สิ่งที่น่ารังเกียจ ( مكر وه )
สิ่งที่น่ารังเกียจ ( مكر وه ) คือ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่น่ายกย่อง น่าเกียจไม่เหมาะสม สิ่งที่คนละทิ้งจะได้ผลบุญ คนที่ทำก็ไม่ถูกลงโทษ สิ่งที่น่ารังเกียจในการละหมาดมีหลายอย่างแต่ก็ไม่ได้ทำให้ละหมาดนั้นเสีย มีดังต่อไปนี้
1.จับเสื้อผ้า หรือร่างกายของเขา
จับเสื้อผ้า หรือร่างกายของเขายกเว้นเมื่อมีความจำเป็น ถ้าไม่เช่นนั้นถือว่า มัคโร๊ะ ( สิ่งที่น่าเกลียด )
รายงานจาก มุอัยกิบ ว่า ฉันได้ถามท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ถึงการลูบก้อนหิน
เล็กๆในขณะละหมาด ท่านได้กล่าวว่า
ﻻ تمسح الحصى و أ نت تصلي فإ ن كنت ﻻ بد فا علا فو احدة : تسو ية الحصى
ความว่า : “ท่านจงอย่าลูบก้อนหิน ขณะที่ท่านละหมาด ถ้าหากว่าจำเป็นต้องทำก็ให้ทำเพียงครั้งเดียว
เป็นการปรับให้มันเสมอ ”
(บันทึกโดย : อบูดาวูด)
รายงานจาก อบีษัรรินว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศอลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إذاقا م أحدكم إلى الصلا ة فا ن الرحمة يواجهه فلايمسح الحصى
ความว่า : “เมื่อคนใดในหมู่พวกเจ้ายืนละหมาด แท้จริงเราะฮมัด( ความเมตตาของอัลลอฮ ) ก็จะประสบแก่เขา ดังนั้นเขาจงอย่าลูบหินอยู่ ”
(บันทึกโดย : อบูดาวูด)
2.ท้าวสะเอวในขณะละหมาด
รายงานจาก อบีหุร็อยเราะฮ ว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
عن اﻻختصا رفي الصلاة نهى رسو ل الله
ความว่า : “ ห้ามมิให้ท้าวสะเอวในขณะละหมาด ”
(บันทึกโดย : อบูดาวูด)
โดยกล่าวว่า หมายถึง เอามือวางบนสะเอวในขณะละหมาด
3. แหงนมองฟ้า
รายงานจาก อบีหุร็อยเราะฮ ว่า ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
لينتهين أقوام يرفعون أبصا رهم الى السماءفي الصلاة أولتخطفن أبصا رهم
ความว่า : “ แน่นอนไกล้ๆ วันกียามะฮนั้น จะมีกล่มชนหนึ่งที่ยกสายตาของพวกเขาไปสู่ฟากฟ้า หรือสายตาของพวกเขาจะมองเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา ”
(บันทึกโดย : อะฮหมัด มุสลิม และอันนะซาอี)
4.มองสิ่งที่ทำให้กังวล
รายงานจากอาอิชะฮ ว่า แท้จริงท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดในเต้นท์
ที่ทำด้วยผ้าขนสัตว์มีลวดลาย ท่านจึงกล่าวว่า
"ลวดลายนี้มันทำให้ฉันกังวลใจ พวกท่านจงเอามันไปที่อบีญะฮมิน( อามิร บุตรหุซัยฟะฮ ) เถิดและจงเอาอัมบียานียะฮของเขา ( เป็นผ้าหนาไม่มีลวดลาย ) มาให้ฉันด้วย"
( บันทึกโดย : บุคคอรีย และมุสลิม)
รายงานจากอะนัสว่า ปรากฎว่าม่านของอาอีชะฮ ซึ่งนางใช้กั้นอยู่ทางบ้านของนางนั้น
ท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่นาง ว่า
أميطي قرامك ، فإ نه ﻻ تذال تصا ويره تعرض لي صلاتي
ความว่า : “ เธอจงถอดม่านของเธอออกเสีย เพราะมันมีลวดลาย ทำให้ฉันมองเห็นขณะที่ฉันละหมาด ”
(บันทึกโดย : อะฮหมัด และบุคคอรีย)
ในหะดิษบทนี้เป็นหลักฐานแสดงทำให้เห็นว่า การที่สายตาจ้องมองอยู่ที่ตัวหนังสือที่เขียนไว้
ในขณะละหมาดนั้นไม่ทำให้เสียละหมาด
5.หลับตาทั้งสองข้าง
นักวิชาการบางท่านถือว่าการหลับตานั้นน่าเกลียด แต่บางท่านก็อนุญาติให้กระทำได้โดยไม่น่าเกลียด
หะดิษที่ถูกรายงานว่าน่าเกลียดนั้น เป็นหะดิษที่ไม่ถูกต้องนัก
อิบนุลก็อยยิม กล่าวว่า ที่ถูกนั้นควรจะต้องกล่าวว่า ถ้าหากการลืมตานั้นมันทำให้ขาดการสำรวม อันเนื่องจากทางทิศกิบละฮนั้น มีการประดับประดา หรือมีสีสรรค์ หรืออื่นๆ ที่จะทำให้หัวใจของเขากังวลในกรณีอย่างนั้น
การหลับตาก็ไม่เป็นที่น่าเกลียดแต่ประการใด คำกล่าวที่บอกว่าส่งเสริมให้กระทำในสภาพอย่างนี้นั้น มันใกล้กับพื้นฐานและเป้าหมายของศาสนบัญญัติมากกว่าที่จะบอกว่าน่าเกลียด
6.การให้สลามโดยใช้มือทั้งสองข้าง
รายงานจากญาบิร บินสะมุราะฮ ว่า พวกเราเคยละหมาดตามท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม
แล้วท่านกล่าวว่า
مَا بَا لَ هَؤُ ﻻَءُيُسَلِّمُوْنَ بِأَ يْدِ يْهِمْ كَأَ نَّهَا أَذْ نَا بُ خَيْلِ شُمْسٍ إِنَّمَا يَكْفِيْ أَحَدُ
كُمْ أَنْ يَضَعَ يَدَ هُ عَلَ فَخْذِهِ ثُمَّ يَقُوْ لُ : اَلسَّلاَمُ عَلَيْكُمْ اَلسَّلاَمُ عَلَيْكُمْ
ความว่า : “พวกนั้นเขาเป็นอะไรไป ใช้มือให้สลาม มันช่างเหมือนกับหางม้าที่สะบัดอยู่กลางแดด แท้จริงการที่คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าเอามือของเขาวางไว้บนขาอ่อนเขาแล้ว กล่าวว่า “ อัสลามูอาลัยกุม อัสลามูอาลัยกุม ”ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ”
(บันทึกโดย : อันนะซาอี)
7.การปิดปากและปล่อยผ้าให้ยาวถึงพื้น
รายงานจากอบีหุร็อยเราะฮ ว่า
عَنِ السَّدْلِ فِيْ اصَّلاَةِ ، وَأَنْ يُغَطِّيَ الرَ جُلُ فَا هُ نَهَى رَسُو لُ اللهِ
ความว่า : “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้าม “สะดัล” ในขณะละหมาด และห้ามมิให้คนหนึ่งคนใดปิดปากของเขา ”
(บันทึกโดย : อบูดาวูด)
อัฎฎ็อบรอนี ได้กล่าวว่า “สะดัล” คือ การปล่อยให้ผ้ายาวลงไปจรดพื้น
อัลกะมาล อิบนุล หุมาม ได้กล่าวว่า “สะดัล” คือ การสวมเสื้อคลุมโดยไม่เอามือสอดเข้าไปในแขนเสื้อ
8.การละหมาดเมื่อมีอาหารมาตั้งต่อหน้า
รายงานจากอาอิชะฮ ว่า แท้จริงท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إِذَا وُضِعَ العَشَاءُ وَأُقِيْمَتْ الصَّلاَةُ فَا بْدَ ءُوْا بِا لْعَشَاءِ
ความว่า : “เมื่ออาหารเย็นถูกนำมาวาง แล้วการละหมาดก็ได้ถูกอิกอมะฉแล้ว พวกท่านจงรับประทาน อาหารเย็นเสียก่อน ”
บันทึกโดย : อะฮหมัด และมุสลิม
รายงานจากนาเฟี๊ยะอว่า “แท้จริงอิบนะอุมัรนั้น เคยมีผู้เอาอาหารเย็นมาวางให้ และการละหมาดก็กำลังจถูกเริ่ม ( อิกอมะฮ ) เขายังไม่มาละหมาดจนกว่าจะรับประทานเสร็จเสียก่อนโดยที่เขาได้ยินการอ่านของอิมาม ”
(บันทึกโดย : บุคคอรีย)
อัลค็อฎฏอบีอได้กล่าวว่า แท้จริงท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ใช้ให้เริ่มทานอาหารเพื่อให้ร่างกายได้ความต้องการเสียก่อน ผู้ละหมาดก็จะมาเข้าสู่การละหมาดโดยสงบไม่กังวลกับการหิวอาหาร ( ถ้ามิเช่นนั้น ) เป็นเหตุให้ต้องรีบ รุกั๊วะฮก็ไม่สมบูรณ์ สูหญูดก็ไม่สมบูรณ์ และหน้าที่ก็ไม่สมบูรณ์
9.การละหมาดโดยปวดปัสสาวะอุจาระ และที่คล้ายกับทั้งสอง ซึ่งทำให้ใจกังวล
ทั้งนี้เพราะมีหะดิษที่บันทึกโดยอะฮหมัด อบูดาวูด และอัตติรมีซี โดยถือว่าเป็นหะซันจากเษาบานว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
ثَلاَثٌ ﻻَتَحِلَّ اﻷَ حَدُ أَنْ يَفْعَلَهُنَّ : ﻻَ يَؤُمَّ رَجُلٌ قَوْ مًا فَيَخُصُّ نَفْسَهُ بِا لدُّ عَاءِ دُوْنَهُمْ فإ ن فَعَلَ فَقَدْ
خَا نَهُمْ وَلَ ينظر فِيْ قَعْرِ بَيْتٍ قَبْلَ أَنْ يُسْتَأْ ذَنُ ، فَإِ نْ فَعَلَ فَقَدْ دَخَلَ وَ ﻻَ يُصَلِّي وَهُوَ حَقِنٌ حَتَّي
يَتَخَفّفَ
ความว่า “ สามประการที่ไม่อนุญาตให้คนหนึ่งคนใดทำ : (1) คนหนึ่งคนใดไม่นำผู้คนละหมาด และเขาอวยพรให้เขาเพียงคนให้เขาเพียงคนเดียว โดยไม่ขอให้พวกเขา ถ้าเขาทำอย่างนั้น แน่นอนเขาได้ทรยศต่อพวกเขาเข้าแล้ว (2) เขาจะต้องไม่มองเข้าไปภายในบ้านก่อนที่จะได้รับอนุญาต ถ้าเขาทำอย่างนั้นก็เท่ากับเขาบุกรุก(3) เขาจะไม่ละหมาด โดยที่เขากั้นปัสสาวะเอาไว้จนกว่ามันจะทุเลาลงไป ”
(บันทึกโดย : อะหมัด อบูดาวูด และอัตติรมีซี)
จากรายงานของอาอิชะฮ ว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ﻻ يصلي أحدٌ بحضر ة الطعا م ، و ﻻهو يدافعه اﻷ خبثا ن
ความว่า : “ คนหนึ่งคนใดจงอย่าละหมาดต่อหน้าอาหาร และไม่ละหมาด โดยที่เขาอดกลั้นปัสสาวะและอุจจาระ”
(บันทึกโดย : อะฮหมัด มุสลิม อบูดาวูด)
หะดีษข้างต้นระบุชัดเจนว่า หากผู้ละหมาดปวดปัสสาวะ หรือปวดอุจจาระก็ตาม วาญิบจะต้องออกจากการละหมาดทันที เพราะถือว่าไม่มีคุชูอฺ (หรือสมาธิ) ในขณะที่ปวดปัสสาวะ หรืออุจจาระ ซึ่งการมีคุซูอฺนั้น ถือว่าเป็นหุก่นในละหมาด แม้ว่าเราจะออกจากละหมาด ซึ่งอาจจะทำให้เราหมดเวลาละหมาดฟัรฺฎูนั้นก็ตาม
10. การละหมาดขณะที่ง่วงนอน
รายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮ.ว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إذانعس أحدكم فليرقد حتي يذهب عنه النوم ، فإ نه إذاصلي وهوناعسٌ لعله يذهب
يستغفرفيسب نفسه
ความว่า : “ เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าหาวนอน ก็จงนอนเสีย จนกว่าการง่วงนอนนอนนั้นจะหายไปจากเขา เพราะความจริง เมื่อเขาละหมาดโดยที่หาวนอนบางทีเขาอาจขออภัยโทษ แต่เป็นการด่าตัวเอง ”
(บันทึกโดย : อบูดาวูด)
11. การเจาะจงเอาสถานที่ในมัสยิด โดยเฉพาะเพื่อละหมาดยกเว้นอิหม่าม
รายงานจาก อับดิรเราะฮมาน อิบนิชิบิล ว่า
عن نقرة الغراب ، وافتراش السبع ، وأن يوطن الر جل المكا ن
في المسجد كما يوطن البعير
ความว่า : “ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามมิให้ละหมาดแบบนกกาจิกอาหาร และการนอนแบบเสือ และการที่คนหนึ่งโดยเฉพาะในมัสยิดหมือนกับอูฐเอาสถานที่ในการนอน ”
(บันทึกโดย : อะฮหมัด อิบนูคุซัยมะฮ อินูฮิบบาน และอัลฮากิม)
والله أعلم بالصواب
..................................
มัคโระในการละหมาด
http://akrom-bom.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น