อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กรือเซะ




กรือเซะเป็นมัสยิดเก่าแก่ของปัตตานี มีมาตั้งแต่สมัยที่ปัตตานียังเป็นรัฐอิสระ ทำการค้าระหว่างประเทศกว้างขวางจนปรากฏทั้งชื่อเสียงและเรื่องราวในจดหมายเหตุต่างชาติทั่วไป นับตั้งแต่จีน, ญี่ปุ่น, โปรตุเกส, ฮอลันดา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส

ว่ากันว่ากรือเซะเป็นมัสยิดที่ก่ออิฐถือปูนแห่งแรกของอุษาคเนย์ด้วย

เพียงเท่านี้กรือเซะก็ไม่ใช่ "โบราณสถาน" ธรรมดาๆ เสียแล้ว ผมคิดว่าถ้าเทียบกับทางพุทธของชาวไทย ก็พอๆ กับพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเมื่อตอนที่ไปบูรณะสร้างกันขึ้นใหม่นั้น เชื่อกันว่าเป็นพระสถูปเจดีย์องค์แรกในแผ่นดินไทย เป็นประจักษ์พยานถึงก้าวแรกของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้
...............................................................................
แต่น่าเสียดายที่ประวัติของกรือเซะที่ถูกนำมาเล่าให้คนนอก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวฟังนั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับศาสนาอิสลามหรือความรุ่งเรืองของปัตตานีในอดีตสักเท่าไร เพราะเขาเอานิทานหรือตำนานอันหนึ่งซึ่งเป็นตำนานที่คนเชื้อสายจีนในปัตตานีเล่าสืบกันมาเป็นตัวเล่าเรื่องกรือเซะแทน

นิทานหรือตำนานเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งผมขอเท้าความแต่ย่อๆ 
...............................................................................
แต่ในหลักฐานของต่างชาติและมลายูท้องถิ่น มัสยิดใหญ่หรือกรือเซะ (อันมีชื่อว่าปินตูกรือบังนี้) สร้างเสร็จและใช้เป็นมัสยิดตามปกติด้วย ถ้าผมจำไม่ผิด แต่ก่อนนี้มีร่องรอยเศษกระเบื้องหลังคาตกอยู่ทั่วไปด้วยซ้ำ

ฉะนั้น เรื่องกรือเซะในนิทานหรือตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จึงต้องเกิดขึ้นเมื่อกรือเซะถูกทิ้งร้างไปแล้ว (คือเมื่อเมืองปัตตานีถูกกองทัพไทยโจมตียึดครอง และย้ายไปอยู่ที่เมืองปัตตานีทุกวันนี้ ผู้คนร่วงโรยไปไม่มีกำลังบำรุงมัสยิดใหญ่ขนาดนั้นจนปรักหักพังไปเอง แต่หลักฐานท้องถิ่นกล่าวว่าถูกกองทัพไทยปล้นสะดมและทำลาย)



แม้เป็นตำนานที่เกิดภายหลังกรือเซะนาน แต่กลับถูกนำมาเล่าเป็นประวัติของกรือเซะไปเสียฉิบ
.................................................................................
คิดจากจุดยืนของชาวมุสลิมบ้างนะครับ นิทานหรือตำนานลิ้มกอเหนี่ยวบอกว่าผี (เจ๊ก) ใหญ่กว่าศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า แม้จะสร้างศาสนสถานเพื่อประกอบศาสนกิจตามพระบัญชา ผียังบันดาลให้ฟ้าผ่าจนสร้างไม่สำเร็จ ฉะนั้น ก็ต้องพิสูจน์ว่าความเฮี้ยนในตำนานนั้นไม่จริง ทั้งนี้ยังไม่นับสัญลักษณ์อันน่าภาคภูมิใจที่กรือเซะมีต่อชาวมุสลิมตามประวัติศาสตร์อีกด้วย

กรมศิลปากรไม่ยอมรับ อ้างว่าเป็น "โบราณสถาน" ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2478 ฉะนั้น จะไปสร้างเสริมเติมต่อและเอาไปใช้ไม่ได้ ผมเข้าใจว่าความขัดแย้งนี้ไม่เคยลงเอย แต่ในที่สุดชาวมุสลิมก็สร้างหลังคาง่ายๆ ขึ้นคลุม "โบราณสถาน" ของกรมศิลปากร แล้วใช้เป็นมัสยิดสืบมา อย่างที่เราเห็นในภาพข่าว ซึ่งผมยอมรับว่าไม่น่าดูเท่าไร

แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไม "โบราณสถาน" ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจึงใช้ไม่ได้ ก็วิหารพระพุทธชินราชก็เป็น "โบราณสถาน" ที่ขึ้นทะเบียนแล้วเหมือนกัน ก็เห็นทั้งพระทั้งฆราวาสใช้กันอยู่หนาแน่น ซ้ำร้ายทั้งกรมศิลปากรไม่ค่อยระวัง ปล่อยให้มีการปรุงแต่งบางส่วนจนทำให้แสงเข้าสู่ภายในอาคารมากเกินไปด้วย

ถ้าชาวมุสลลิมอยากใช้กรือเซะเป็นมัสยิด ก็ต้องปรับปรุงให้ใช้การได้เป็นธรรมดา จะบอกว่าให้ไปสร้างมัสยิดใหม่ที่อื่น ก็เหมือนบอกพวกเราชาวพุทธว่า ยกพระปฐมเจดีย์ไปวางไว้ที่อื่น ก็วางได้เหมือนกันนะครับ แต่มันไม่เหมือนกันทั้งความรู้สึก, ทั้งศรัทธาปสาทะ จะบอกว่าชาวพุทธหาเรื่องคงไม่ได้
.................................................................................
ผมควรกล่าวด้วยว่า ศาสนาอิสลามนั้นอาจแพร่มาถึงปัตตานีก่อนเมืองปะไซบนฝั่งสุมาตราก็ได้ ถึงไม่ก่อนก็ไม่ได้มาจากสายเดียวกัน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าเป็นอิสลามจากสายเหนือคือจากจีน ไม่ได้ขยายมาจากมะละกาเหมือนอิสลามในรัฐมลายูทั่วไป

เพียงแค่นี้ผมก็เห็นว่าน่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทยแล้ว 

เพราะประจักษ์พยานหนึ่งของความหลากหลายกระแสของอิสลามในอุษาคเนย์นั้น พึงดูได้จากมัสยิดกรือเซะซึ่งได้ซ่อมปรุงจนเหมือนเดิมโดยฝีมือรัฐบาลไทย

หากแขกเมืองของเราลงไปทางใต้ กรือเซะก็เป็นอีกทีหนึ่งซึ่งเราอาจนำไปอวดของดีของเราได้ ถ้าเขาเป็นมุสลิมเขาก็อาจร่วมละหมาดกับชาวบ้านที่กรือ

.........................
นิธิ เอียวศรีวงศ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น