อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"อัลอะชาอิเราะฮฺ"คือกลุ่มชนที่มีความเชื่อว่า...ชาวเคาะลัฟเป็นผู้รู้มากกว่าชาวสลัฟ



             กลุ่มหนึ่งที่ปฏิเสธแนวทางชาวสลัฟ และชอบอ้างว่าแนวทางสลัฟเป็นไปตามที่พวกตนยึดถืออยู่ กลุ่มนั้นก็คือ “อัลอะชาอิเราะฮฺ” (ซึ่งเกิดขึ้นหลังยุคสลัฟ) หรือที่รู้จักกันในภาษาพูดว่า “กลุ่มคณะเก่า” ที่ชื่นชอบในเรื่อง “บิดอะฮฺดี” ตามที่พวกเขาอ้างถึง 

แนวทางอะชาอิเราะฮฺนั้น ไม่สามารถยอมรับความหมายจากอายะฮฺอัลกุรอาน ที่พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า “พระองค์ทรงดำรงอยู่เหนือบัลลังก์  โดยพวกเขานำไปเปรียบเทียบกับสรรพสิ่งถูกสร้างโดยพลการ จึงทำให้พวกเขาเกิดความเข้าใจว่าพระเจ้าไม่สามารถอยู่เหนือบัลลังก์และชั้นฟ้าได้ เนื่องจากการพุดเช่นนี้เป็นการจำกัดพระผู้เป็นเจ้าให้ตกอยู่อยู่ภายใต้ภาวะของการพึ่งพาสถานที่ทั้งที่แนวทางของชาวสลัฟนั้นพวกเขายืนยันการอยู่เบื้องบน(อัลอุลูว์) ของพระองค์อัลลอฮฺ โดยระบุว่าเป็นการอยู่เบื้องบนหรืออยู่เหนือสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหมด อยู่เหนือทิศทั้ง 6 ที่มนุษย์สามารถจินตนาการได้ เป็นสภาวะที่ไม่เข้าใจในทางสติปัญญาว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนการอยู่เบื้องบนของพระองค์คือการอยู่เบื้องบนนอกสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเวลาหรือจักรวาล เพียงแค่เราคิดว่าอะไรอยู่นอกจักรวาลและเวลา เรายังไม่อาจคิดทั้งยังไม่อาจระบุสิ่งที่อยู่นอกจักรวาลและเวลา คือการอยู่ในสถานที่เลยด้วยซ้ำ แล้วจะนับอะไรกับการดำรงอยู่ของพระองค์อัลลอฮฺ ณ เบื้องบนของทุกสรรพสิ่งที่สติปัญญาของเราถุกตัดขาดจากการเข้าใจมันได้

ชาวสลัฟจะยืนยันความหมายตามตัวบทอัลกุรอานและละทิ้งการถกเถียงในเนื้อหาว่ามันเป็นอย่างไร จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเหนือสติปัญญาของเขา เสมือนกับความเชื้อของมุสลิมทุกคนที่ศรัทธาว่าพระเจ้าทรงมีมาแต่เดิมแบบปราศจากจุดเริ่มต้น หรือคุณลักษณะอื่นๆของพระองค์อัลลอฮฺที่ทรงระบุไว้ในอัลกุรอาน อย่างที่ว่า “ได้ยิน” “ทรงเห็น” “ทรงพูด” แต่ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ทรงมีหู เพื่อการได้ยิน หรือทรงมีปากเพื่อการพูด ทรงมีตาเพื่อการเห็น เช่นเดียวกันกับความเชื่อที่ระบุว่าพระองค์ทรงอยู่เบื้องบนก็เป็นเพียงภาวะที่คนเราไม่อาจเข้าใจได้ว่าอยู่อย่างไร และก็ไม่ใช่เงื่อนไขทางสติปัญญาเลยที่จะต้องพ่วงการพึ่งพาสถานที่ให้แก่พระองค์ 

ท่านยูซุฟ บิย มูซา อัลก็อฏฏ็อน ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอบูบักรอัลค็อลลาล กล่าวว่า ท่านอิมามอะหฺมัด อิบนุฮัมบัล ร่อหิมะฮุลลอฮฺ อิมามแห่งยุคสลัฟ (ฮ.ศ.164-241) ได้ถูกถามว่า
“พระองค์อัลลอฮฺทรงดำรงอยู่เหนือชั้นฟ้าทั้ง 7 และเหนือบัลลังก์โดยไม่ปะปนกับสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้นทั้งหมด ส่วนอำนาจและความรู้ของพระองค์ทรงสถิตอยู่ทุกหนแห่งหรือไม่? 
ท่านอิมามอะหฺมัด ตอบว่า : ใช่แล้ว พระองค์ทรงดำรงอยู่เหนือบัลลังค์ของพระองค์ และไม่มีสิ่งใดที่จะถูกซ่อนเร้นไปจากความรู้ของพระองค์ได้” (ชัมซุดดีน อบูอับดุลลอฮฺ มุฮัมมัดบินอะหฺมัด บินอุษมาน อัสสะฮะบีย์ ,มุคตะศ๊อรอัลอุลูว์ลิลอะลียิลอะสี้ม. มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลอัลบานีย์ ผู้ตรวจทาน เล่ม 1 หน้า 189-190 สายรายงานถุกต้อง)

แต่ความเข้าใจของชาวสลัฟเช่นนี้ ไม่ได้รับการยอมรับจากแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮฺ พวกเขากลับใช้สติปัญญาทำการตีความเบี่ยงเบนการอยู่เบื้องบนของพระองค์อัลลอฮฺ ตามที่ระบุในคัมภีร์อัลกุรอาน และสร้างความหมายในเชิงนามธรรมแก่ตัวบทแทน เช่น อ้างว่ามันหมายถึง การพิชิต สถาปนาอำนาจ และสูงส่ง เป็นต้น

กลุ่มอะชาอิเราะฮฺมีความเชื่อว่าชาวเคาะลัฟรู้มากกว่าชาวสลัฟ

ฐานความคิดสำคัญของคนกลุ่มอัลอะชาอิเราะฮฺ  นำไปสู่การตีความตัวบทในแบบที่ชาวสลัฟไม่เคยกระทำมาก่อน ล้วนมาจากความเชื่อของพวกเขาที่ว่า ชาวเคาะลัฟ หรือคนรุ่นหลังสะลัฟ รู้มากกว่าชาวสลัฟ (กลุ่มชนยุค 300 ปีแรก อันได้แก่ บรรดาเศาะหาบะฮฺ บรรดาตาบีอีน และตาบีอิต-ตาบีอีน) 

คำพูดเช่นนี้เป็นคำพูดที่เลื่องลือมากในหมู่พวกเขา (อัลอะชาอิเราะฮฺ)

 ดังที่ท่านตะกียุดดีน อัศศุบกีย์ (เกิด ฮ.ศ. 673) ปราชญ์อะชาอิเราะฮฺคนสำคัญได้กล่าวว่า
“การตัฟวีดนั้น (หมายถึงการไม่แปลพระนามและคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺตามที่ระบุไว้ในอัลกุรอานและอัลหะดิษ แต่ที่พวกเขาทำคือการเอาแค่เพียงอักษรแต่ไม่เข้าใจความหมาย) คือแนวของทางสลัฟ โดยที่มันปลอดภัยกว่า และการตีความ (การอธิบายคุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺโดยไม่ได้อยู่บนความหมายที่ปรากฏของคำศัพท์นั้น เช่น อัลลอฮฺกล่าวว่า พระองค์ทรงพูด พวกนี้จะบอกว่าไม่ได้แปลว่าพูด หากแปลว่า การเปิดเผยความคิดของพระองค์) คือแนวทางของเคาะลัฟ โดยที่มีความรู้มากกว่า ซึ่งหมายถึง ต้องการไปยังการเพิ่มความรู้ได้มากกว่า” (ฮะซัน บินมุหัมมัด บินมะฮฺมุด อัลอัฏฏ๊อร อัชชาฟิอีย์ , ฮาชิยะฮฺอัลอัฏฏ๊อรอะลาชัรฮิอัลญะลาลอัลมะฮัลลีย์ อะลายะมะอิลยะวามิอฺ เล่ม 1 หน้า 330)


ท่านอิบรอฮีม อัลบาญูรีย์ (ฮ.ศ.1263-1277) ปราชญ์อะชาอิเราะฮฺ กล่าวว่า
“และหนทางของเคาะลัฟนั้น ณุ้มากว่า และประญีตมากกว่า เพราะในแนวทางนี้ มีสิ่งที่ทำให้เพิ่มความชัดเจนและสามารถโต้ตอบผู้คัดค้านได้ และมันก็เป็นแนวทางที่มีน้ำหนักกว่า ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้แต่งหนังสือ (คือท่านอัลลักกอนีย์) ได้นำมันมาอยู่ก่อน , และแนวทางของสลัฟนั้นปลอดภัยกว่า เพราะในแนวทางนี้ มีสิ่งที่ทำให้มีความปลอดภัยจากการเจาะจงความหมายหนึ่งๆ ที่บางครั้งอาจจะไม่ตรงกับพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา..” (อับดุลอะซี้สบินศอลิฮฺบินอิบรอฮีม อัฏฏวัยยาน , ญุฮูดชัยคฺมุหัมมัด อัลอะมีน อัชชันกิฏีย์ฟีตักรี๊รอะกีดะฮฺ อัสสะลัฟ เล่ม 1 หน้า 330)

คำพูดของนักปราชญ์อะชาอิเราะฮฺ 2 ท่านนี้ชัดเจนจนกว่าจะแก้เกี้ยวจากความจริงได้ว่พวกเขาพิจาณาคนยุคหลังสลัฟในฐานะกลุ่มชนที่มีความรู้กว่าชาวสลัฟ ไม่ว่าจะแก้เกี้ยววกวนอย่างไรก็หนีไม่พ้นการอวดอ้างว่าแนวทางยุคหลังสลัฟนั้นมีความรู้ และประณีตมากว่าชาวสลัฟในทุกด้าน ซึ่งเท่ากับว่ากลุ่มอะชาอิเราะฮฺเชื่อว่าชาวสลัฟศึกษาศาสนาบนความรู้ที่ปราศจากไหวพริบ และความแตกฉานมากพอจะสามารถตอบโต้พวกหลงผิดให้เทียบเท่าคนยุคหลังสลัฟได้ 

และจากคำพูดของท่านบาญูรีย์ ที่ระบุว่าชาวเคาะลัฟรู้มากกว่าแต่ปลอดภัยกว่า สิ่งที่มีความปลอดภัยจะเรียกว่าเป็นความรู้ที่เหนือกว่าได้อย่างไร? 

ท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์ (เสียชีวิต ฮ.ศ.671) หนึ่งในหนัปราชญ์อะชะอิเราะฮฺ จึงกล้าพอที่จะยอมรับความจริงว่าตนเอง “ไม่ขอเลือก” ความเข้าใจของชาวสลัฟที่มีต่อัลกุรอานและอัลหะดิษ” ดังที่ท่านกล่าวว่า
“และสิ่งที่ชัดเจนที่สุดจากบรรดาทัศนะในเรื่องนี้ แม้ข้าพเจ้าไม่ขอเชื่อและไม่ขอเลือกทัสนะนี้ก็ตาม มันคือโองการอัลกุรอานอันชัดแจ้งและรายงานต่างๆที่ระบุว่า พระองค์อัลลอฮฺทรงอยู่เหนือบัลลังก์ของพระองค์ ดังที่พระองค์ทรงระบุไว้ในคัมภีร์ของพระองค์และปลายลิ้น(คำสอน)ของท่านนบีของพระองค์ โดยปราศการถามว่าอยู่อย่างไร และพระอง๕ทรงอยู่เหนอบัลลังก์โดยแยกขาดจากสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งหมด (จักรวาลอและเวลาตลอดจนสถานที่อาศัย) นี่คือทัศนะทั้งหมดของแนวทางสลัฟผู้ทรงธรรมตามที่มีรายงานที่เชื่อถือได้จากพวกเขาสืบทอดมา” (มุหัมมัดบินอะห์มัดบินอะบีบักร อัลกุรฏุบีย์ , อัลอัซนาฟิชัรฮิอัซมาอิลละฮฺอัลฮุสนา เล่ม 2 หน้า 132)


การโต้ตอบของนักปราชญ์โลกมุสลิมต่อความเชื่อของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺ

ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุฮะญัร อัลอัซเกาะลานีย์ (ฮ.ศ. 773-852) นักปราชญ์หะดิษชื่อดังที่โลกมุสลิมต่างยอมรับ ได้กล่าวตอบโต้คำพูดเหล่านี้ของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺว่า
“และคำพุดที่กล่าวกันว่า แนวทางสะลัฟนั้นปลอดภัยกว่า ส่วนแนวทางเคาะลัฟนั้นรู้มากว่า ถือเป้นคำพุดที่ไม่มความถุกต้อง เพราะว่าว่าเขา (ผู้พุด) คงคิดว่าแนวทางสลัฟนั้นเพียงแค่เชื่อในตัวของอักษร(คำศัพท์) ของอัลกุรอานและหะดิษ โดยปราศจากการเข้าใจในตัวบทของมัน(ตัฟวีฎ) ส่วนแนวทางของเคาะลัฟนั้นต้องทำผันความหมายของตัวบทออกไปจากความที่แท้จริงของมันผ่านการตีความให้เป็นไปตามประเภทต่างๆของการเล่นคำอุปมา อุปมัย ดังนั้นผู้ที่กล่าวคำพุดเหล่านี้ ก็เท่ากับว่าเขาได้รวมเอาระหว่างความเขลาที่ตัวเขามีต่อแนวทางสลัฟเข้ากับการอวดอ้างของแนวทางเคาะลัฟ และแท้จริงแล้วมันไม่ได้เป็นไปตามที่ตัวเขาทึกทักกัน และแนวทางสะลัฟนั้นทรงความรู้ที่สุดว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมกับพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา และแนวทางสลัฟนั้นเปี่ยมไปด้วยการเทิดเกียรติต่ออัลลอฮฺอย่างที่สุด และยังเปี่ยมไปด้วยการภักดีต่อบัญชาของพระองค์ และยอมรับต่อสิ่งที่พระองค์ทรงมุ่งหมาย และสำหรับผู้ที่ยึดแนวทางเคาะลัฟจะไม่มีความแน่ใจว่าการตีความของเขาตรงตามที่พระองค์ทรงมุ่งหมาย และเขาเองก้ไม่มีทางมั่นใจถึงความถูกต้องจาการตีความของพวกเขาได้เลย” (อะหฺมัด บินอะลีย์ บิน ฮะญัรอบุลฟัฏลฺ อัลอัซเกาะลานีย์ อัชชาฟิอีย์ , ฟัตฮุลบารีย์ชัรฮฺเศาะฮีฮฺอัลบุคอรีย์. มุหัมมัด ฟุอ๊าด อับดุลบากีย์ ผู้ตรวจทาน เล่ม 13 หน้า 352)

ดังนั้นการที่กลุ่มชาอิเราะฮฺที่มีความเชื่อว่าชาวเคาะลัฟมีความรู้ทางศาสนาอันใหม่ ที่เหนือกว่าชาวสลัฟจึงถือเป็นความผิดโดยแท้ แตกต่างจากคำพูดที่ว่าชาวเคาะลัฟมีวิธีการ ในการถ่ายทอดความรู้แบบใหม่ แต่อาศัยความรู้ “เดิม” ซึ่งตกทอดมาจากยุคสะลัฟที่ในทางปฏิบัติแล้วชาวเคาะลัฟอาจจะรู้น้อยกว่าคนยุคสะลัฟด้วยซ้ำ

ฉะนั้นอูศูลหรือกฎพื้นฐานของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺที่ระบุว่าคนยุคเคาะลัฟรู้ดีกว่าสะลัฟนั้น หมายถึงการไม่ยึดถือความรู้และความเข้าใจของชาวสลัฟที่มีต่ออัลกุรอานและอัลหะดิษ เพราะการอธิบายอัลกุรอานและอัลหะดิษด้วยความเข้าใจ การให้ความหมายและการอธิบายในแบบที่สะลัฟไม่เคยพูดมาก่อน ย่อมถือว่าเป็นความใหม่ ที่ถูกมองว่าเหนือกว่าความรู้ของชาวสลัฟทั้งสิ้น

والله أعلم بالصواب

.....................


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น