอิมามอะหฺมัด และอิมามมาลิก ร่อหิมะฮุลลอฮฺ
เหตุผล เนื่องจากว่าผู้ที่ทำซินากล้าทำจะต้องกล้ารับผิด และยังทำให้ผู้คนทั้งหลายรู้ว่าเด็กคนนั้นเป็นลูกซินา
และหญิงที่ผิดประเวณีนั้น จำเป็นจะต้องมีอิดดะฮ เช่น เดียวกับหญิงที่ถูกร่วมเพศ ด้วยสาเหตุของความเคลือบแคลง(ชุบฮาต) แล้วถ้าปรากฏว่านางไม่ได้ตั้งครรภ์(จากการซีนา) ก็ให้นางมีอิดดะฮ สามครั้งการมีประจำเดือน และถ้าปรากฏว่านางตั้งครรภ์ (จากการซีนา)ก็ให้นางมีอิดดะฮ โดยการคลอดบุตรก่อน และการทำพิธีนิกะห์นางก่อนการคลอดบุตรนั้นใช้ไม่ได้
นักวิชาการมัซฮับมาลิกีย์ ได้อ้างหลักฐานว่า ไม่อนุญาตให้ทำการนิกะห์กับหญิงที่ผิดประเวณี แม้ว่าผู้ที่จะทำการนิกะห์กับนางมาจากชายที่เป็นชู้กับนางก็ตาม โดยอาศัยคำพูดของ อิบนุมัสอูด ที่ว่า
“ เมื่อชายคนหนึ่ง ได้ทำผิดประเวณีกับผู้หญิง หลังจากนั้น เขาได้ทำการนิกะห์กับนาง เขาทั้งสองคนก็ทำการซีนากันตลอดไป เพราะการนิกะห์นั้น เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และส่วนหนึ่งจากการห้ามนั้น คือ การไม่ให้รด(น้ำอสุจิที่ดี)บนน้ำอสุจิที่เลว แล้วทำให้สิ่งหะลาลผสมปนเปกับสิ่งหะรอม และทำให้น้ำที่อัปยศปะปนกับน้ำที่มีเกียรติ "
ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุด
ท่านยะหยา บิน อับดุรเราะหมานอัลเคาฏีบ ได้กล่าวไว้ในหนังของท่าน ชื่อว่า อะหกามอัลมัรอะฮหามีล หน้า 22 ว่า
"แท้จริง ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุดคือ ทัศนะของ อัลหะนาบะละฮ (นักวิชาการมัซฮับอิหม่ามอะหมัด) ซึ่งพวกเขากล่าวว่า
:ห้ามทำการนิกะห์หญิงที่ผิดประเวณี จนกว่านางจะพ้นจากสภาพอิดดะฮ หรือ เตาบะฮจากการทำผิดประเวณี ไม่ว่าผู้ที่ทำการนิกะห์กับนางนั้น จะเป็นชายทำผิดประเวณีกับนางหรือคนอื่นก็ตาม และนี่คือ แนวทางของคณะหนึ่งจากชาวสะลัฟและเคาะลัฟ ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ เกาะตาดะฮ,อิสหากและอบูอุบัยดะฮ”
หลักฐานและเหตผล กรณีหญิงตั้งครรภ์ไม่อนุญาตให้นางนิกะหฺนอกจากนางคลอดบุตรเสียก่อน
หลักฐานและเหตุผล ที่ไม่อนุญาตให้หญิงที่ทำซินาแล้วเกิดการตั้งครรภ์จาการทำวินานั้น จนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน ดังนี้
-ท่านรสูลุลลฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สั่งห้ามมีเพสสัมพันธ์กับสตรีมีครรภ์
รายงานจากท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลฮฺ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"(ทาส)หญิงตั้งครรภ์จะไม่ถูกมีเพศสัมพันธ์ จนกว่านางจะคลอดเสียก่อน และ(ทาส)หญิงที่มิได้ตั้งครรภ์จะไม่ถูกมีเพศสัมพันธ์จนกว่านางจะมีรอบเดือน 1 ครั้งเสียก่อน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด เลขที่ 11911 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)
ท่านอิบนุ ก็อยยิม ร่อหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
"ด้วยหะดิษข้างต้น เป็นหลักฐานอย่างชัดเจนว่า ห้ามแต่งงานกับหญิงตั้งครรภ์ ไม่ว่านางจะตั้งครรภ์จากสามี หรือ นาย หรือจากเข้าใจผิด (ชุบฮาต) หรือจากการทำซินาก็ตาม"
-หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากทำซินาไม่อนุญาตให้แต่งงานก่อนจนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน เป็นการบอกให็รู้ว่าลูกของนางคือลูกซินา ชาวบ้านจะได้รับรู้ ซึ่งไม่อาจปิดบังได้ และภายหลังคลอดบุตรแล้วแต่งงานกันเป็นการเหมาะสมกันระหว่างนางหญิงที่ทำซินา กับชายที่ร่วมทำวินา
พระองค์อััลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
الزَّانِي لَا يَنكِحُ إِلَّا زَانِيَةً
"ชายที่จะทำซินาจะไม่แต่งงาน(กับหยิงใด)ยกเว้นกับหหยิงที่ทำซินา"
أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لَا يَنكِحُهَا إِلَّا زَانٍ
"และสตรีที่ทำซินาจะไม่มีบุคคลใดแต่งงานกับนาง ยกเว้น ชายที่ทำซินา(เท่านั้น)" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอันนูรฺ 24 อายะ 3)
-หุก่มของหญิงตั้งครรภ์ นักวิชาการพุดถึงประเด็นตั้งครรภ์ ฉะนั้นหญิงนางหนึ่งตั้งครรภ์ด้วยการทำซินา นั้นพิจารณาที่นางตั้งครรภ์ ซึ่งหุก่มศาสนาของหญิงตั้งครรภ์ คือ ให้นางคลอดบุตรแล้ว ลงโทษนางตามบทบัญญัติศาสนา ดังหะดิษที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ
ท่านอิมรอน บุตรของหุศัยน์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"แท้จริงสตรีท่านหนึ่งจาก(เผ่า)ญุฮัยนะฮฺ มาหาท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งอยู่ในสภาพตั้งครรภ์อันเนื่องจาการทำวินา โดยนางกล่าวว่า : โอ้...นบีของอัลลอฮฺ ฉันทำผิดหุก่มของศาสนา ฉะนั้นท่านจงลงโทษฉัน (ตามบทบัญญัติสาสนา)เถิด ท่านนบีจึงได้เรียกวะลีย์(ผู้ปกครองของนาง) มา แล้วกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงดูแลนางให้ดี เมื่อนางคลอดบุตร ท่านจงนำนางมาหาฉัน" (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม หะดิษเลขที่ 4529 เป็นหะดิษเศาะเฮียะฮฺ)
เมื่อคลอดบุตรออกมาแล้ว จักต้องถุกลงโทษตามบทบัญญัติของอิสลาม แม้ประเทศนั้นไม่ใช่กฏหมายอิสลามก้ตาม หญิงที่ทำวินาจนตั้งครรภ์ จำเป้นต้องกระทำตามหลักการของอิสลามก่อน
-เมื่อนางคลอดบุตรให้ลงโทษตามบทบัญญัติของศาสนา แต่กรณีประเทศใด ไม่มีการลงโทษทางศาสนา เช่นประเทศไทย ก็ให้นางขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺ ทำความดีให้มาก แต่นางไม่สามารถทำอะไรได้ในช่วงตั้งครรภ์ เพราะหุก่มของหญิงตั้งครรภ์ล้วนพิจารณาเฉพาะหลังคลอดบุตร ไม่ว่า การที่นางจะแต่งงานใหม่ หรือการที่จะลงโทษนางเนื่องจากการทำซินา ก็ตาม
ดังนั้น หญิงที่ทำวินาแล้วเกิดตั้งครรภ์ ศาสนาไม่อนุญาติให้นางทำสิ่งใด ไม่ว่านางจะมีเพศสัมพันธ์กับใคร? หรือนางจะไปแต่งงานกับใคร แม้ว่านางจะแต่งงานกับชายผู้เป็นพ่อของทารกในครรภ์ก็ตาม เพราะหุก่มของนาง คือ หญิงตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ วาญิบจำเป็นจะต้องให้นางคลอดบุตรเสียก่อน แล้วหุ่มก่มของศาสนาจะมีผลบังคับได้ นั้นคือ เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว หุก่มที่จะแต่งงานใหม่ หรือจะถูกลงโทษเนื่องจากทำซินาจะเกิดขึ้นได้ เมื่อหุก่มห้ามหญิงที่ตั้งครรภ์(ไม่ว่าตั้งครรภ์จากชายที่แต่งงานด้วย หรือจากชายที่ทำซินาแล้วเกิดการตั้งครรภ์ก่อนมีการแต่งงาน) ไม่อนุญาตให้แต่งงานโดยเด้็ดขาดจนกว่าจะคลอดบุตรเสียก่อน ขนาดเรื่องซินาชายหญิงที่ทำวินายังกล้ากระทำ แล้วถ้านางกับเขาจะแต่งงานกันขณะที่นางตั้งครรภ์อยู่นั้น ถือว่าการแต่างนั้นไม่เศาะห์หรือใช้ไม่ได้ นี้หลักฐาและเหตุผลของทัศนะไม่อนุญาตให้แต่งงานจนกว่าผู้หญิงจะต้องคลอดบุตรเสียก่อน ซึ่งถือเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด
ข้อโต้แย้งทัศนะที่ว่าอนุญาตให้หญิงที่ทำซินาเกิดตั้งครรภ์ทำการแต่งงานขณะตั้งครรภ์ได้
ส่วนเหตุผลของทัศนะที่ว่าอนุญาตให้หญิงแต่งงานขณะตั้งครรภ์ได้นั้น โดยอ้างเหตุผลว่า เงื่อนไขการแต่งงานมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ได้แก่ วะลีย์ เจ้าบ่าว พยาน และการกล่าวคำเสนอ และการกล่าวตอบรับคำเสนอ เมื่อครบเงื่อนไขดังกล่าว การแต่งงาน ถือว่าเศาะหฺใช้ได้นั้น
การอ้างเหตุผลดังกล่าวฟังไม่ขึ้น เพราะหุก่มของการแต่งงาน กับหญิงตั้งครรภ์ เป็นหุก่มแยกต่างหากกัน หุก่มของหญิงตั้งครรภ์ คือต้องรอให้คลอดบุตรเสียก่อน บทบัญญัติสาสนาจึงมีผลบังคับใช้ เช่น สามีหย่านาง หรือ สามีตาย ขณะที่นางกำลังตั้งครรภ์อยู่ นางจะแต่งงานใหม่ไม่ได้ อิดดะฮฺของนางคือคลอดบุตร เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว จึงจะแต่งงานใหม่ได้ สตรีตั้งครรภ์เนื่องจาการทำซินา ก็ไม่ต่างอะไรกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งขณะนั้นนางถูกสามีหย่า หรือสามีตายแต่อย่างใด นั้นคือต้องคลอดบุตรก่อน หุก่มอื่นจะมีผลบังคับ นั้นคือ การแต่งงาน หรือการลงโทษตามบทบัญญัติของศาสนานั้นเอง
และจากหะดิษที่ยกมากล่าวแล้วนั้น ท่านรสูลกล่าวได้สั่งใช้ให้ผู้เป็นวะลีย์ให้ดูแแลลูกสาวอย่างดี คลอดบุตรแล้วจึงนำมาลงโทษ วะลีย์จึงแต่งงานให้นางไม่ได้จนกว่านางจะคลอดบุตรเสียก่อน
ถือว่าทัศนะการให้ฝ่ายหญิงคลอดก่อนแล้วแต่งงานทีหลังนั้นถือว่าสมควรกระทำมากกว่า เพราะมิเช่นนั้นแล้ว สังคมมุสลิมจะไม่ขจัดความชั่วว่าด้วยเรื่องการทำซินาได้เลย เพราะเมื่อผู้หญิงที่คลอดบุตรแล้วมาแต่งงานทีหลังจะทำให้นางเกิดความอับอาย และได้รับการรังเกียจจากสังคมภายนอกซึ่งจะทำให้ผู้ที่จะคิดทำซินาเกิดความกลัวที่จะถูกการปฏิเสธจากสังคม จึงละทิ้งการทำซินาในที่สุดนั่นเอง และถือเป็นแนวทางที่ปลอดภัยที่สุดถึงอย่างไรเสียลูกที่เกิดมา ก็เป็นลูกที่เกิดนอกสมรสตามหลักศาสนาอิสลามอย่างไม่ต้องสงสัย
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น